กรุงเทพมหานคร, 19 กรกฎาคม 2562 – อาลีเพย์ (Alipay) ผู้นำด้านเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มการชำระเงินออนไลน์ และ ไลฟ์สไตล์ชั้นนำของโลกภายใต้บริษัทในเครือ แอนซ์ ไฟแนนเชียล เซอร์วิส กรุ๊ป (Ant Financial), ได้มาร่วมแชร์ประสบการณ์ที่บริษัทได้บุกเบิกโมเดลทางธุรกิจใหม่ “310 Model” ซึ่งช่วยสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจขนาดย่อย (Micro Enterprises) และธุรกิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี – SMEs) เป็นจำนวนหลายล้านธุรกิจในประเทศจีน ระหว่างการสัมมนาร่วมกับสถาบันทางการเงินในประเทศไทย

ภาพประกอบ: Ms. Quan YU (หยู ฉวน) หัวหน้าฝ่ายการบริหารความเสี่ยงเครดิตของ แอนซ์ ไฟแนนเชียล เซอร์วิสเซส กรุ๊ป ร่วมด้วย นายธนา โพธิกำจร ผู้อำนวยการอาวุโส ผู้บริหารสายดิจิทัล แบงก์กิ้งธนาคารไทยพาณิชย์, นาย วรพล พรวาณิชย์ ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เพียร์เพาเวอร์ ศ.ดร.วันประชา เชาวลิตวงศ์ ผู้อำนวยการอาวุโส แผนกดาต้าอนาไลติกส์ ธนาคารแห่งประเทศไทย ดร.ธรรม์ธีร์ สุกโชติรัตน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ลีเกิลไดรฟ์ จำกัด

‘310 Model’ ได้เปิดใช้งานและแนะนำสถาบันทางการเงินในจีน ให้ใช้ระบบการจัดความความเสี่ยวของ อาลีเพย์ (Alipay) เพื่อปรับลดระดับความเสี่ยงของการให้บริการกู้ยืมอย่างอิสระโดยไม่มีผู้ค้ำประกันแก่ธุรกิจขนาดกลางและย่อม (SMEs) ไม่เพียงแต่จะอนุญาตให้ธุรกิจกลุ่ม SMEs เข้าถึงแหล่งทุนได้ง่ายขึ้น แต่โมเดลนี้ยังคล่องตัวต่อการสมัครเพื่อขอกู้ยืมเงินทุน พร้อมทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือ ‘310 Model’ เน้นสะดวกสบายสูงสุดให้กับกลุ่มธุรกิจ SMEs ด้วยแอพพลิเคชั่นที่มีฟังก์ชั่นการกู้ยืม ซึ่งใช้เวลาน้อยกว่า 3 นาทีในการดำเนินการ และใช้เวลาน้อยกว่า 1 วินาทีในการอนุมัติสินเชื่อ โดยไม่ต้องพึ่งทรัพยากรมนุษย์

ด้วยประสบการณ์ในการดูแลกลุ่มธุรกิจ SMEs กว่าหลายปีในจีน อาลีเพย์ ผู้นำด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการบริหารจัดการความเสี่ยงได้ร่วมสนับสนุนสถาบันทางการเงินที่เป็นพันธมิตร รักษาสถานการณ์สภาพหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีเอล – NPL) จากกลุ่มธุรกิจ SMEs โดยปรับใช้ ‘310 Model’ ให้เรท NPL คงอยู่ที่ 1 % ทั้งนี้ ในเดือนมีนาคม 2561 อัตราเฉลี่ยของNPL จากการกู้ยืมของกลุ่มธุรกิจ SMEs ในประเทศจีนอยู่ที่อัตราเฉลี่ย 2.75 % เปิดเผยจากรายงาน ธนาคารกลางของจีน (PBOC)

ระหว่างการสัมมนา Ms. Quan YU (หยู ฉวน) หัวหน้าฝ่ายการบริหารความเสี่ยงเครดิตของ แอนซ์ ไฟแนนเชียล ได้เปิดเผยถึงข้อมูลเบื้องลึก ในหัวข้อ เทคโนโลยีสามารถยกระดับและปลดล็อคอุปสรรคของกลุ่มสถาบันการเงินและกลุ่มธุรกิจ SMEs อย่างไร หยู ฉวน ยังกล่าวอีกว่า “ด้วย ‘310 Model’ กว่า 400 สถาบันทางการเงินในประเทศจีน อาทิเช่น ธนาคาร และสถาบันให้กู้ยืมหลายแห่ง ได้ให้บริการทางการเงินแก่กลุ่ม SMEs กว่า 15 ล้านรายนับแต่ปี 2558”

“ในประเทศจีนนั้น ‘310 Model’ ได้ช่วยให้ธนาคารหลายร้อยแห่งสามารถนำเสนอการให้บริการทางการเงินเพียงปลายนิ้วสัมผัสต่อผู้ดำเนินธุรกิจค้าขายกว่าหลายล้านราย ทั้งร้านค้าและกิจการขนาดเล็ก และ เจ้าของธุรกิจให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับขนาดของธุรกิจนั้นๆ ทางบริษัทหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการแชร์ประสบการณ์ครั้งนี้กับสถาบันทางการเงินหลายแห่งในประเทศไทย จะสนับสนุนโอกาสทางธุรกิจและการเงินให้กับธุรกิจขนาดเล็กและย่อยในประเทศ”กล่าวโดย หยู ฉวน

ทั้งนี้ กลุ่มธุรกิจ SMEs มีบทบาทที่สำคัญต่อเศรษฐกิจไทย จากการรายงานหน่วยงานสนับสนุนกลุ่มธุรกิจ SMEs ในประเทศไทย เผยว่ากลุ่ม SMEs กว่า 3 ล้านราย ก่อให้เกิดการจ้างงานมากกว่า 10 ล้านตำแหน่งงาน ในปี 2560 นอกเหนือจากนี้ กลุ่ม SMEs ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไทย (GDP) มากถึง 44% ในไตรมาสที่ 4 ปี 2561

ในเดือนมิถุนายน 2562 ‘310 Model’ ได้ให้การสนับสนุนสถาบันทางการเงินมากกว่า 400 แห่งในประเทศจีน เพื่อยกระดับความสามารถในการบริหารจัดการความเสี่ยงและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารสินเชื่อ โดยมีวงเงินมากกว่า 2 ล้านล้านหยวน (290 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อช่วยเหลือธุรกิจ SMEs มากกว่า 15.74 ล้านราย โดยขนาดของสินเชื่อธุรกิจในการทำธุรกรรมในแต่ละครั้ง มีมูลค่าโดยประมาณ 10,000 หยวน (1,500 ดอลลาร์สหรัฐ) ทั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการเฉพาะของกลุ่มธุรกิจSMEs

จากการรายงานของ “Toward Universal Financial Inclusion in China” ที่ร่วมกันเผยแพร่โดย PBOC และธนาคารโลกในปี 2018 กล่าวว่า มีเพียง 14% ของกลุ่มุธุรกิจขนาดย่อมในประเทศจีนที่มีความสามารถในการเข้าถึงสินเชื่อ หรือ เครดิตไลน์ เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของธุรกิจขนาดย่อมในกลุ่มประเทศ G20 ที่มีความสามารถในด้านเดียวกันกว่า 27% รายงานดังกล่าวยังได้เผยถึงสาเหตุหลายประการที่ทำให้กลุ่มธุรกิจSMEs ไม่ทำการสมัครขอสินเชื่อ อาทิ ขั้นตอนการสมัครสินเชื่อที่มีความซับซ้อน ค่าใช้จ่ายสูงในการยื่นขอสินเชื่อ สินเชื่อมีมูลค่าน้อยและระยะเวลาในการชำระสินเชื่อไม่เพียงพอ และ ขั้นตอนการอนุมัติสินเชื่อที่ใช้เวลาตรวจสอบและให้อนุมัตินาน

จากข้อมูลของหน่วยงานกำกับดูแลการตลาดของประเทศจีน เมื่อเดือนกรกฎาคม 2560 เผยว่าประเทศจีน มีผู้ประกอบการรายย่อยหรือกลุ่มธุรกิจ SMEs มากกว่า 73 ล้านรายโดยประมาณ

เกี่ยวกับ Ailpay

อาลีเพย์ (Alipay) ดำเนินงานโดย กลุ่มบริษัท แอนท์ ไฟแนนเชียล เซอร์วิสเซส เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มการชำระเงินออนไลน์ และ ไลฟ์สไตล์ชั้นนำของโลก เปิดตัวสู่สาธารณชนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2547 โดยปัจจุบันมีผู้ใช้งานมากกว่าหนึ่งพันล้านคนพร้อมด้วยพันธมิตรที่ให้บริการกระเป๋าเงินดิจิทัล (e-wallets) ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา Alipay ได้พัฒนาระบบปฎิบัติการกระเป๋าเงินดิจิทัลให้ตอบสนองทุกไลฟ์สไตล์ของการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการเรียกแท็กซี่ จองห้องพักโรงแรม ซื้อตั๋วภาพยนตร์ จ่ายค่าสาธารณูปโภค นัดพบแพทย์ และยังสามารถซื้อผลิตภัณฑ์ด้านการบริหารสินทรัพย์บนแพลตฟอร์มได้อีกด้วย นอกเหนือจากธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ Alipay ยังขยายการชำระเงินแบบออฟไลน์ทั้งในประเทศจีน รวมถึงต่างประเทศ ปัจจุบัน Alipay ให้บริการมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก รวมถึงบริการขอคืนภาษีผ่านระบบดิจิทัลครอบคลุม 35 ประเทศในและภูมิภาค Alipay ยังทำงานร่วมกับสถาบันการเงินต่างประเทศมากกว่า 250 แห่ง โดยเป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นในการชำระเงินข้ามแดนสำหรับผู้ใช้บริการชาวจีนที่เดินทางไปต่างประเทศ และ ผู้ใช้บริการจากต่างประเทศที่ซื้อผลิตภัณฑ์จากเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซของจีน ในขณะนี้ Alipay สามารถรองรับมากกว่า 27 สกุลเงินจากทั่วทุกมุมโลก

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน