ทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจัดทำโครงการ “เมืองสุขภาพดีวิถีท่องเที่ยวเชิงสุขภาพผสานการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย”

โดยมี รศ. ดร. รักชนก คชไกร ผู้อำนวยการแผนงานฯ “โครงการเมืองสุขภาพดีวิถีท่องเที่ยวเชิงสุขภาพผสานการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย” โครงการดังกล่าวเป็นโครงการต่อเนื่องในปีงบประมาณ ๒๕๖๒ – ๒๕๖๓ โดยจะสิ้นสุดโครงการประมาณเดือนกันยายน ๒๕๖๓ ซึ่งเริ่มเปิดตัวเมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๑ และได้รับเกียรติจาก ดร.สุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้เกียรติเป็นประธานเปิดโครงการ “การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ผสานการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม” พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการด้านการท่องเที่ยว การแพทย์และการสาธารณสุข ผู้อานวยการโรงพยาบาล หัวหน้างาน แพทย์แผนไทยโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โครงการเมืองสุขภาพดีวิถีท่องเที่ยวเชิงสุขภาพผสานการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย มีทีมนักวิจัยจากคณะพยาบาลศาสตร์ และทีมนักวิจัมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก และภาคส่วนต่างๆในพื้นที่ร่วมขับเคลื่อนโครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยต่อเนื่องจากงบประมาณแผ่นดิน โดยสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนและเพิ่มมูลค่า (value added) ให้กับการท่องเที่ยวของจังหวัด การค้นหาและรวบรวมภูมิปัญญาไทย โครงการนี้เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน ทั้งยังเป็นการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุให้เป็นผู้ถ่ายทอดภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย สมุนไพรไทย การให้บริการและผู้นำการเปลี่ยนแปลงการท่องเที่ยวของชุมชนทั้งนี้ โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุในชุมชนให้เป็นมัคคุเทศก์ของท้องถิ่น พัฒนาโครงสร้างทางกายภาพและระบบบริการแพทย์แผนไทยให้สอดคล้องกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและสร้างศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยในโรงพยาบาลชุมชน ๑๒ แห่ง ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยารวมทั้งสร้างภาคีในการให้บริการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างยั่งยืน เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ระบบบริการแพทย์แผนไทย การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยการดำเนินโครงการ ๔ โครงการ

ประกอบด้วย

โครงการที่ ๑ การพัฒนาฐานข้อมูลภูมิปัญญาไทย และ smart mapping สถานบริการสุขภาพ สถานที่สำคัญและสถานที่ท่องเที่ยว
โครงการที่ ๒ การพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุ ระบบบริการการแพทย์แผนไทย ภูมิปัญญาไทย
โครงการที่ ๓ การบูรณาการ การให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง การแพทย์แผนไทย ภูมิปัญญาไทย และ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
โครงการที่ ๔ การสื่อสารเชิงนโยบาย และการพัฒนาระบบการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และข้อมูลข่าวสาร ผ่านมวลชน

ทั้งนี้ผลที่ได้รับจากการดาเนินโครงการทั้ง ๔ จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชมและจังหวัด
พระนครศรีอยุธยา ดังนี้
. อยุธยา smart mapping
. การพัฒนาระบบบริการและสิ่งแวดล้อมทางกายภาพของคลินิกแพทย์แผนไทย
. โปรแกรมการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ
. การพัฒนา package การท่องเที่ยวเชิงเชิงสุขภาพผสานการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย
. ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
. จัดทำ Active website การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพผสานการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย
. การประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการท่องเที่ยวเชิงเชิงสุขภาพผสานการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย

ทุกโครงการกำลังดำเนินการอย่างเข้มข้นและต่อเนื่องจึงนับเป็นข่าวดีของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่จะมีการท่องเทียวไทยเก๋ไก๋ไปได้ทุกที่ “…….การท่องเที่ยวที่ได้มากกว่าเรื่องเที่ยว ได้เรียนรู้วัฒนธรรมและการดูแลสุขภาพ การท่องเที่ยวเก๋ไก๋ สไตล์สังคมผู้สูงอายุ…” ที่จะเกิดขึ้นเป็นรูปธรรมในเร็วๆนี้

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน