หอการค้าไทยเสริมศักยภาพ สร้างนักศึกษาเกษตรกรยุคใหม่4.0

สร้างนักศึกษาเกษตรกรยุคใหม่4.0 – หอการค้าไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยในฐานะภาคธุรกิจเอกชนชั้นนำของประเทศไทย มหาวิทยาเอกชนที่ไม่แสวงกำไร ซึ่งเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยมีการจัดทำชาวนาทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนและเชื่อมต่อ “โครงการเกษตรกรเด็กหัวการค้า รุ่นที่ 1”

โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อสร้างชาวนาอัจฉริยะนักศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขา ทุกคณะ ให้เรียนรู้ต้นแบบเกษตรที่ทันสมัยและประสบความสำเร็จ โดยใช้กระบวนการทำการเกษตรแบบผสมผสานให้กับนักศึกษาทายาทเกษตรกรในชนบทและนักศึกษาทุกคนที่สนใจได้นำไปทดลองปฏิบัติ

โดยอาศัยเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นการทำการเกษตรที่ละเอียดอ่อน เริ่มตั้งแต่รู้จักดิน ปลูกข้าว ปลูกผัก เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ตลอดจนสอนค้าขายสินค้าในตลาดต่างๆ พร้อมเปิดตลาดขายสินค้าเกษตรอินทรีย์ในตลาดมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

นางสาววรรณวิสา มีศิล (น้องหนุ่ย) ชั้นปีที่4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เล่าว่า “อยากเข้าร่วมโครงการเกษตรกรเด้กหัวการค้า รุ่น1 เพราะอยากเข้าใจคำว่า 1 ไร่ 1 แสน คืออะไร ใช่ที่ว่ากันว่าทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนหรือเปล่า แต่เมื่อเข้าร่วมโครงการในช่วงระยะเวลา 10 วัน

สิ่งที่ได้จากโครงการนั้นเป็นสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อน เราเป็นลูกเกษตรกร อยู่กับนาข้าวกับไร่อ้อยมาตั้งแต่เล็กจนโต สิ่งที่เห็นจนเกิดความเคยชินหรือเห็นเป็นเรื่องปกติคือ ชาวนาชาวไร่จะใช้ปุ๋ยเคมีในการบำรุงข้าว บำรุงอ้อย ใช้สารกำจัดแมลงในการฆ่าแมลง ผลผลิตที่ได้ในแต่ล่ะปีก็ลดลง

เมื่อผลผลิตลดลงเกษตรกร ก็ยิ่งใช้สารเคมีหนักกว่าเดิมและบางทีก็มีการเปลี่ยนสูตรปุ๋ยเคมีใหม่บ้าง ซึ่งเกษตรกรไม่รู้เลยด้วยซ้ำว่าวิธีเหล่านี้ยิ่งทำให้สภาพดินแย่ลงในทุกๆปี แต่ที่โครงการครั้งนี้ให้ความรู้และพาปฏิบัตินั้น ไม่มีการใช้สารเคมีใดๆทั้งสิ้น สิ่งที่นำมาทำปุ๋ยก็มาจากธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่นของเรา ใช้ต้นทุนที่ต่ำลงในการทำเกษตรและเป็นการทำการเกษตรแบบไร้สารเคมี ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่การเตรียมดินเพาะปลูก เก็บเกี่ยวจนถึงวิธีที่จะลดต้นทุนหรือเพิ่มผลผลิตอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ

สิ่งสำคัญจะนำความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการกลับไปทำการเกษตรที่บ้านของตัวเองค่ะ เริ่มจากการลดการใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง และนำสรรพสิ่งที่โครงการสอนมาใช้แทนเพื่อต่อยอดให้ผลผลิตจากที่บ้านเป็นผลผลิตที่ปราศจากสารเคมีทั้งหมด และเป็นการทำการเกษตรแบบปลอดสารพิษค่ะ”

นางสาว ชนากานต์ สุขศิริ (น้องบิ้ว) ชั้นปีที่4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เล่าว่า “อยากเรียนรู้การทำการเกษตรด้วยตัวเองเพื่อมาประยุกต์ใช้ในการทำการเกษตรครัวเรือนของตัวเองได้ค่ะ อีกทั้งยังเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจไม่มีที่ไหนทำก่อนมาด้วยความที่เรามีความสนใจเป็นทุนเดิมอยู่แล้วและอยากที่จะเรียนรู้

เพราะคิดว่ายังไงอาชีพนี้ก็สามารถที่จะต่อยอดได้ การเข้าร่วมโครงการนี้ได้มีการเรียนรู้การทำปุ๋ยโดยหาวัตถุดิบได้ตามธรรมชาติที่ท้องถิ่นที่มี ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพหรือที่เรียกว่าน้ำสรรพสิ่งเพื่อมาใช้ในการต่อยอดเป็นส่วนผสมในการทำปุ๋ยโดยจะแบ่งเป็น 2 อย่างคือสรรพสิ่งแห้งและสรรพสิ่งก้อน และยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเพาะปลูก การดูแลบำรุงรดน้ำของต้นอ่อนทานตะวัน ต้นอ่อนผักบุ้ง และการดูแลในแต่ละขั้นตอนของการเพาะปลูกตั้งแต่การเตรียมดิน เตรียมเมล็ด

จนกระทั้ง การเก็บเกี่ยวต้นอ่อน อีกทั้งได้เรียนรู้ในเรื่องของการนำสินค้าเกษตรออกจำหน่ายโดยจะต้องมีการเรียนรู้ตั้งแต่กระบวนการการสร้างแบรนด์ให้กับตัวสินค้าให้มีจุดเด่นดึงดูด น่าสนใจ สื่อถึงผลิตภัณฑ์ของเรา การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่จะนำมาใช้ในการบรรจุสินค้าการคิดคำนวณต้นทุนต่าง ๆ ตั้งแต่ต้นทุนของการเตรียมการเพาะปลูกจนกระทั่งได้ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปออกมา

ตลอดจนการตั้งราคาให้กับตัวผลิตภัณฑ์ การสร้างสื่อเพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าใจหรือทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ เช่น รูปภาพการเก็บเกี่ยวต้นอ่อน ป้ายบอกถึงคุณประโยชน์ของต้นอ่อน การนำไปประกอบอาหารจนกระทั่งเราเรียนรู้ที่จะนำสินค้าขายออกสู่ตลาดให้ประสบความสำเร็จ”

โครงการโครงการเกษตรกรเด็กหัวการค้า รุ่นที่ 1 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยมุ่งสร้างเกษตร ชาวนารุ่นใหม่อย่างนักศึกษา ช่วยเพิ่มรายได้หลักจากเกษตรกรรมพืชเศรษฐกิจหลัก ด้วยการพัฒนาประสิทธิภาพและลดต้นทุน เพิ่มรายได้เสริมให้เกษตรกร ด้วยการเพาะปลูกพืชระหว่างฤดู และ/หรือการสร้างอาชีพเสริม ลดค่าใช้จ่ายครัวเรือน ด้วยการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์แบบพอเพียงเพื่อการบริโภค ในครัวเรือน

และเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายและส่งเสริมการออมด้วยการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ที่สำคัญอีกประการ คือ การสร้างต้นแบบการพัฒนาชุมชนเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนแก่เกษตรกรไทย”

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน