9 มี.ค. วันสถาปนา “ศรชล.” หน่วยงานดูแลรักษาผลประโยชน์ทางทะเล ภายใต้ภารกิจรับมือภัยคุกคราม 9 ด้าน

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงลงพระปรมาภิไธย ในการตราพระราชบัญญัติการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล พ.ศ.2562 ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ในวันที่ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2562 จึงถือ วันที่ 9 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันมหามงคล “วันสถาปนา ศรชล.”

ศรชล. ได้จัดตั้งขึ้นในสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล โดยบูรณาการและอำนวยการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในปี 2564 นี้ มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการฯ พล.ร.อ. ชาติชาย ศรีวรขาน ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) เป็น รองผู้อำนวยการฯ และ พล.ร.อ. ธีรกุล กาญจนะ เสนาธิการทหารเรือ เป็น เลขาธิการ ศรชล.

ในปัจจุบันการขับเคลื่อนของ ศรชล. ภายใต้บริบทของการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เป็นที่ประจักษ์ว่า พระราชบัญญัตินี้มีความสำคัญต่อทะเลของไทย ในการรักษาผลประโยชน์ของชาติที่มีคุณค่ามหาศาล มีหน่วยงานที่บูรณาการเข้าร่วมกันภายใต้พระราชบัญญัตินี้ทั้งในระดับนโยบาย และระดับปฏิบัติการจากหลายหน่วยงาน ครอบคลุมถึงระดับจังหวัดทำให้การแก้ปัญหา และการพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลของไทยเป็นไปอย่างทั่วถึง ซึ่งเห็นได้จากการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมตลอดช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา

อาคารกองบัญชาการของ ศรชล. ที่ได้เริ่มก่อสร้างตั้งแต่กันยายน พ.ศ.2563 มีกำหนดแล้วเสร็จในกันยายน พ.ศ.2564 จะเป็นหัวใจสำคัญในการเป็นศูนย์รวมของการอำนวยการและบูรณาการ ของ ศรชล. ซึ่งได้เห็นความก้าวหน้าในการก่อสร้างมาเป็นลำดับ และยังรวมไปถึง อาคารกองบัญชาการในระดับ ศรชล.ภาค ที่เดินหน้าไปเช่นกัน ควบคู่ไปกับการปฏิบัติงานภายใต้ภารกิจที่ต้องรับมือกับภัยคุกคาม 9 ด้าน ที่ดำเนินการได้อย่างเป็นผลสำเร็จ

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบการจัดโครงสร้าง การแบ่งส่วนงานหน้าที่และอำนาจของส่วนงานและอัตรากำลังของ ศรชล. จำนวนรวมทั้งสิ้น 1,277 อัตรา ซึ่งเป็นโครงสร้างที่มีลักษณะแบบผสมผสาน จากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยในส่วนของอัตรากำลังแทนเจ้าหน้าที่ของรัฐฯ จำนวน 902 อัตรา ประกอบด้วย กองทัพเรือ 652 อัตรา กรมเจ้าท่า 45 อัตรา กรมประมง 45 อัตรา กรมศุลกากร 45 อัตรา กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 45 อัตรา กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน 23 อัตรา และตำรวจน้ำ 47 อัตรา เป็นโครงสร้างผสมรองรับการบริหารงานแบบบูรณาการ ที่มีเป้าหมายการดำเนินการร่วมกัน

ทั้งในเชิงภารกิจและเชิงพื้นที่ เหล่านี้คือความก้าวหน้าที่มีความชัดเจนในการดำเนินการด้านกำลังพลตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมาหากนับจากการมีพระราชบัญญัติการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล พ.ศ. 2562 มีปัญหาจากภัย 9 ด้าน ที่ศรชล. ต้องรับมือเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะการสร้างสิ่งรุกล้ำในเขตทางทะเล, การกำกับดูแลการตรวจเรือประมงแบบบูรณาการของชุดสหวิชาชีพประจำศูนย์ PIPO การตรวจประเมินการปฏิบัติงานของศูนย์ PIPO ของ ชุด Flying Inspection Team หรือชุด FIT และการนำระบบอากาศยานไร้คนขับ (UAV) มาสนับสนุนการตรวจการณ์ ติดตามและตรวจสอบเป้าต้องสงสัย การปฏิบัติของ ศรชล.ในการแพร่ระบาดของโรค COVID –19 ที่มีการตรวจเรือจำนวนนับหมื่นลำ ลูกเรือและผู้โดยสารที่มากับเรือรวมแสนราย การบังคับใช้กฎหมายในทะเล เช่น การจับกุมเรือประมงต่างชาติที่ลักลอบทำการประมงในน่านน้ำไทย และจับกุมเรือลักลอบลำเลียงน้ำมันผิดกฎหมาย ที่ดำเนินการจับกุมได้อย่างต่อเนื่อง

การแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่สาธารณะบริเวณอ่าวบ้านดอน จว.สุราษฎร์ธานี ตามที่ ศรชล.ได้อนุมัติให้จัดตั้งกองอำนวยการร่วมรักษาความสงบเรียบร้อยและแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่สาธารณะบริเวณอ่าวบ้านดอน จ.สุราษฎร์ธานี ตั้งแต่ 23 มิ.ย.63 เป็นต้นมา รวมถึงการฝึกการบริหารวิกฤตการณ์ระดับชาติ หรือ C-MEX ที่มีสภาความมั่นคงแห่งชาติรับผิดชอบเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าการรับมือกับปัญหาจากภัยคุกคาม 9 ด้าน ที่มีผลกระทบต่อผลประโยชน์ของชาติทางทะเลของไทย โดยศรชล.ภายใต้พระราชบัญญัติการรักษาผลประโยชน์ของชาติ ทางทะเล พ.ศ. 2562 นั้น ได้ดำเนินการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องมีผลการดำเนินการเป็นที่ประจักษ์และก้าวจากนี้ต่อไป คือ การก้าวไปข้างหน้าของ “ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล” ทั้งใน

ด้านขีดความสามารถ และมาตรฐาน เพื่อความมั่นคงทางทะเลสู่ความมั่งคั่ง และยั่งยืนของประเทศไทย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน