ปลัดกห.-เหล่าทัพ ลงนามบันทึกข้อตกลง การสั่งซื้อ-สั่งจ้าง ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ

ที่สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (ศรีสมาน) พล.อ.ณัฐ อินทรเจริญ ปลัดกระทรวงกลาโหม พร้อมผู้แทนผบ.เหล่าทัพ ประกอบด้วย พล.ร.อ.ช่อฉัตร กระเทศ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด พล.อ.ธรรมนูญ วิถี ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก พล.ร.อ.สิทธิพร มาศเกษม รองผู้บัญชาการทหารเรือ พล.อ.อ.ปราโมทย์ ศิริธรรมกุล และ พล.อ.สราวุธ รัชตะนาวิน ผู้อำนวยการศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) การสั่งซื้อ-สั่งจ้างผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมกับ กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ

ซึ่งการจัดทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าว เป็นก้าวสำคัญในการผนึกกำลังร่วมกันของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงกลาโหม เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ที่สามารถผลิตขึ้นใช้ได้เอง สะท้อนการพึ่งพาตนเอง ลดการนำเข้ายุทโธปกรณ์

จากต่างประเทศ เป็นการวางรากฐานการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ด้วยการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้มีความก้าวหน้า รวมทั้งต่อยอดนวัตกรรมที่ทันสมัย อาทิ ปืนใหญ่ขนาด 155 มิลลิเมตรอัตตาจรล้อยาง ที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากประเทศผู้ผลิต

ปัจจุบันส่งมอบให้กับกองทัพบกและกองทัพเรือนำไปทอสอบเพื่อใช้จริง ปืนใหญ่ขนาด 105 มิลลิเมตรอัตตาจรรอยาง ทำการผลิตขึ้นเองทั้งระบบกระบอก เครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 120 มิลลิเมตรอัตราจรล้อยางได้วิจัยร่วมกับมิตรประเทศ ระบบดึงอัตโนมัติการผลิตกระสุนปืนใหญ่ ขนาด 105 และ 155 มิลลิเมตรแบบออโตเมชั่น

โครงการวิจัย และพัฒนาปืนเล็กยาว ขนาด 5.56 มิลลิเมตร และปืนพกขนาด 11 มม. เพื่อเป็นปืนต้นแบบใช้ในกระทรวงกลาโหม โครงการวิจัยและพัฒนาสายการผลิตระบบกล้องวงจรปิดเชิงอุตสาหกรรม ด้านความมั่นคง

รวมถึงการผลิตแบตเตอรี่เพื่อกักเก็บพลังงานในอนาคต สำหรับยานพาหนะทางยุทธวิธี นอกจากนั้นโรงงานเภสัชกรรมทหารได้กำหนดแผนก่อสร้างโรงงานผลิตยาแห่งใหม่เพื่อขยายความสามารถในการผลิตยาและเวชภัณฑ์ให้กับกองทัพและประชาชนตามนโยบายของรัฐบาล








Advertisement

สำหรับการลงนามครั้งนี้ มีกรอบความร่วมมือ 4 ปี ตั้งแต่ปี 2564 – 2567 ถือเป็นการตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ ที่กำหนดให้อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายลำดับที่ 11 หรือ S – Curve 11 ที่เป็นการเปิดแนวคิดใหม่ในการปฏิรูปอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและห่วงโซ่การผลิต เสริมสร้างความพร้อมรบ และพัฒนาศักยภาพบุคลากรของกองทัพเพื่อให้เป็นหลักประกันความมั่นคง รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเชิงพาณิชย์ในระดับสากลต่อไป

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน