วันนี้ (วันพุธที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๐) เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ โถงกลาง ชั้น ๑ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) กระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานการแถลงข่าวพิธีประทานรางวัล “ประชาบดี” และเข็มเชิดชูเกียรติ ประจ าปี ๒๕๖๐ กล่าวรายงานโดย นางนภา เศรษฐกร อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ซึ่งการจัดงานดังกล่าว เป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์พิธีประทานรางวัล “ประชาบดี” และเข็มเชิดชูเกียรติ ประจ าปี ๒๕๖๐ ที่จะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๐ โดย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชา ทินัดดามาตุ เสด็จประทานรางวัล “ประชาบดี” และเข็มเชิดชูเกียรติ ประจ าปี ๒๕๖๐ ณ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

พลเอก อนันตพร กล่าวว่า สถานการณ์ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว คนในสังคมมีความหลากหลาย มีทั้งคนมีความรู้ ความสามารถ และมีศักยภาพ พร้อมที่จะประกอบคุณความดีให้ความช่วยเหลือ แก่ผู้อื่นที่ด้อยโอกาสกว่า และมีทั้งคนที่อยู่ในสภาวะยากลำบาก ขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการต่างๆ ในสังคมแต่ก็ยังไม่ยอมพ่ายแพ้ต่อความยากล าบากกลับมีความมุมานะพยายามเอาชนะ ความทุกข์ยากเดือดร้อนเห็นคุณค่าและศักดิ์ศรี ของผู้อยู่ในสภาวะยากล าบาก และประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคม ควรค่าแก่การยกย่อง ซึ่ง พม. โดย พส. ได้ตระหนักและเล็งเห็นความส าคัญของกลุ่มคนดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเชิดชูเกียรติผู้ท าคุณประโยชน์ดีเด่น แก่ผู้อยู่ในสภาวะยากล าบาก และผู้อยู่ในสภาวะยากล าบากที่ประพฤติตนดีเด่น เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจแก่ผู้ไม่ย่อท้อต่อความยากล าบาก ที่ประกอบคุณงามความดี ดูแลช่วยเหลือสังคม และส่งเสริมเจตคติบวกในการอยู่ร่วมกันอย่างเอื้ออาทร เห็นคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้ด้อยโอกาส โดยได้ดำเนินการคัดเลือก บุคคล องค์กร สื่อ และบุคคลผู้อยู่ในสภาวะยากล าบาก เข้ารับรางวัล “ประชาบดี” จากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เป็นประจ าทุกปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ จนถึงปัจจุบัน

พลเอก อนันตพร กล่าวต่ออีกว่า หลายท่านคงสงสัยว่าท าไมจึงใช้ชื่อรางวัลว่า รางวัล “ประชาบดี” เนื่องจาก กระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีตราสัญลักษณ์ประจ ากระทรวง คือ “พระประชาบดี” ซึ่งเป็นเทพผู้เป็นที่พึ่งและให้การสงเคราะห์แก่ประชาชน ด้วยความเมตตากรุณา เป็นเทพผู้เป็นเสมือนต้นก าเนิดวัฒนธรรมของกรมประชาสงเคราะห์ จนมาเป็นกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในปัจจุบัน จึงน าชื่อท่านมาใช้เป็นชื่อของรางวัลที่มอบให้บุคคล/องค์กร/สื่อ ที่ท าคุณประโยชน์แก่ผู้อยู่ในสภาวะยากล าบาก และบุคคลผู้อยู่ในสภาวะยากล าบากที่ประพฤติตนเป็นแบบอย่าง โดย ในปีที่ผ่านมา รางวัล “ประชาบดี” จะมีเพียง ๔ ประเภท แต่ในปี ๒๕๖๐ นี้ เป็นปีพิเศษ พม. ต้องการที่จะมอบรางวัลให้กับผู้ที่ท างานให้ พม. มาอย่างต่อเนื่องจึงได้เพิ่มอีก ๑ ประเภท รวมเป็น ๕ ประเภท รวม ๖๐ รางวัล ได้แก่ ๑) ประเภทบุคคลที่ท าคุณประโยชน์แก่ผู้อยู่ในสภาวะยากล าบาก จ านวน ๑๒ คน เช่น พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต ๒) ประเภทองค์กรที่ท าคุณประโยชน์แก่ผู้อยู่ในสภาวะยากล าบาก จ านวน ๗ องค์กร เช่น องค์การบริหารส่วนต าบลอู่ตะเภา จังหวัดชัยนาท ๓) ประเภทสื่อที่น าเสนอกิจกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อยู่ในสภาวะยากล าบาก จ านวน ๑๗ รายการ เช่น รายการ ๗๖ จังหวัด ตามหาคนดี น าเสนอทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ททบ.๕) ๔) ประเภทบุคคลผู้อยู่ในสภาวะยากล าบากที่ท าคุณประโยชน์และด ารงชีวิตเป็นแบบอย่างที่ดี จ านวน ๑๗ คน เช่น นายสุวรรณฉัตร พรหมชาติ ซึ่งใช้แท็กซี่ที่ได้รับบริจาคมาอ านวยความสะดวกรับส่งผู้อื่นที่ล าบากกว่า ไปส่งโรงพยาบาลโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ตลอดชีวิตที่ขับรถแท็กซี่เป็นเวลา ๒๒ ปี และ ๕) รางวัลเกียรติยศ บุคคลที่เสียสละอุทิศตนท างานเพื่อสังคมและมีผลงานโดดเด่นสนับสนุนภารกิจกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์อย่างต่อเนื่อง จ านวน ๗ คน เช่น นายมีชัย วีระไวทยะ ผู้ริเริ่มธุรกิจเพื่อสังคม และการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้อยู่ในสภาวะยากล าบาก เป็นต้น “รางวัล ประชาบดี เป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางจิตใจทั้งแก่ผู้ให้และผู้รับ ซึ่งวันนี้ ยังมีบุคคล/องค์กรอื่นๆ อีกจ านวนมาก ที่มีความพร้อมและมีศักยภาพท างานช่วยเหลือผู้อยู่ในสภาวะยากล าบาก พม. ขอส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วม ในการดูแลผู้อยู่ในสภาวะยากล าบาก ในสังคมและยกย่องคนดีไปด้วยกัน และขอใช้โอกาสนี้ ขอบคุณท่านผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชนทุกท่าน ที่ให้การสนับสนุน และร่วมกันเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข่าวสารการยกย่องส่งเสริมคนดีคู่สังคมไทย ให้เป็นที่รับทราบโดยทั่วกัน” พลเอก อนันตพร กล่าวในตอนท้าย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน