ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมมาตรา 33 จะได้รับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครองจากสำนักงานประกันสังคม หากเกิดกรณีที่ผู้ประกันตนต้องกลายเป็นผู้ทุพพลภาพที่มิใช่เนื่องมาจากการทำงาน โดยได้รับสิทธิประโยชน์ทั้งเงินทดแทนการขาดรายได้และค่าบริการทางการแพทย์

ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน

ก่อนทุพพลภาพ โดยกรณีทุพพลภาพรุนแรงได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเป็นรายเดือนตลอดชีวิต แต่ถ้ากรณีทุพพลภาพไม่รุนแรงได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาตามประกาศฯ กำหนด ส่วนค่าบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลของรัฐ ประเภทผู้ป่วยนอก จ่ายเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่หากเป็นประเภทผู้ป่วยใน ไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยสถานพยาบาลจะเป็นผู้เบิกจากสำนักงานประกันสังคมโดยตรง

สำหรับกรณีเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลของเอกชน ประเภทผู้ป่วยนอก จ่ายเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 2,000 บาท

ประเภทผู้ป่วยใน จ่ายเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 4,000 บาท ค่าพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพ กรณีเข้ารับบริการทางการแพทย์ เหมาจ่ายไม่เกินเดือนละ 500 บาท นอกจากนี้ยังได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเมื่อมีมติให้เป็นผู้ทุพพลภาพ

กรณีผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพถึงแก่ความตาย ผู้จัดการศพมีสิทธิได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท รวมทั้งเงินสงเคราะห์การตายของผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพให้แก่ทายาท โดยผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 120 เดือน จะได้รับเงินสงเคราะห์ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย 4 เดือน แต่หากจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินสงเคราะห์ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย 12 เดือน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1506 ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง
ทาง Line : @ssothai และทางเว็บไซต์ www.sso.go.th
#Website: www.sso.go.th
#Facebook: สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
#Instagram: sso_1506
#Twitter: @sso_1506
#YouTube: สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
#Hotline: 1506 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
#LINE: @SSOTHAI
#TikTok: @SSONEWS1506

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน