สสส. สานพลังสถาบันอุดมศึกษา เดินหน้าพัฒนา นักสื่อสารเพื่อสังคมชวนกูรูสื่อ Thai PBS- เพจ Toolmorrow ติวเข้มเด็กนิเทศฯ 5 สถาบัน สร้างผลงานสื่อสารสนับสนุน นักสร้างเสริมสุขภาพขับเคลื่อนงานสุขภาวะ

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ (สภส.) จัดกิจกรรม เสวนา สื่อสร้างสรรค์ภาคีสร้างสุข” by สภส. ภายใต้โครงการความร่วมมือการสื่อสารเพื่อสนับสนุนภาคีสุขภาวะ เพื่อสร้างความร่วมมือกับ 5 สถาบันอุดมศึกษาในการพัฒนานักสื่อสารเพื่อสนับสนุนการสื่อสารการขับเคลื่อนงานภาคีเครือข่ายสุขภาวะ

รศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล ผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) Thai PBS กล่าวว่า หัวใจสำคัญของสื่อในปัจจุบันและอนาคต คือ สื่อต้องสร้างความผูกพัน (Engagement) กับผู้ชมผู้ฟังให้มากที่สุด ซึ่งจำเป็นต้องใช้ข้อมูลแบบ Insight และติดตามผู้ชมผู้ฟังจนเกิดเป็นความสัมพันธ์ที่ดี ดังนั้น คนทำสื่อรุ่นปัจจุบันจึงต้องเป็นนักวิเคราะห์ข้อมูล พร้อมไปกับการเป็นนักสร้างสรรค์เนื้อหาที่ดีด้วย นอกจากนี้สื่อต้องเป็น สื่อต้องเป็น Fact Checker เป็นที่พึ่งในการตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ประชาชน การเป็นนักสื่อสารที่ดีต้องเป็น Meaningful Creator คือการสร้างสรรค์เนื้อหาที่มีเป้าหมายชัดเจนว่าอยากทำให้เกิดความหมายอะไรที่มีผลต่อการยกระดับจิตใจของประชาชน สื่อสารนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมแบบร่วมกันหาทางออกให้สังคม ซึ่งปัจจุบันเครื่องมือสื่อสารใหม่ๆจะช่วยให้สื่อแสดงบทบาทระดมการมีส่วนร่วมได้ง่ายขึ้น

ดร.ณัฐพันธุ์ ศุภกา ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ (สภส.) กล่าวว่าโครงการความร่วมมือการสื่อสารเพื่อสนับสนุนภาคีสุขภาวะ มีเป้าหมาย 3 ประเด็นสำคัญ 1. สื่ออย่างไรให้คนเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตัวเอง 2. สื่อสารที่นำไปสู่การขับเคลื่อนผลักดันนโยบายที่ดีต่อสุขภาพ 3. สื่อที่ดีต้องสานพลังภาคีเครือข่ายได้ ที่สำคัญเราหวังให้เกิดนักสื่อสารหน้าใหม่ เป็นตัวกลางถ่ายทอดผลงานภาคีเครือข่าย เพื่อให้สังคมเกิดการเห็นคุณค่า นักสร้างเสริมสุขภาพโดยสานพลังคนทำงานสื่อสาร กับภาคีเครือข่าย เพื่อสร้างนวันตกรรมใหม่ ให้เกิดรูปแบบการสื่อสารสุข นำไปสู่สุขภาพที่ดีใน 4 มิติ คือ กายที่ไม่เป็นโรค สุขภาพจิตที่ดี สุขภาพทางปัญญาที่ก่อให้เกิดการแยกแยะ การตรึกตรองและความรอบรู้ สุดท้ายคือ สุขภาพสังคม ดังนั้น การสื่อสารจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะนำไปสู่การขับเคลื่อนสังคมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพ

นายสุรเสกข์ ยุทธิวัฒน์ ผู้ก่อตั้งเพจ ‘Toolmorrow’ ภาคีด้านเด็ก ครอบครัว และผู้เชี่ยวชาญด้านการทำสื่อ กล่าวว่า แนวทางการทำงานสื่อที่จะตรงกับใจคนต้องมาจากประสบการณ์ร่วม และตั้งคำถาม ขับเคลื่อนสังคม จากประสบการณ์ค้นพบว่าทุกครั้งที่คลิปมีคนดูจำนวนมาก แค่การรับรู้ไม่เพียงพอ จึงต้องขยับมาสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม สร้างเนื้อหาให้เกิดความตระหนักรู้ สื่อสารให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคม และถึงกลุ่มเป้าหมาย คุณสมบัติที่นักสื่อสารต้องมี 1.เข้าอกเข้าใจ 2. เอาผู้ชมเป็นศูนย์กลาง 3. สร้างการมีส่วนร่วมในการคิดงาน อย่าด่วนสรุปว่าความคิดของเราเป็นสิ่งที่ดีต่อกลุ่มเป้าหมาย แต่ต้องสื่อสารให้คนกลุ่มนั้นมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง ด้วยการขยายผลให้กลุ่มเป้าหมายเห็นผล เป็นการเรียนรู้ร่วมกัน ต้องหาตรงกลางให้ได้ว่า คนดูอยากดูอะไร แล้วเราจะสื่อสารอย่างไร


ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน