กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับภาคีเครือข่ายรัฐ-เอกชน รณรงค์การดูแลโรคมะเร็งในสตรี ภายใต้สโลแกน”สวย เริด เชิด สู้มะเร็ง” เนื่องในเดือนรณรงค์ด้านภัยโรคมะเร็งเต้านม เดินหน้านโยบาย “มะเร็งครบวงจร”

วันนี้ (19 ตุลาคม 2566) ที่ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอนด์ บางกอก คอนเวนชันเซ็นเตอร์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดการประชุมเพื่อหารือและเสริมสร้างนโยบายมะเร็งในสตรี และโอกาสของการดูแลมะเร็งในสตรี ภายใต้หัวข้อ “Enhancing Women’s Cancer Care: Thailand

Women Cancer Policy Fonum” โดยมี นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผศ.ดร.ทวิดา กมลเวชชรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษั รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการแพทย์ นายแพทย์จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข และ หน่วยงานภาคีเครือข่ายร่วมงาน

นายแพทย์ชลน่านกล่าวว่า โรคมะเร็ง ถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของไทย โดยเฉพาะโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกที่พบมากในผู้หญิงไทย สถิติจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ พบว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยเร็งเต้านมรายใหม่ประมาณ 17,000 รายต่อปี เสียชีวิตประมาณ 4,800 รายต่อปี ส่วนมะเร็งปากมดลูก มีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 5,400 รายต่อปี เสียชีวิต 2,200 รายต่อปี กระทรวงสาธารณสุขจึงกำหนดเรื่อง “มะเร็งครบวงจร”เป็นหนึ่งในนโยบายการดำเนินงานปี 2567 ครอบคลุมทั้งด้านการส่งเสริม การป้องกัน การคัดกรอง การวินิจฉัยและรักษา ตลอดจนการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง โดย มี Qick Win ที่จะเร่งรัดดำเนินการให้เห็นผลใน 100 วันแรกคือ การฉีดวัคซีน HPV ให้กับหญิงอายุระหว่าง 11 – 20 ปี จำนวน 1 ล้านคน ซึ่งจะเริ่มพร้อมกันทั่วประเทศในเดือนพฤศจิกายน 2566 นอกจากนี้ ยั่งพัฒนาระบบบริการสุขภาพสาขามะเร็ง ให้ครอบคลุมประชาชนในทุกเขตสุขภาพ มีการดูแลรักษาส่งต่ออย่างเป็นระบบ และเบิกจ่ายคำรักษาพยาบาลได้ตามสิทธิ หรือ มะเร็งรักษาได้ทุกที่(Cancer Anywhere) เพื่อลดอัตราการป่วยและเสียชีวิตจากโรคมะเร็งของประชาชน

เราประกาศนโยบายมะเร็งสาธารสุขแบบครบวงจร เริ่มตั้งแต่กระบวนการสร้างความรู้ความเข้าใจ รู้ถึงปัจจัยเสี่ยงภาวะเสี่ยงต่างๆเข้าสู่การตรวจค้นให้เร็ว รักษาแต่เนิ่นๆถ้าตรวจค้นเร็ว รักษาเร็วและติดตามการรักษา เชื่อว่าการรักษาจะมีประสิทธิภาพสูงมาก สามารถลดภาวะการเจ็บป่วยได้ แต่ที่สำคัญคือ การให้ความรู้ป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น เป็นเรื่องที่เน้นในมะเร็งครบวงจร และ Qick Win 100 วัน ใช้มะเร็งปากมดลูกเป็นตัวนำ ประกาศฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก 1 ล้านโดส 1 ล้านคน ให้กลุ่มสตรีอายุ 11 -20 ปี เริ่มในเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยจะฉีดในกลุ่มสถานศึกษา และนอกสถานศึกษา ในกลุ่มแรงงาน” นพ.ชลน่านกล่าว








Advertisement

ส่วนจะมีการพูดคุยกับ ด้านสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม กับ สปสช.ในการคัดกรองมะเร็งเต้านม ซึ่งพบมากในสตรี หรือไม่นั้น นพ.ชลน่านกล่าวว่าได้มีการพูดคุยกันแล้ว เพราะสิทธิประโยชน์ ในการดูแลรักษา ถ้ากลุ่มสตรีที่ตรวจพบก้อนมะเร็ง เต้านมด้วยตนเอง ก็ถือว่า อยู่ในกระบวนการที่ตรวจค้นเพื่อการรักษา หากตรวจทำอัลตร้าซาวแล้วพบก้อนก็ได้สิทธิประโยชน์ เพียงแต่ว่ากรณีไม่มีอาการแล้วอยากตรวจ ตรงนี้ไม่มีสิทธิประโยชน์คุ้มครอง จึงมีการหารือกันว่า เพื่อให้การค้นหาตรวจค้นได้เร็ว น่าจะเพิ่มสิทธิประโยชน์ตรงนี้ แต่การเพิ่มทุกคนก็จะมีค่าใช้จ่าย มีคอขวดในการส่งต่อ เลยจะกำหนดให้ในกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง เป็นลำดับแรกก่อนในการตรวจค้น เช่นอายุ 35 ปีขึ้นไป กลุ่มคนอ้วน ประวัติดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ เป็นต้น

นายแพทย์ชลน่านกล่าวต่อว่า เดือนตุลาคมของทุกปี ถือเป็นเดือนแห่งการรณรงค์ต้านภัยโรคมะเร็งเต้านมกระทรวงสาธารณสุข จึงได้ร่วมมือกับภาคีเครือช่ายทั้งภาครัฐ เอกชน สมาคม จัดการประชุมครั้งนี้ เพื่อเป็นเวทีให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกัน การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งปากมดลูก ตลอดจนการสังเกตอาการเบื้องต้นจากแพทย์ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงทนต่าง ๆ มาแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับมาตรการและแนวทางใหม่ๆที่จะทำให้การป้องกัน ควบคุมโรคมะเร็งในสตรีมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีกิจกรรมที่น่าสนใจ อาทิ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสำหรับหญิงอายุ 35 ปีขึ้นไป, การคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยการคลำโดยผู้เชี่ยวชาญ, การตรวจ

Manmopam ในผู้ที่ได้รับการประเมินว่ามีความเสี่ยงสูง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ ยังมีบูธให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้จัดขึ้นภายใต้สโลแกน “สวย เริด เชิด สู้มะเร็ง” หรือ “Women Power No Cancer”

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน