จากสถานการณ์หนี้ครัวเรือนของประชาชนในประเทศไทยที่เพิ่มขึ้น โดยสัดส่วนหนี้ครัวเรือนไตรมาส 3 ปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 0.69 เพิ่มขึ้น จากไตรมาสก่อน คิดเป็นสัดส่วน GDP ของประเทศ ร้อยละ 90.9 และยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากความผันผวน ทางเศรษฐกิจ การเงิน และการเมือง ระหว่างประเทศ

แนวโน้มที่สถานการณ์หนี้ครัวเรือนจะปรับตัวสูงขึ้นในอนาคต จึงมีหน่วยงานจากภาครัฐ นำโดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ที่มีหน้าที่ในการแนะนำส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินและพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรด้วยระบบสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของสมาชิกสหกรณ์ ภาคการเกษตร สหกรณ์นอกภาคการเกษตร และกลุ่มเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

ปัญหาหนี้ครัวเรือนส่งผลกระทบต่อสังคมไทยและเศรษฐกิจที่สะสมมานาน เร่งแก้ช่วยเหลือเดินหน้าลดหนี้พร้อมกับสร้างอาชีพสร้างรายได้ พัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยระบบสหกรณ์

“ปัจจุบันพบว่า 90% ของครัวเรือนเกษตรกรไทย มีหนี้สินจำนวนเฉลี่ยมากถึง 450,000 บาทต่อครัวเรือน และพบว่า 30% ของครัวเรือนมีหนี้คงค้างเกิน 500,000 บาท ในส่วนของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ระดับหนี้สิน เฉลี่ยของสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจาก 203,520 บาทต่อคน ในปี 2564 เพิ่มเป็น 209,865.05 บาทต่อคนในปี 2565 หรือเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 3.12 สมาชิกใช้บริการสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในรูปเงินกู้ยืม ลูกหนี้การค้า และลูกหนี้บริการเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการลงทุนเพื่อประกอบอาชีพ ใช้ชำระหนี้สินเดิม ใช้จ่ายในครัวเรือน” นายวิศิษฐ์ กล่าว

แนวโน้มที่สถานการณ์หนี้ครัวเรือนจะปรับตัวสูงขึ้นในอนาคต จึงมีหน่วยงานจากภาครัฐ นำโดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ที่มีหน้าที่ในการแนะนำส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินและพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรด้วยระบบสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของสมาชิกสหกรณ์ ภาคการเกษตร สหกรณ์นอกภาคการเกษตร และกลุ่มเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2562 ถึงปี 2566 กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ดำเนินการขับเคลื่อน มีนโยบายให้ความสำคัญ ในการแก้ไขปัญหาหนี้ของสมาชิกอย่างจริงจัง สามารถนำไปปฏิบัติให้เห็นผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว วิธีการแก้ไขปัญหาหนี้ก่อนอื่นต้องแยกอายุลูกหนี้ของสมาชิก จัดกลุ่มประเภทลูกหนี้ จัดลำดับความสำคัญในการแก้ไขปัญหา และจัดกลุ่มเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์เข้าไปดำเนินการขับเคลื่อน การแก้ไขปัญหาหนี้สินของสมาชิกสหกรณ์ เดินหน้าลดหนี้ต่อเนื่องไปพร้อมกับสร้างอาชีพสร้างรายได้ เพื่อให้สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรกินดีอยู่ดี พัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยระบบสหกรณ์

โดยผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัดรายงาน ตั้งแต่พฤษภาคมถึงกันยายน 2566 มีสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระ 26,954 ราย หนี้ค้างเฉลี่ยที่ได้รับการแก้ไขลดลงของผลการดำเนินงานของจังหวัด ร้อยละ 19.60 และแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระฯ ของจังหวัด ซึ่งมีวิธีการเจรจาติดตามเร่งรัดหนี้ (การลด/งดคิดดอกเบี้ย) และค่าปรับ รวมถึงการพักชำระหนี้ ร้อยละ 86.84

ผลตอบรับของสมาชิกมีความต้องการแก้ไขหนี้ค้างชำระ ได้มีการให้ความร่วมมือกับสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในกิจกรรมต่างๆ ในการแก้หนี้ เช่น กิจกรรมส่งเสริมอาชีพ ฟื้นฟูอาชีพเดิม และพัฒนาอาชีพใหม่และอาชีพเสริม ส่งเสริม แนะนำปรับเปลี่ยนวิถีการปลูกพืชลักษณะเดิมที่ทำอยู่ เป็นพืชระยะสั้น สมาชิกนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้เพื่อลดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้มากขึ้น

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน