โฆษกกระทรวงวัฒนธรรม เชิญชวนศาสนิกชนรับขบวนอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ และพระอรหันตธาตุ

ของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ จากสาธารณรัฐอินเดีย มาประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ณ ประเทศไทย ไปยังมณฑลพิธีท้องสนามหลวง เสริมสิริมงคล*

นางสาวเพ็ญพิสุทธิ์ จินตโสภณ โฆษกกระทรวงวัฒนธรรม (ฝ่ายการเมือง) นางสาวกานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ และนายจิรวัฒน์ อรัณยกานนท์ รองโฆษกกระทรวงวัฒนธรรม (ฝ่ายการเมือง) เชิญชวนศาสนิกทั่วโลกเข้ากราบสักการะพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ซึ่งรัฐบาล โดยกระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับรัฐบาลอินเดีย กระทรวงวัฒนธรรมอินเดีย สถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ดำเนินงานโครงการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ จากสาธารณรัฐอินเดีย มาประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ณ ประเทศไทย เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ28 กรกฎาคม 2567 ในระหว่างวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ถึง 19 มีนาคม 2567 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวงกรุงเทพมหานคร จังหวัดเชียงใหม่ อุบลราชธานี และกระบี่ โดยในครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากโครงการธรรมยาตราพระบรมสารีริกธาตุจากมหานทีคงคาสู่ลุ่มน้ำโขง

โดยในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 16.00 น. มีริ้วขบวนอัญเชิญอย่างยิ่งใหญ่ตระการตา

เพื่ออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ออกจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร มายังมณฑลพิธีท้องสนามหลวง และในเวลา 17.00 น. จะมีพิธีเปิดงาน และพิธีเจริญพระพุทธมนต์ หลังจากนั้นเปิดให้ประชาชนเข้ากราบสักการะ ตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ – 3 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 – 20.00 น. สำหรับริ้วขบวนอัญเชิญ มีจำนวน 23 ขบวน มีผู้เข้าร่วมขบวนกว่า 2,500 คน ได้แก่ ขบวนที่ 1 ผู้ถือป้ายนำขบวนแต่งกายด้วยชุดประจำชาติไทย ขบวนที่ 2 นางฟ้าถือโคมส่องทาง ขบวนที่ 3 การแสดงภาคเหนือ ประกอบด้วย ฟ้อนขันดอก

กิงกะหร่า เต้นโต กลองสะบัดชัย ขบวนที่ 4 การแสดงภาคใต้ ประกอบด้วย ตารีบุหงา รองเง็ง โนรา ขบวนที่ 5 การแสดงภาคกลาง ประกอบด้วย รำโคมบัว รำกลองยาว หัวโต กลองยาว ขบวนที่ 6 การแสดงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย ฟ้อนหางนกยูง ฟ้อนมาลัยดอกรัก ฟ้อนภูไท ขบวนที่ 7 การแสดงกลุ่มชาติพันธุ์ไทย ขบวนที่ 8 การแสดงจากอินเดีย ขบวนที่ 9 พุทธศาสนิกชนวัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี ขบวนที่ 10 วงดุริยางค์ทหารบก ขบวนที่ 11 ธงชาติไทย ขบวนที่ 12 ธงชาติอินเดีย ขบวนที่ 13 ธงธรรมจักร ขบวนที่ 14 ธงฉัพพรรณรังสี ขบวนที่ 15 เทวดานางฟ้าถือกิ่งไม้เงินทอง ขบวนที่ 16 รถพระพุทธรูปปางแสดงโอวาทปาติโมกข์ ขบวนที่ 17 ขบวนเกียรติยศ ขบวนที่ 18 รถอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ประกอบด้วย เทวดา ผู้ถือกลดขาว ผู้รับพระบรมสารีริกธาตุและผู้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ขบวนที่ 19 รถเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ขบวนที่ 20 ข้าราชการกระทรวงวัฒนธรรม ขบวนที่ 21 จิตอาสา ขบวนที่ 22 ศาสนิกสัมพันธ์ ประกอบด้วย ศาสนิกชนชาวอินเดีย/ชาวไทยเชื้อสายอินเดีย และขบวนที่ 23 พุทธศาสนิกชนจากองค์การศาสนาพุทธ ซึ่งตลอดเส้นทางการเคลื่อนริ้วขบวน พุทธศาสนิกชนสามารถนั่งแถวรอรับการอัญเชิญ

พระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุ พร้อมก้มลงกราบสักการะตลอดเส้นทางเพื่อความเป็นสิริมงคล

โดยใช้เส้นทางจากบริเวณหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ผ่านถนนราชดำเนินใน ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ถนนหน้าพระธาตุ เข้าสู่ท้องสนามหลวง








Advertisement

ในส่วนภูมิภาค 3 จังหวัด เวลา 18.00 น. ผู้ว่าราชการจังหวัดและคณะผู้บริหาร ส่วนราชการประจำจังหวัด

ได้จัดแถวรอรับขบวนอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุฯ จากท่าอากาศยานทหาร มาประดิษฐานยังมณฑป และมีพิธีเจริญพระพุทธมนต์ โดยเวลา 09.00 – 20.00 น. ของทุกวัน จะเปิดให้ประชาชนได้เข้ากราบสักการะ ภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 5 – 8 มีนาคม 2567 ณ หอคำหลวง อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 10 – 13 มีนาคม 2567 ณ วัดมหาวนาราม จังหวัดอุบลราชธานี และภาคใต้ ระหว่างวันที่ 15 – 18

มีนาคม 2567 ณ วัดมหาธาตุวชิรมงคล จังหวัดกระบี่ ในเวลา 17.00 น. เป็นต้นไป จะมีพิธีเจริญพระพุทธมนต์เสริม

สิริมงคลให้กับศาสนิกชนที่เข้ากราบสักการะพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ โดยแต่ละพื้นที่จะมีพิธีเจริญพระพุทธมนต์ตามอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ จึงขอเชิญชวนศาสนิกชนร่วมสักการบูชาเพื่อเสริมสิริมงคลอย่างสูงสุดในชีวิต

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน