นายธนรัฐ โคจรานนท์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาสหกรณ์ด้านการเงินและร้านค้า กรมส่งเสริมสหกรณ์ เผยถึงกรณีที่มีประเด็นเกี่ยวกับสถานการณ์ของสหกรณ์ไทยและมูลหนี้สหกรณ์จนทำให้รัฐบาลต้องเร่งแก้ไขปัญหาหนี้สินนั้น ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด มีบางส่วนเท่านั้นที่สหกรณ์มีปัญหาในเรื่องของหนี้ที่เกินศักยภาพในการชำระหนี้ แต่กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้แนะนำส่งเสริมให้สหกรณ์พยายามช่วยเหลือสมาชิกให้ได้ทั้งหมด โดย

  1. กรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้ขอความร่วมมือจากสหกรณ์ออมทรัพย์ทุกแห่งให้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
    ไม่เกินร้อยละ 4.75 เพื่อช่วยเหลือสมาชิก แต่มิได้บังคับสหกรณ์ออมทรัพย์ทั้งระบบให้มีเพดานอัตราดอกเบี้ยเดียวกัน
    นายธนรัฐกล่าวว่า “เวลานี้มีหลายสหกรณ์ที่สามารถกระทำได้ รวมถึงบางสหกรณ์มีอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ต่ำกว่าร้อยละ 4.75 ซึ่งเป็นผลมาจากการบริหารจัดการต้นทุนทางการเงินของตนเอง บางสหกรณ์อาจพิจารณาแก้ไขในเบื้องต้นเฉพาะสมาชิกที่เดือดร้อน เช่น การปรับโครงสร้างหนี้ อาจพิจารณายืดระยะเวลาในการส่งชำระหนี้ ซึ่งสหกรณ์จะต้องบริหารความเสี่ยงในส่วนที่พักหนี้ หรืออาจไม่มีความเสี่ยงหากพิจารณาจากทุนเรือนหุ้นที่สมาชิกถืออยู่”
  2. ตามข่าวที่ว่า หากสหกรณ์ได้รับเงินกู้หรือมีแหล่งเงินทุนจากภายนอก แล้วนายทะเบียนสหกรณ์ประกาศกำหนด
    ให้มีการบวกอัตราดอกเบี้ยเพิ่มได้ 3% นั้น ขอเรียนว่า ทางนายทะเบียนสหกรณ์ ไม่มีการประกาศใด ๆ ในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของสหกรณ์ มีเพียงการประกาศเพดานอัตราดอกเบี้ยเงินรับฝากเพื่อควบคุมต้นทุนทางการเงินของสหกรณ์
    อันจะทำให้สามารถบริหารอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เพื่อบริการสมาชิกฯ ได้อย่างเป็นธรรมเท่ากัน ซึ่งในความเป็นจริงนั้นขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์จะพิจารณาตนเองว่าต้นทุนของสหกรณ์มีเท่าไร ทำให้บางสหกรณ์สามารถคิดอัตราดอกเบี้ยได้ต่ำกว่าทุนทางการเงินที่คิดมาจากแหล่งเงินภายนอกเพียงอย่างเดียว
  3. จำนวนสหกรณ์ทั้งหมด 7,498 แห่งที่ลดลง ในความเป็นจริงตลอดระยะเวลา 3 – 4 ปีที่ผ่านมา จำนวนสหกรณ์ไม่ได้มีการเพิ่มขึ้นหรือลดจำนวนจนเป็นข้อสังเกต โดยสหกรณ์แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ

“กลุ่มที่หนึ่ง” – ไม่สามารถไปต่อได้ ได้ขอเลิกกิจการและอยู่ระหว่างการชำระบัญชี ทำให้ยังไม่ได้ถูกถอนชื่อออก
จนเป็นจำนวนที่ปรากฏ

“กลุ่มที่สอง” – อยู่ระหว่างการปรับปรุงกิจการ เมื่อประสบปัญหาทำให้ต้องหยุดดำเนินการ ซึ่งชื่อสหกรณ์เหล่านี้ก็ยังปรากฏอยู่

“กลุ่มที่สาม” – เป็นสหกรณ์ที่มีความเข้มแข็ง สามารถอำนวยประโยชน์ให้กับสมาชิกได้ เป็นกลุ่มที่ดำเนินกิจการเป็นไปตามปกติ และเป็นตัวเลขที่เคลื่อนไหวน้อยมาก

“กลุ่มที่สี่” – เป็นสหกรณ์จัดตั้งใหม่ เนื่องจากบริบทการส่งเสริมสหกรณ์ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้เล็งเห็นปัญหาว่า หากมีการจัดตั้งสหกรณ์แต่ไม่ได้พิจารณาจากเกณฑ์มาตรฐานจะกลายเป็นไม่ได้สร้างความเข้มแข็งให้กับสหกรณ์ กรมจึงมุ่งไปที่การทำให้สหกรณ์มีความเข้มแข็ง เพื่อให้สมาชิกหรือประชาชนที่สนใจเข้ามาใช้แหล่งเงินทุน หรือใช้สหกรณ์ในการแก้ไขปัญหา โดยกรมจะส่งเสริมสหกรณ์เหล่านี้ให้เป็นที่พึ่งของสมาชิกหรือประชาชนได้อย่างแท้จริง”

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน