COP22 กำลังจะเริ่มขึ้น โลกกำลังก้าวเข้าสู่พรมแดนใหม่ ที่ไร้คาร์บอนไดออกไซด์ยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ความเข้าใจต่อข้อตกลง COP21 ที่เพิ่งเริ่มมีผลเมื่อ 4 พ.ย. 2559 ที่ผ่านมา นับว่ามีความสำคัญต่อการก้าวต่อไปของคนไทย โดยเฉพาะกับคำถามที่ว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินส่งผลกระทบต่อการเดินหน้าลดก๊าซเรือนกระจกของไทยหรือไม่ ?

“Paris Agreement” หรือ ข้อตกลงปารีสที่เกิดขึ้นในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 21 (COP21) ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปลายปี 2558 นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศทั่วโลกบรรลุข้อตกลงทางสภาวะอากาศ ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นข้อตกลงประวัติศาสตร์

เป็นที่แน่นอนแล้วว่า Paris Agreement มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 4 พ.ย. 2559 ภายหลังจากที่ประเทศสมาชิกของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) มากกว่า 55 ประเทศ ซึ่งมีสัดส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่าร้อยะ 55 ได้ให้สัตยาบันรับรองข้อตกลงดังกล่าว และประเทศไทย ก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ลงสัตยาบันในข้อตกลงปารีส เมื่อวันที่ 21 ก.ย. 2559 ที่ผ่านมาimage05

สำหรับหัวใจหลักที่เป็นที่รับรู้ร่วมกันในวงกว้างของข้อตกลงปารีส คือ นานาประเทศจะต้องร่วมมือกันไม่ให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 องศาเซลเซียส และพยายามควบคุมให้เพิ่มขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส เมื่อสิ้นศตวรรษนี้ หรือปี 2643 (2100) เมื่อเทียบกับปี 2423 (1880) โดยในปัจจุบันอุณหภูมิโลกได้เพิ่มขึ้นมาแล้วราว 0.7-0.8 องศาเซลเซียส
image04

อย่างไรก็ตาม ในรายละเอียดของข้อตกลงปารีสนั้นประกอบไปด้วยมาตราต่างๆ ถึง 29 มาตรา ซึ่งอาจไม่ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึง โดยในบทความนี้จะกล่าวถึงประเด็นสำคัญ และเป็นที่ถกเถียงในประเทศไทย อันเกิดมาจากข้อตกลงปารีส เพื่อสร้างความชัดเจน และคลายข้อสงสัยที่เกิดขึ้น

ประเด็นที่ 1 ระดับการปล่อยในการดำเนินงานปกติ (BAU) ไม่ได้สูงเกินจริง

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่า ประเทศไทยเองได้แสดงเจตจำนงในการลดก๊าซเรือนกระจก หรือ INDCs (Intended Nationally Determined Contributions) เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการลดผลกระทบอันเกิดจากการปเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศให้กับทาง UNFCCC ตั้งแต่ในการประชุม COP21 ซึ่งในเอกสารที่ส่งไประบุชัดเจนว่า ประเทศไทยจะลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 20-25 ในปี 2573 (2030) เมื่อเทียบกับระดับการปล่อยในการดำเนินงานตามปกติ (BAU)

สำหรับระดับการปล่อยในการดำเนินงานปกติ หรือที่เรียกกันติดปากว่า BAU หากจะอธิบายให้เข้าใจอย่างง่ายก็คือ ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกรณีที่ไม่มีมาตรการใดๆ เลยในการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่ง BAU ของประเทศไทยนั้นใช้ แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า 2007 (PDP 2007)’ เป็นตัวตั้งในการคำนวณ เนื่องจากใน PDP 2007 ไม่มีการคำนึงถึงเรื่องการลดก๊าซเรือนกระจกในแผน ซึ่งแน่นอนว่า BAU ไม่ได้เกิดจากการตั้งตัวเลขขึ้นมาให้สูงเกินจริง

จากการคำนวณ BAU ในปี 2030 ประเทศไทยในทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจจะปล่อยก๊าซเรือนกระจก 555 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งตาม INDC ที่ต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 20-25 หมายความว่า ไทยจะต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่เกิน 445 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งแต่ละประเทศมีการแสดงเจตนารมย์ลดก๊าซเรือนกระจกแตกต่างกันไปตาม

  • มาตราที่ 2 ข้อ 2 ในข้อตกลงปารีสระบุว่า ความตกลงนี้จะดำเนินการ โดยสะท้อนถึงความเป็นธรรม และหลักความรับผิดชอบในระดับที่แตกต่าง โดยคำนึงถึงขีดความสามารถของแต่ละภาคี ตามสถานการณ์ของประเทศที่แตกต่างกัน

image07

  • มาตราที่ 4 ข้อ 15 ที่ระบุว่า ในการปฏิบัติตามความตกลงนี้ ภาคีต้องคำนึงถึงข้อกังวลของภาคีที่เศรษฐกิจได้รับผลกระทบสูงสุดจากผลกระทบของมาตรการการตอยสนองการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งของประเทศกำลังพัฒนา

image06

  • มาตราที่ 7 ข้อ 10 ที่ระบุว่า ภาคีจะต้องจัดทำกระบวนการจัดทำแผนการปรับตัวและการนำไปสู่การปฏิวัติ รวมทั้งการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพแผน นโยบายและการมีส่วนราวมทีเกี่ยวข้อง (ตามความเหมาะสม) และควรจัดส่งข้อมูลดังกล่าวตามความเหมาะสม โดยจะต้องไม่เป็นการเพิ่มภาระต่อประเทศกำลังพัฒนา

image01

หรือกล่าวโดยสรุป คือ มาตรการในการดำเนินงานการลดก๊าซเรือนกระจกของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพทางเศรษฐกิจ สถานการณ์ทางสังคม สภาพความเป็นจริง และปัจจัยอื่นๆ ซึ่งแตกต่างกัน

image00image02

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับข้อตกลงปารีส ได้ที่

http://unfccc.int/files/essential_background/convention/application/pdf/english_paris_agreement.pdf

ประเด็นที่ 2 โรงไฟฟ้าถ่านหินไม่ส่งผลกระทบต่อการเดินหน้า ลดก๊าซเรือนกระจกของไทย

ในการแสดงเจตจำนงในการลดก๊าซเรือนกระจก ในการประชุม COP21 เมื่อปีที่แล้ว ในเอกสารได้แสดงชัดเจนว่า แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า 2015 (PDP 2015)’ เป็นหนึ่งในแผนที่อยู่ในการแสดงเจตจำนงการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งหมายความว่า มาตรการในการลดก๊าซเรือนกระจกของไทยนั้นต้องเดินตาม PDP2015 ที่เราได้สัญญาไปแล้ว

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับINDC ของไทย ได้ที่

http://www4.unfccc.int/ndcregistry/PublishedDocuments/Thailand%20First/Thailand_INDC.pdf

ประเด็นที่ 3 การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียน 100% ไม่ได้ถูกพูดถึงใน COP21

ในการประชุม COP21 บรรดาองค์กรไม่แสวงหากำไรต่างตั้งข้อเรียกร้องให้โลกเดินหน้าสู่การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียน 100% อย่างไรก็ตาม ในที่ประชุมกล่าวว่า เรื่องดังกล่าวยังไม่สามารถเป็นไปได้ จึงไม่ได้ปรากฎประเด็นนี้ไว้ในข้อสรุป โดยจะมีการหยิบยกประเด็นเรื่องพลังงานหมุนเวียน 100% มาพูดคุยใหม่อีกครั้ง หลังปี 2050

ข้อตกลงปารีสมีการบังคับใช้ในต้นเดือน พ.ย. ซึ่งจะเป็นช่วงเดียวกันกับที่มีการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 22 (COP22) ที่เมืองมาราเกซ ประเทศโมรอคโค โดยการประชุมครั้งนี้น่าเป็นการเรจาที่เข้มข้นอีกครั้งหนึ่งในการเดินหน้าการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งประเมินว่าจะเน้นหนักไปในเรื่องเงื่อนไขของประเทศกำลังพัฒนาในการนำเงินกองทุนจำนวน 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐ มาใช้ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

Credit : www.egat.co.th

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน