นักดำน้ำช่วยหมูป่า เล่านาทีเด็กหลุดมือ ชี้อุปกรณ์หน่วยซีลไม่เหมาะกับถ้ำ

นักดำน้ำช่วยหมูป่าเดลี่เมล์ รายงานคำให้สัมภาษณ์ของนายเจสัน เมลลินสัน นักดำน้ำวัย 50 ปี และนายคริส จีเวลล์ วัย 35 ปี เพื่อนร่วมทีมดำน้ำชาวอังกฤษ ถึงเบื้องหลังการช่วยชีวิตทีมหมูป่า ว่าตอนที่พวกตนจะพาทีมหมูป่าออก ได้บอกเจ้าหน้าที่ว่ามีโอกาสไม่น้อยที่สมาชิกหมูป่าบางคนอาจไม่รอด

ทั้งสองกล่าวว่า เมื่อประเมินจากสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายลงเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นพายุฝนที่คอยซ้ำกระหน่ำให้น้ำในถ้ำสูงขึ้น และสภาพของเด็กๆ ที่อิดโรยลงทุกวัน รวมไปถึงระดับออกซิเจนในถ้ำที่ลดลง จึงแจ้งกับเจ้าหน้าที่ไทยไปเช่นนั้น

นายเจสันและนายคริส เปิดเผยว่าปฏิบัติการครั้งนี้เกือบกลายเป็นหายนะ แม้ว่าจะมีการวางแผนอย่างรอบคอบแล้วก็ตาม พร้อมกันนี้ยังพูดกับฝ่ายไทยถึงแผนทางเลือกหนึ่งที่จะทิ้งเด็กไว้ในถ้ำจนกว่าจะพ้นระยะฤดูฝน ว่าคงจะทำเหยื่อคนใดคนหนึ่งเสียชีวิต

ส่วนความพยายามที่จะวางท่อส่งออกซิเจนเข้าไปที่ยังทำไม่สำเร็จ ยิ่งทำให้ปฏิบัติการดำน้ำกู้ชีพยากขึ้นไปอีก ในช่วงจังหวะหนึ่ง คริสกำลังช่วยเหลือนำส่งเด็กชายคนหนึ่ง เด็กเกิดหลุดมือจากเชือกนำทาง จนพยายามหากันท่ามกลางความมืด และความหวาดกลัวอย่างที่สุด แต่ไม่มีใครในทีมหมูป่าแสดงอาการวิตกกังวล

นายคริส จีเวลล์

นักดำน้ำชาวอังกฤษกล่าวด้วยว่า ระเบียบและอุปกรณ์สวมใส่ของนาวิกโยธินไทยผิดพลาดอย่างสิ้นเชิงสำหรับการดำน้ำในถ้ำ กระทั่งเกิดกรณีการเสียชีวิตของหนึ่งในทีมงาน จึงทำให้เจ้าหน้าที่ตระหนักว่าน้ำลึกจนยืนไม่พ้นและต้องระมัดระวังในภารกิจอย่างยิ่งยวด

สองนักดำน้ำนี้เดินทางมาถึงประเทศไทยเพื่อช่วยเหลือทีมหมูป่าครั้งแรกในวันที่ 2 ก.ค. และพยายามทำความคุ้นเคยกับสภาพของถ้ำ รวมไปถึงศึกษาส่วนต่างๆ ของถ้ำที่อาจสร้างปัญหาให้กับการนำตัวเด็กออกมา

ส่วนระหว่างที่การนำตัวทีมหมูป่าออกมา ปัญหาเรื่องภาษาไม่ใช่ปัญหาใหญ่ นายเจสันเล่าว่าส่วนใหญ่แล้วตนจะพูดปลอบให้เด็กใจเย็นลง ลดความตื่นเต้น และมักจะพูดคำว่า โอเค กับเด็กๆ

“การนำตัวทีมหมูป่าออกมา เราทำได้แค่หนึ่งครั้งต่อหนึ่งคน เราต้องพาเด็กไปตามที่ยากลำบาก บางครั้งก็ต้องลอดลงใต้ขาของพวกเราด้วย งานนี้เป็นงานใหญ่เพราะต้องรับผิดชอบต่อชีวิต ทำงานอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะกับเด็กที่ยังมีอายุน้อยŽ”

ระหว่างการปฏิบัติกดารกู้ชีพ เจสัน และ คริส เห็นพ้องกันว่า จะไม่ใส่ถุงมือยาง เพราะต้องการสัมผัสโดยตรงกับวัตถุ ช่วยเด็กให้พ้นจากการกระแทกกับก้อนหิน เพราะถ้าถังอากาศทำงานพลาด หรือเด็กกระแทกกำแพงนั่นอาจทำให้เสียชีวิต ทั้งสองจึงยอมบาดเจ็บที่มือ

เจสัน เมลลินสัน

เจสัน ระบุว่านักกู้ภัยใช้เวลาดำน้ำราว 1-2 ชั่วโมง ในการนำตัวทีมหมูป่าส่งต่อไปยังเจ้าหน้าทหารสหรัฐ และทางการไทย ท่ามกลางเส้นทางที่ยาวไกลกว่า 1 กิโลเมตร ประกอบกับทัศนวิสัยที่มองไม่เห็นอะไรทั้งสิ้น แต่ด้วยความเป็นมืออาชีพของนายเมลลินสัน ที่สังเกตอาการหายใจของเด็กๆ ที่ออกมาเป็นรูปฟองอากาศที่ออกมาจากหน้ากาก

“การนำตัวทีมหมูป่าออกมา เราทำได้แค่หนึ่งครั้งต่อหนึ่งคน เราต้องพาเด็กไปตามที่ยากลำบาก บางครั้งก็ต้องลอดลงใต้ขาของพวกเราด้วย” นายเจสันกล่าว และชี้ด้วยว่า งานนี้เป็นงานใหญ่เพราะต้องรับผิดชอบต่อชีวิต ทำงานอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะกับเด็กที่ยังมีอายุน้อย และอยู่ในอาการหวาดวิตก ที่สำคัญทุกขั้นตอนทีมต้องทำให้มีการมั่นใจก่อนกว่า ระบบช่วยชีวิตที่คลุมบริเวณใบหน้าของเด็กต้องมีการกันน้ำทั้งหมด

นักดำน้ำช่วยหมูป่า

“หลายสิ่งที่หลายอย่างที่ต้องใช้แรง อย่างการดึงตัวเองออกจากน้ำที่เต็มไปด้วยโคลนลื่น ประกอบกับอาการในถ้ำที่เบาบาง ทำให้เหงื่ออกเยอะ และหอบบ่อยกว่าปกติ” เมลลิสันกล่าว และเสริด้วยว่าตนเอาโน็ตบุ๊กเข้ามาด้วย เพื่อให้เด็กๆ ส่งข้อความสั้นๆกลับไปหาครอบครัวที่รอคอยอย่างห่วงใยอยู่นอกถ้ำได้

ส่วนวันที่ 3 กับทีมหมูป่า 4 คนและโค้ช นายเจสัน ตัดสินใจลงดำน้ำสองเที่ยวเพื่อนำเด็กคนสุดท้ายออกมา พร้อมเผยว่าโค้ชออกมาเป็นคนที่ 9 ไม่ใช่คนสุดท้ายตามรายงานก่อนหานี้

นายเจสัน จีเวลล์ ซ้าย และ นายริก สแตนตัน คนกลาง

ทั้งนี้นายเจสันทำงานรับจ้างในโรงไฟฟ้าในเมืองสกันธอร์ป ของอังกฤษ ซึ่งต้องใช้ทักษะเป็นพิเศษคือการทำความสะอาดปล่องปล่อยควันหล่อเย็นของโรงงานไฟฟ้า นอกจากนี้ ยังมีประสบการณ์ดำน้ำในถ้ำมาแล้วกว่า 30 ปี และเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่ออยู่ในบัญชีผู้เชี่ยวชาญการดดำน้ำในถ้ำของสภาการกู้ชีพในถ้ำของอังกฤษอีกด้วย

นายเจสันยังทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากอังกฤษอีก 2 คนคือนายริก สแตนตัน และนายจอห์น โวแลนธีน

เจสัน และคริส ระบุว่าในทิศทางเดียวกันว่าทั้งคู่ต้องควบคุมอารมณ์ให้คงที่ จนท้ายที่สุดก็รู้สึกตื้นตันใจว่า ตนและเพื่อนนักดำน้ำสามารถช่วยกู้ชีพ และทำภารกิจสุดหินนี้ได้

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน