เมียเรียก 20 ล้าน! โวยรพ.ดังรักษาพลาด ทำผัวป่วยติดเตียง บอกไปสู้คดีชั้นศาลเอา

จากกรณีผู้หญิงคนหนึ่งโพสต์ขอความเป็นธรรม รพ.เอกชน 2 แห่งทำการรักษาสามีผิดพลาด จากคนปกติ กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง จนรับไม่ได้ พร้อมวอนขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ ช่วยเข้ามาดูแล

ล่าสุดรายการโหนกระแส 24 เม.ย. โดย “หนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย” ในฐานะผู้ดำเนินรายการ ผลิตในนามบริษัท ดีคืนดีวัน จำกัดออกอากาศทุกวันจันทร์- ศุกร์ เวลา 13.45 – 14.25 น. ทางช่อง 28 ได้เปิดใจสัมภาษณ์ “คุณทิพย์” ภรรยา และ “คุณเอ” หลานชายซึ่งอยู่ในเหตุการณ์ทั้งหมด พร้อม “ทนายเดชา กิตติวิทยานันท์” ทนายคลายทุกข์

อยู่กินกันมากี่ปี?
ทิพย์ : “5 ปีค่ะ มีลูกด้วยกันคนเดียว อายุ 5 ขวบ ตอนนี้อายุ 40 สามีอายุ 43 ค่ะ”

เหตุการณ์เกิดอะไรขึ้น?
ทิพย์ : “เหตุการณ์เกิดวันที่ 5 ส.ค. ปีที่แล้ว สามีมีอาการปวดหัวรุนแรง อาเจียนพุ่ง ภรรยากับหลานชายนำส่งรพ. หนึ่งเข้าห้องฉุกเฉิน เขาตรวจ และเฝ้าดูอาการ จนได้ขึ้นพักข้างบน จนตอนเช้าก็ยังปวดหัว”

ตอนที่ไปรู้เรื่องดีหมด?
ทิพย์ : “รู้เรื่องค่ะ เขาอาเจียนพุ่งและปวดหัวมาก แต่พูดจาโต้ตอบได้หมด”

สามีเป็นอะไร?
ทิพย์ : “เส้นเลือดตีบค่ะ เขาขึ้นพักข้างบน ตอนเช้าก็ยังปวดหัว ทางรพ. หนึ่งทำเอ็มอาร์ไอ เพราะเขาสมองบวมแล้ว แต่ก็ยังพูดได้ ยังคุยกับทางภรรยาได้ เขาบอกเขาปวดหัวมาก เขาลืมตาไม่ขึ้นแล้ว ทางรพ.หนึ่งบอกว่า ทางสามีใช้ประกันชีวิต กลัววงเงินไม่พอ เขาบอกว่ามีประกันตัวอื่นมั้ย ก็บอกว่ามีประกันสังคมอยู่ที่รพ.สองค่ะ คุณหมอบอกขั้นตอนการรักษาว่าต้องผ่าตัดสมองเลย”

ไปรพ.แห่งที่สอง ทำยังไงต่อ?
ทิพย์ : “ไปวันที่ 6 เลยค่ะ ก็ไปพบคุณหมอด้านอายุรกรรม เขาถามว่าคนไข้เป็นอะไรมา ทางภรรยาบอกว่าเขามาด้วยอาการสมองบวมเหมือนลูกโป่งแล้วนะคุณหมอ เขาก็พาไปทำซีทีสแกน ทำเสร็จเขาก็พามาพักที่ห้องไอซียู และให้หัวหน้าพยาบาลดูแลอาการ ตอนนั้นภรรยาก็ไม่ทราบว่าเขามีหมอด้านสมองหรือเปล่าเพราะตั้งแต่ไปเจอแต่หมอด้านอายุรกรรม”

ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์@ข่าวสด ที่นี่
เพิ่มเพื่อน

เราไม่ได้เอาผลจากรพ.แรกไปเหรอ?
ทิพย์ : “ไม่ทราบเหมือนกันค่ะ ตอนใบส่งตัว รพ.แรกก็มีการทำเอ็มอาร์ไอ สามีเขาปวดหัวมาก แต่ไม่อาเจียนแล้ว เขาปวดหัวจนลืมตาไม่ขึ้น เขาร้องโอดโอย ถามว่ามียาอะไรให้เขากินมั้ย จนผ่านไปวันที่ 7 ภรรยาก็เข้ามาเยี่ยมตามเวลาเยี่ยมตอนหกโมเงย็น ก็คุยปกติ เขาบอกว่ายังปวดหัวมากเลย ขอยากินได้มั้ย หลังจากนันก็ป้อนข้าวให้เขา ก็ยังทานปกติอยู่ ช่วงเย็นก็พบคุณหมอด้านอารยุรกรรม ว่าเขาเป็นยังไงบ้าง หมอบอกว่าเดี๋ยวพรุ่งนี้ก็ขึ้นข้างบนได้แล้ว เราก็ดีใจ ไปพักฟื้นห้องข้างบนได้แล้ว”

จำชื่อคุณหมอได้มั้ย?
ทิพย์ : “จำได้ค่ะ หลังจากนั้นห้าทุ่มพยาบาลไอซียูโทรมาคนไข้น็อกเลยค่ะ วันที่ 7 ห้าทุ่ม”

น็อกคือสลบ?
ทิพย์ : “สลบไปเลย ไม่มีความรู้สึก ภรรยาเข้ามาที่ไอซียู เขาบอกว่าให้มาเตรียมผ่าตัด ใส่เครื่องช่วยหายใจเรียบร้อยแล้ว เขาบอกว่าต้องผ่าคนไข้ด่วน แต่ทางนี้ไม่มีหมอ ต้องส่งไปในเครือของเขา”

เขาไม่บอกเหรอว่าไม่มีหมอผ่าตัด เพราะรพ.แรกบอกว่าต้องผ่าตัด แต่ค่าใช้จ่ายไม่พอ ไปรพ.ที่คัฟเวอร์แล้วกัน แถวไหน รพ.สาขาของเขา?
ทิพย์ : “หลังจากนั้นหัวหน้าไอซียูบอกว่าไม่ต้องส่งตัวไปแล้ว หมอพาร์ทไทม์จากที่อื่นจะมาผ่าตัดให้ แต่เกล็ดเลือดไม่มี ต้องรอเกล็ดเลือดจากสภากาชาด ก็ได้ตอน 6 โมงเช้าวันที่ 8 หลังจากนั้นคุณหมอมาผ่าตัดให้วันที่ 8 เวลา 10 โมงเช้า หลังผ่าตัดผ่านไป พอสองอาทิตย์ คุณหมอก็บอกว่าไม่น่ารอด มันทำใจลำบาก(ร้องไห้) เพราะไปส่งเขา เขาปกติดี พยายามเรียกเขาในไอซียูกับลูกตลอด (ร้องไห้) ลูกยังเล็กอยู่นะ”

หลังผ่าตัด ผ่านไปสองสัปดาห์คุณหมอบอกว่า?
ทิพย์ : “คนไข้ไม่รอดค่ะ วินาทีนั้นรับไม่ได้ เพราะเรามีความหวัง ว่าต้องไปกระตุ้นเขา ไปเรียกเขา ก็พาลูกชายไปเรียกทุกวัน จนผ่านไป 20 กว่าวัน วันที่ 28 เขาก็ลืมตาขึ้นมา ปาฏิหาริย์ คือขอให้มีปาฏิหาริย์ทำทุกอย่าง ให้ลูกไปเรียกทุกวัน ไปพูดข้างหูป๊าตื่นนะมาเล่นกับหนูนะ เขาก็ลืมตาขึ้นมา ตรงนั้นก็มีความหวังขึ้นมา แต่เขาไม่ตอบสนอง”

เหมือนลืมตามอง ไม่มีอาการตอบสนองเลย ถามคุณหมอมั้ย?
ทิพย์ : “เขาบอกว่าอาจจะเป็นความเสียหายของสมอง เขาตอบไม่ได้ เพราะอยู่ที่ตัวคนไข้ เขาตอบแบบนั้นแล้ว เราก็มีความหวัง เราต้องไปกระตุ้นเขา เอากำลังใจนี่แหละ คุยกับเขาลูกวัน ไปนวดไปบีบเขาทุกวัน ไปเรียกเขา ต้องสู้นะ เดี๋ยวก็ผ่านไปได้”

น้องเอ เป็นคนอยูในเหตุการณ์ตลอด ไปด้วยตลอด คุณหมอรพ.ที่สองเขาดูแลรักษายังไง?
เอ : “ไม่ได้บอกว่าจะรักษายังไง เขาให้ยาลดสมองบวมกับแอสไพลิน เขาบอกว่ารพ.แรกแจ้งว่าให้แอสไพลินมาแล้ว”

เขาบอกมั้ยทำไมมาถึงแล้วไม่ผ่าเลย?
เอ : “ไม่ได้บอก”

ถ้าเกิดเขาบอกว่าคนป่วยถูกให้แอสไพลินมาแล้ว คนที่เป็นแผลจะไหลตลอดเวลา อาจจะหยุดยาก เป็นไปได้มั้ย คุณหมอมองว่ามีการให้แอสไพลินก่อนหน้านั้นแล้ว ถ้าผ่าไปเลือดอาจไม่หยุดไหลก็ได้ อาจต้องรอดูอาการ ให้ยาไปเรื่อยๆ ก่อน เผื่อว่าลิ่มเลือดอุดตันดีขึ้น เขาได้แจ้งแบบนี้มั้ย?
ทิพย์ : “ไม่มีนะคะ”

ในมุมพี่เดชา มองยังไง?
เดชา : “ในฐานะทำคดีทางการแพทย์ ความล่าช้าในการรักษาก็อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้คนไข้เป็นอย่างนี้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าความล่าช้า ความเสียหายจากคนไข้เกิดจากการกระทำของหมอเสมอไป บางทีมีขั้นตอน ยิ่งผ่านรพ.ที่หนึ่ง รพ.ที่สองถ้าดูว่าหนักและไม่มีความพร้อมในการรักษา เขามีความรู้สึกว่าส่งต่อดีกว่า ถ้าเป็นเรื่องสุดวิสัย แต่ถ้าเขาจะรับผิด คือเขารู้ว่าเป็นอาการฉุกเฉิน อาจตายหรือพิการได้ ก็ต้องรีบส่ง ตรงนี้ถามว่าเขาทำช้าหรือเปล่า ตรงนี้สำคัญ หมายถึงรพ.ที่สองนะ ส่วน รพ.แรกก็เหมือนกัน ถ้ารู้ว่าอาการหนักแล้วใกล้ตาย ก็อาจมีส่วนในการรับผิด คุณก็รู้อยู่แล้วว่าอาการหนัก ทำไมไม่รักษาต่อ คุณไม่ควรส่งต่อ มาตรฐานในการวินิจฉัยกับการส่งต่อก็ต้องดูอีก”

เขาอ้างว่าบัตรไม่คัฟเวอร์?
เดชา : “การรักษาคนใกล้จะตาย มันไม่เกี่ยวกับเรื่องเงิน มันเกี่ยวกับเรื่องจรรยาบรรณ กฎหมายหลักประกันสุขภาพก็มี ทำไมไม่รักษา รพ.ที่หนึ่งตอบคำถามนี้ให้ได้”

รพ.สองพอเห็นคนป่วยมีอาการหนัก ก็ยังให้ยาลดสมองบวม ถ้าเขาอ้างเป็นขั้นตอนการรักษา?
เดชา : “ก็อ้างได้ ผู้ปวยหนักๆ มีขั้นตอนหลายอย่าง ขั้นตอนการผ่าตัดมีหมอเยอะแยะ หมอวิสัญญี หมอโรคหัวใจ หมอเยอะแยะ ไม่ใช่อยู่ดีๆ มาผ่า ผู้ป่วยหลายคนไม่เข้าใจ ต้องมีหลายหมอ วางยาสลบได้มั้ย ความดันได้มั้ย โรคแทรกซ้อน ร่างกายไหวมั้ยเยอะแยะ ถ้าเกิดผ่าไปแล้วตายจะทำยังไง ตรงนี้ถ้าเขาอธิบายได้ก็ไม่ต้องรับผิด แต่ถ้าอธิบายไมได้ จงใจ ประมาทเลินเล่อ รักษาผิดวิธี อันนี้ต้องรับผิด”

ณ วันนี้มีการพูดคยกับทางรพ.สองหรือยัง?
ทิพย์ : “คุยแล้วค่ะ คุยสามครั้ง ตอนแรกคุยกับเขา เขาอ้างเรื่องยา”

เอ : “เขาบอกว่าผ่าตัดไม่ได้ รพ.ที่หนึ่งให้แอสไพลินมาแล้ว เกล็ดเลือดเขาหาไมได้ ก็เลยผ่าตัดไม่ได้ บอกจะหาทางช่วย”

ทิพย์ : “เรื่องช่วยเหลือคนไข้ ก็ถามว่าจะมีกายภาพมีอะไรมั้ย เดี๋ยวจะส่งกายภาพมาช่วยเหลือ แล้วเขาก็เงียบไป พอครั้งที่สอง ก็ถามว่าเรื่องที่จะช่วยเหลือนี่ยังไงบ้างคะ เขาก็บอกว่าคุณไปขอเวชระเบียนรพ.หนึ่งมาให้ดูหน่อย เดี๋ยวเราจะหาทางช่วยเหลือว่าคนไข้เป็นยังไง มายังไง เดี๋ยวเราจะนัดคุยกันอีกที”

ครั้งที่หนึ่งเขาบอกจะช่วยอะไร?
ทิพยื : “ส่งกายภาพมา จะให้หมอมาดูแลมั้ย อะไรแบบนี้ ตอนนั้นคนป่วยนอนอยู่รพ.หนึ่ง ย้ายกลับมาค่ะ คือไปคุยรพ.หนึ่ง ว่าวันนี้ผู้ป่วยมีอาการแบบนี้ ทางคุณหมอพอจะช่วยอะไรได้มั้ย ทางรพ.หนึ่งเขาก็บอกว่าจะดูแลให้ ทางภรรยาคุยกับทางรพ.สองว่าคนไข้มีอาการแบบนี้แล้วนะ รพ.สองจะมาช่วยผู้ป่วยหน่อยได้มั้ย ถ้าช่วยกัน คนไข้จะฟื้นฟูได้เยอะ”

ม่ได้หวังเงิน แต่ต้องการแพทย์มาช่วยเหลือดูแลสามีเรา?
ทิพย์ : “ใช่ค่ะ แค่นั้นเอง เราคุยกันว่าถ้าคุณหมอช่วยกันจะขอบคุณมากเลย เราก็ขอร้องเขา เขาก็รับปาก”

ผ่านไปนานมั้ยกว่าครั้งที่สองจะมา?
ทิพย์ : “เกือบสามอาทิตย์ค่ะ รพ.หนึ่งก็เตรียมให้ทุกอย่าง เขาพร้อมให้ความร่วมมือช่วย”

เวชระเบียนเตรียมไว้แล้ว แล้วรพ.สองว่าไง?
ทิพย์ : “เขาบอกว่าขอเวลาสักอาทิตย์สองอาทิตย์ เดี๋ยวจะโทรมานัดอีกทีว่าจะช่วยกัน ผ่านไปเกือบสามอาทิตย์ โอเค ความเสียหายที่เกิดขึ้น คุณคุยกับเราครั้งเดียวเลย คุณต้องการเท่าไหร่ เพราะว่าเขาก็ทำเป็นธุรกิจเหมือนกัน ทนายเขาตอบแบบนี้”

ทนายถามว่าต้องการเงินเท่าไหร่ คุณตอบยังไง?
ทิพย์ : “ก็บอกว่าครั้งแรกที่มาคุย ขอให้ช่วยเหลือ แต่ในเมื่อคุณมาพูดเจรจาเรื่องเงิน เราก็เสียหายเยอะ เราทำธุรกิจเหมือนกัน เราก็เรียกเขาไป ตัวเลขก็สูง 20 กว่าล้าน ทีนี้เขาบอกว่าเยอะเกินไป บอร์ดเขาไม่จ่ายหรอก ในความคิดของทนาย เขาจ่ายไม่กี่แสนหรอก พี่ก็บอกว่าคุณทนาย คุณจะการันตีได้มั้ยว่าเงินแสนจะทำให้เขาลุกขึ้นมาทำงานได้ พี่ไม่อยากแตะเงินพวกคุณหรอก ถ้าเขายังทำงานได้ก็หาเงินได้ ไม่ทำให้พวกคุณเดือดร้อนอยู่แล้ว”

ไปคุยกับทนายฝั่งเขามา เขาเสนอเงินให้หลักแสน คุณบอกว่าถ้าเอาหลักแสนมาให้แล้วผัวฟื้นมาได้ ก็คงไม่แตะเงินคุณหรอก ตอนนี้เจรจาไปถึงไหนแล้ว?
ทิพย์ : “เขาไม่ยอมเจรจาแล้วค่ะ เขาบอกให้ไปเจอในชั้นศาล”

ตอนนี้สามีเป็นยังไง?
ทิพย์ : “เริ่มมีปฏิกิริยาตอบโต้ขึ้นจากเดิม พูดอะไรก็มองตาม เขาเริ่มจำทุกคนได้ เข้าใจ แต่ต้องดูแลตลอด”

ในมุมข้อกฎหมาย เอายังไง ไปคุยมาแล้วทางรพ.บอกไปเจอในศาล?
เดชา : “ก็ต้องสู้คดี เขาไม่ยอมรับผิด หน้าที่คุณพี่ต้องพิสูจน์มีพยานหลักฐานว่าเขาทำผิด เราจะมีความรู้อะไร เราเป็นคนธรรมดา เราต้องมีหมอมาเป็นพยาน รักษาโรคแบบนี้จะมีคู่มือ เวลาทำคดีทางการแพทย์ เปิดตำราแพทย์เต็มศาลเลยนะ โรคแบบนี้อาการแบบนี้คุณทำหรือเปล่า สเต็ปหนึ่งสองสามทำหรือเปล่า ถ้าไม่ทำถึงจะเอาผิดเขาได้ เพราะมีหลักทางการแพทย์ ต้องมีแพทย์มาเบิกความ ว่าอะไรผิดไม่ผิด”

จะหาได้เหรอ?
เดชา : “หายากในทางปฏิบัติ หมอจะมาฟันหมอมีน้อย แต่ในทางปฏิบัติ สามารถออกหมายเรียกไปราชวิทยาลัยได้ มีพวกระดับศาสตราจารย์ อาจารย์หมอ ทางด้านสมองมาเบิกความ เขาจะพูดตามความเป็นกลาง ดีกว่าไม่มีอะไรเลย ดีกว่าเราคิดไปเรื่อย ศาลไม่ฟังอยู่แล้ว ไม่เกิดประโยชน์ คดีทางแพทย์ไม่ใช่เรื่องง่าย หมอมีข้อแก้ตัวอะไรเขาได้ อีกอย่างหมอเป็นวิทยาศาสตร์ ทุกสิ่งทุกอย่างต้องอ่านตำราแพทย์”

รพ.แรก ต้องกลับไปย้อนดูดีๆ ว่าจะเข้าหรือเปล่า รพ.แรกเขาให้ความกรุณาดูแลสามีอยู่เหมือนกัน จะทำยังไง?
เดชา : “ถ้าเกิดอาการหนักใกล้จะตาย ย่ำแย่ อยู่รพ.แรก แล้วบอกวงเงินไม่พอ ให้ไปรพ.อื่น อันนี้ก็ไม่ใช่แล้ว รพ.แรกก็ต้องร่วมรับผิด ไปยื่นคำร้องเรียกเขามาเป็นจำเลยร่วมนะ ก็แล้วแต่ อยู่ที่ดุลยพินิจ”

ปัญหาที่ตามมา รพ.แรกดูแลคนป่วย?
เดชา : “ถ้าพอใจก็ไม่เป็นไร ก็ว่าไป แต่รพ.สองเขาสู้อยู่แล้ว อาการหนักมาแล้ว ความผิดไม่ได้เกิดจากผม เกิดจากรพ.แรก ก็ยื่นคำร้องเขาไป เรียกเขามาเป็นจำเลยร่วม รพ.สองอาจเรียกเขามาเองก็ได้ ถ้าผมเป็นที่ปรึกษรพ.ก็เรียกเขามา คุณรักษายังไง อาการหนักขนาดไหนยังไง ใกล้ตายแล้วถึงส่งมาที่รพ.ผม รพ.ผมจะรักษายังไง ไม่ใช่เทวดา ก็อยู่ที่ความผิดใครมากน้อยกว่ากัน เหมือนรถชน ก็เฉลี่ยกันไป ใครทำผิดมากน้อย”

ทางเจ้าทุกข์ต้องพิสูจน์ให้เห็นก่อน?
เดชา : “ต้องให้หมออธิบายกันเอง วิธีการรักษาแบบนี้ มาตรฐานแบบนี้ ไม่ได้มาตรฐานทำยังไง”

อยากบอกอะไร?
ทิพย์ : “ก็อยากให้ทางหน่วยงานรัฐ กระทรวงสาธารณสุข เข้ามาช่วยเหลือในด้านครอบครัว ให้ความเป็นธรรมกับครอบครัวเราด้วยค่ะ”

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน