เปิดทุกมาตรการเยียวยาสู้ โควิด ปล่อยกู้ไร้หลักประกัน-คนละหมื่น โรงตึ๊งลดดอก

โควิด -เยียวยา / เมื่อวันที่ 24 มี.ค. นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการคลัง นายลวรณ แสงสนิท ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง และนายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร ร่วมกันเปิดเผยถึงมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) ต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม ระยะที่ 2

เกาะติดข่าวโควิด กดติดตามไลน์ ข่าวสด official account
เพิ่มเพื่อน

โดยคณะรัฐมนตรี ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ เป็นประธาน มีมติเห็นชอบเรื่องมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม ระยะที่ 2 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ

เริ่มจาก 1.สนับสนุนเงินคนละ 5 พันบาทต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน เฉพาะแรงงานลูกจ้าง ลูกจ่างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม จากการปิดที่เสี่ยงต่อการระบาดชั่วคราวจำนวน 3 ล้านคน

ส่วนผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคม เพิ่มให้กรณีว่างงาน 50 % ของค่าจ้าง โดยกรณีนายจ้างไม่ให้ทำงานรับเงิน ไม่เกิน 180 วัน และกรณีรัฐสั่งหยุด รับเงินไม่เกิน 90 วัน

2.สินเชื่อฉุกเฉิน 1 หมื่นบาทต่อรายโดยไม่ต้องมีหลักประกัน วงเงินรวม 4 หมื่นล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 0.1 % ต่อเดือน

3.สินเชื่อพิเศษ 5 หมื่นบาทต่อราย วงเงินรวม 2 หมื่นล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 0.35 % ต่อเดือน โดยต้องมีหลักประกัน

4.สำนักงานธนานุเคราะห์ รับจำนำดอกเบี้ยต่ำ วงเงินรวม 2 พันล้านบาท คิดดอกเบี้ยจากประชาชนอัตราไม่เกิน 0.125 % ต่อเดือน

5.ยืดการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ออกไปเป็นเดือนส.ค.63

6.หักลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพเพิ่มขึ้น เพิ่มวงเงินลดหย่อนค่าเบี้ยประกันสุขภาพ จาก 15,000 บาท เป็น 25,000 บาท

7.ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับค่าเสี่ยงภัยให้บุคคลากรทางการแพทย์

8.ฝึกอบรมมีเงินใช้ เพิ่มทักษะอาชีพหรือจัดกิจกรรมเพื่อสังคม รวมถึงนักศึกษาที่ยังหางานไม่ได้ ขยายฝึกอบรมผ่านภาคีเครือข่าย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน