เปิดงบ 1.63 แสนล้านสู้โควิด กห.ใช้ 115 ล้านตั้งศูนย์ พณ. 108 ล้านบริหารหน้ากาก

โควิด -งบ / เมื่อวันที่ 24 มี.ค. ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) กระทรวงการคลังได้รายงานผลการใช้งบประมาณ เพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบโควิด-19 เมื่อวันที่ 1 มี.ค. และ 17 มี.ค. ก่อนที่มีมาตรการระยะ 2 ดังนี้

เกาะติดข่าวโควิด กดติดตามไลน์ ข่าวสด official account
เพิ่มเพื่อน

งบประมาณเพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบโควิด-19 รวมวงเงิน 79,104.59 ล้านบาท แบ่งเป็นงบประมาณของหน่วยงาน 41,124 ล้านบาท งบกลางฯปี 2563 วงเงิน 30,480.59 ล้านบาท และงบประจำปี 2563 วงเงิน 7,500 ล้านบาท โดยรายละเอียดของของการใช้งบประมาณ คือ

กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) วงเงิน 6,721.78 ล้านบาท เป็นค่าบริการด้านสาธารณสุข ค่าตอบแทนเสี่ยงภัย สำหรับการเตรียมป้องกันโควิด-19

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)วงเงิน 143.50 ล้านบาทเป็นค่าใช้จ่ายในการเพิ่มประสิทธิภาพ และการเตรียมความพร้อม

สภากาชาดไทยวงเงิน 174.80 ล้านบาท เป็นโครงการบรรเทาผลกระทบโควิด-19

มหาดไทยวงเงิน 255 ล้านบาท สำหรับผลิตหน้ากากาอนามัยแบบผ้า

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) วงเงิน 35 ล้านบาท ใช้จ่ายในการผลิตหน้ากากแบบผ้า

กระทรวงพาณิชย์(พณ.) วงเงิน 108 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการหน้ากากอนามัย

กระทรวงกลาโหม 115.41 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายโครงการจัดตั้งศูนย์ฉุกเฉินโควิด-19 และโครงการจัดตั้งกองทุนอำนวยการร่วมสัตหีบ

กระทรวงการคลัง วงเงิน 20,000 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือผู้มีผลกระทบจากโควิด-19

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วงเงิน 45 ล้านบาท ช่วยเหลือสนับสนุนการกระจายผลไม้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

กระทรวงคมนาคม วงเงิน 212.10 ใช้ในโครงการลดค่าใช้จ่ายตามมาตรการลดค่าบริการขึ้นลง ท่าอากาศยานและดครงการจัดรถโดยสารรับแรงงานไทยกลับจากต่างประเทศ

สำนักงบประมาณวงเงิน 2,700 ล้านบาท สำหรับการจ้างงานประชาชนที่ได้รับผลกระทบระยะเวลา 6 เดือน

งบประมาณรายจ่ายประจำวงเงิน 7,500 ล้านบาทสำหรับชดเชยมาตรการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ

นอกจากนี้ยังมีงบประมาณของหน่วยงานจำนวน 41,124 ล้านบาท แบ่งเป็น มาตรการลดค่าน้ำ 3% ระยะเวลา 3 เดือนวงเงิน 330 ล้านบาท คืนเงินประกันมิเตอร์น้ำ 2,934 ล้านบาทลดค่าไฟฟ้า 3% ระยะเวลา 3 เดือนวงเงินรวม 5,160 ล้านบาท และค่าประกันมิเตอร์ไฟฟ้า วงเงิน 32,700 ล้านบาท

สำหรับมาตรการด้านภาษี ส่งผลให้รัฐเสียงบประมาณ 83,951 ล้านบาท ดังนี้ มาตรการภาษีสนับสนุนการอบรม ลดหย่อนค่าห้องพัก 2 เท่า วงเงิน 87 ล้านบาท

มาตรการภาษีเพื่อลดภาระดอกเบี้ยจ่ายของผู้ประกอบการตามมาตรการสินเชื้อดอกเบี้ยต่ำของธนาคารออมสิน โดยนำดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นระหว่างเม.ย.-ธ.ค.2563 หักรายจ่ายได้ 1.5 เท่า วงเงิน 500 ล้านบาท

มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงกิจการโรงแรมลดหย่อนภาษีได้ 1.5 เท่าของรายจ่ายจริง วงเงิน 2,900 ล้านบาท

มาตรการส่งเสริมเสถียรภาพของการจ้างงานในสถานการระบาดของโควิด-19 โดยการนำรายจ่ายที่เป้นค่าจ้างของเดือนเม.ย.-ก.ค.ให้แก่ลูกจ้างที่เงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท/เดือนไปหักรายจ่ายได้ 3 เท่าวงเงิน 64,000 ล้านบาท

การลดอัตราและยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับหน้ากากาและวัตถุดิบที่นำมาใช้ผลิตสินค้าหน้ากาก วงเงิน 14 ล้านบาท

มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุการบริจาคเพื่อแก้ปัญหาโควิด-19 โดยสามารนำเงินบริจาคเข้ากองทุนหักลดหย่อนภาษีได้วงเงิน 150 ล้านบาท

มาตรการลดอัตราภาษีสวรรพสามิต สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินไอพ่น เครื่องบินในประเทศลดเหลือ 0.20 บาท/ลิตร เครื่องบินระหว่างประเทศลดเหลือ 0 บาท/ลิตร วงเงินรวม 2,300 ล้านบาท

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน