ทั่วโลกต่างตื่นเต้นกับการค้นพบครั้งใหม่บนดาวศุกร์ ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้ว่าอาจมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ เราอาจไม่ได้อยู่คนเดียวในกาแล็กซีนี้ ลองจินตนาการกันว่าถ้ามีจริง สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นจะเป็นยัง?

เมื่อวาน (14 ก.ย.) ทีมนักดาราศาสตร์ แห่งสหราชอาณาจักร เผยถึงการค้นพบโมเลกุลของ “ฟอสฟีน” ซึ่งอาจจะบ่งชี้ถึงความเป็นไปได้ที่อาจจะเกิดขึ้นจากสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในชั้นบรรยากาศของดาวศุกร์

ดาวศุกร์

บนโลกนั้น “ฟอสฟีน” มีสถานะเป็นแก๊สที่ไม่มีสี ไวไฟ กลิ่นฉุนคล้ายกระเทียมหรือปลาเน่า และเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตเป็นอย่างมาก

แต่ที่น่าสนใจกว่านั้น เนื่องจากบนโลกนั้น ฟอสฟีนมีแหล่งกำเนิดเพียงแค่ 2 แหล่งเท่านั้นคือ เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจากอุตสาหกรรม หรือเกิดขึ้นจากสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปราศจากออกซิเจน

เมื่อประเมินถึงกลไกตามธรรมชาติที่อาจจะผลิตฟอสฟีนได้บนดาวศุกร์ แล้วก็พบว่าแหล่งกำเนิดธรรมชาติของดาวศุกร์นั้น ไม่สามารถผลิตฟอสฟีนได้

การค้นพบ “ฟอสฟีน” นั้น ทำให้มีความหวังว่าดาวศุกร์นั้น อาจมีสิ่งมีชีวิตอยู่ก็เป็นได้

แต่การค้นพบครั้งนี้นั้น ยังไกลจากการยืนยันว่ามีสิ่งมีชีวิตบนดาวศุกร์ เนื่องด้วยสภาพบรรยากาศของดาวศุกร์ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการมีชีวิตอยู่ ทั้งยังไม่พบว่ามีสิ่งมีชีวิตใดบนโลกที่สามารถอยู่รอดในสภาวะเช่นนั้นได้

หากชั้นบรรยากาศของดาวศุกร์มีสิ่งมีชีวิตจริง เป็นไปได้ว่าสิ่งมีชีวิตบนดาวศุกร์นั้นอาจจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับสิ่งมีชีวิตใดๆ บนโลกที่เรารู้จัก

ฟอสฟีนบนชั้นบรรยากาศดาวอังคาร

แม้ขณะนี้ เราจะยังไม่มีหลักฐานถึงสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่อาศัยในดาวเคราะห์หรือดวงจันทร์สักดวง แต่นักวิทยาศาสตร์ยังคงมีความหวังว่า เราจะมีโอกาสพบสิ่งมีชีวิตในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งอย่างแน่นอน โดยที่เราอาจไม่คุ้นเคยมาก่อน และสิ่งนั้นอาจอยู่ในระบบสุริยะเดียวกันกับเรา

นักวิทยาศาสตร์ต่างไม่ลดละในความพยายามที่จะสำรวจ และค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลกซึ่งหลายๆ ครั้งก็เจอความเป็นไปได้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์ประกอบทางเคมีสำคัญที่เห็นการกำเนิดสิ่งมีชีวิตบนโลก ,เจอดาวเคราะห์ดวงอื่นที่มีลักษณะทางกายภาพต่างๆ คล้ายกับโลกมากขึ้น ,ความหลากหลายทางชีวภาพที่ค้นเจอบนโลก

ดาวพร็อกซิมา บี (Proxima b)

อย่างเมื่อปี 2562 ที่ผ่านมา หลังจากค้นพบ “ดาวพร็อกซิมา บี “ ซึ่งเป็นดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด อยู่ห่างเพียง 4 ปีแสงเท่านั้น เพราะพร็อกซิมา บี มีมวล 1.17 เท่าของมวลโลก ตั้งอยู่ในเขตเอื้ออาศัยอยู่ได้ และใช้เวลาโคจรรอบดาวฤกษ์เป็นเวลา 11.2 วัน ซึ่งดาวดวงนี้กลายเป็นความหวังของบรรดานักดาราศาสตร์ว่าอาจมีสิ่งมีชีวิตอยู่

แต่ต้องฝันสลาย เมื่อผลการศึกษาล่าสุดพบว่า พลังงานที่ลุกจ้าจากชั้นบรรยากาศของดาวฤกษ์ใกล้เคียงได้แผดเผาทำลายชั้นโอโซนของดาวนี้ไปจนหมด จนทำให้ดาวดวงนี้ส่องสว่างจนสามารถสังเกตเห็นด้วยตาเปล่าได้

ดาวอังคาร

และในปีเดียวกันยังมีอดีตหัวหน้าคณะวิทยาศาสตร์ประจำโครงการทดลอง “ลาเบลด์ รีลีส” ครั้งที่ส่งยานไวกิ้ง แลนเดอร์ส ลงไปยังพื้นผิว “ดาวอังคาร” เมื่อ 43 ปีก่อน ได้เปิดเผยความลับของนาซาว่า หนึ่งในการทดลอง เพื่อค้นหาร่องรอยของสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคารนั้นให้ผลเป็นบวกอย่างน้อยครั้งนึง แต่ครั้งต่อมากลับให้ผลลัพธ์ในทางตรงกันข้าม นาซาจึงได้บันทึกผลไว้เพียงเป็นการ “ค้นพบร่องรอยของกระบวนการทางเคมีที่คล้ายคลึงกับกระบวนการของสิ่งมีชีวิต”

ทั้งเมื่อยิ่งสำรวจ ก็ยิ่งพบหลักฐานแวดล้อมบ่งชี้มากขึ้นว่ามีสิ่งมีชีวิตบางลักษณะอยู่หรือเคยอยู่บนดาวอังคาร ทางอดีตหัวหน้าคณะวิทยาศาสตร์ กับเพื่อนร่วมทีมจึงได้เรียกร้องให้นาซาติดตั้งอุปกรณ์ไว้กับยานโรเวอร์ เพื่อทำการทดสอบอีกรอบ

พูดเลยว่าจากการค้นพบที่ผ่านมาตลอดจนถึงครั้งนี้ มีหลายครั้งที่ทำให้เรามีหวังว่าไม่ได้มีเพียงเราที่อาศัยอยู่ในกาแล็กซีนี้อย่างโดดเดี่ยว

นักวิทยาศาสตร์ต่างค้นหาสิ่งมีชีวิตที่อยู่นอกโลกอย่างไม่ลดละ มาลองคิดเล่นๆ กันดูนะว่า ถ้าเกิดมีสิ่งมีชีวิตจริงๆ สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นจะแตกต่างกับเราขนาดไหน แล้วจะมีรูปร่าง ลักษณะอย่างไร คิดแค่นี้ก็ตื่นเต้นแล้ว

ขอบคุณที่มา : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน