เราคงเคยได้ยินใครๆพูดกันว่า “เกษตรกร” คือกระดูกสันหลังของชาติ ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนแรงงานในภาคเกษตรมากถึง 13.5 ล้านคน หรือคิดเป็น 35 เปอร์เซ็นต์ของประชากร สินค้าการเกษตรที่ประเทศไทยมักนิยมปลูกคือ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง อ้อย ซึ่งภาคเกษตรกรรมถือได้ว่ามีความจำเป็นต่อเศรษฐกิจในประเทศทั้งจำนวนประชากรใช้แรงงานในส่วนนี้รวมไปถึงธุรกิจด้านส่งออกในระดับนานาชาติ

ภาคเกษตรปี'60 จะฟื้นตัว อากาศ ตลาดโลก "หนุน" - มติชนสุดสัปดาห์

ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้เขียนบทความที่มีชื่อว่า “บทสรุป เกษตรกรมือใหม่” ” 4 เดือน กับกำไร 100 บาท บนพื้นที่สองไร่ กับการปลูกข้าวโพดแบบเกษตรวิถีไทย” โดยผู้เขียนได้เล่าว่าตนเป็นอีกคนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เชื้อไวรัสโควิด-19 เขาจึงมีความจำเป็นต้องกลับมาอยู่ที่บ้านเกิด เพื่อที่จะเริ่มต้นทำการเกษตรหารายได้เลี้ยงครอบครัวต่อไป

เขาได้เริ่มทำการวางแผนและเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่จำนวน 2 ไร่ครึ่ง เมื่อต้นมิถุนายนที่ผ่านมาเจ้าของโพสต์ยังระบุอีกว่าเขาได้ทุ่มเท แรงกาย แรงใจในการปลูกและดูแลข้าวโพดให้มีคุณภาพที่ดีที่สุดเพื่อที่จะขายได้ในราคาสูงในอนาคต

เขาลงทุนทำไร่ข้าวโพดเป็นเงิน 10,500 บาทเมื่อต้นเดือนมิถุนายน และในวันที่ 25 ตุลาคม เขาได้นำข้าวโพดไปขายได้เงินมาทั้งสิ้น 10,600 บาท ได้กำไรเพียง 100 บาท ในระยะเวลา 4 เดือน ซึ่งนั่นหมายความว่าการขายข้าวโพดของเจ้าของโพสต์ครั้งนี้มีมูลค่าเพียง 12.50 บาทต่อไร่ และเกษตรกรจะได้รายได้เพียงวันละ 0.41 บาท ในขณะที่ขั้นแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 200 บาท

จากเหตุการณ์ดังกล่าวจึงเกิดการตั้งคำถามจากเจ้าโพสต์ว่า ” คุณปล่อยให้เกษตรกรไทย ต้องเผชิญภาวะวิกฤตแบบนี้ได้ยังไง คุณยังคงส่งเสริมรูปแบบเกษตรในรูปเดิม ๆ ที่คุณมาถ่ายรูปแล้วก็จากไป ว่าคุณสร้างผลงานให้เกษตรกรมีงานทำแล้ว ทั้งที่มันไม่สร้างรายได้เพียงแค่ 0.41 บาท ต่อไร ต่อวัน คุณว่าเงินรายได้เพียงเท่านี้ มันทำให้ ชีวิตของเกษตรกรดีขึ้นบ้างไหม ????? เลิกส่งเสริม วิถีเกษตรกร ตามเอกสารสวยหรูซักที ถ้าคุณยังไม่เคย ” เหนื่อยจริง เจ็บจริง “ และยังทิ้งท้ายบทความนี้อีกว่า “ผมเองเตรียมทางไว้ให้ตัวเองแล้ว และหลังจากนี้ อะไรก็ตามที่เป็นการส่งเสริมจากหน่วยงานราชการ ผมเลือกที่จะหันหลังให้ “ พร้อมทิ้งท้ายไว้อีกว่า หลังจากนี้ 6 เดือน เขาจะนำการเกษตรแบบยั่งยืนมาแสดงให้ทุกคนได้ชมกัน

จากโพสต์ดังกล่าวก็ได้มีชาวเน็ตออกมาแสดงความคิดเห็นมากมาย บ้างก็ว่าการปลูกเกษตรต้องใช้เวลาและความอดทน ต้องคอยปรับปรุงและพัฒนาไปเรื่อยๆ

บางก็ว่าเป็นโฆษณาชวนเชื่อ เป็นระบบที่เอาเปรียบเกษตรกร ผู้ที่ได้ประโยชน์ที่แท้จริงนั้นคือโรงงานผลิตปุ๋ย ร้านค้าต่างๆ พ่อค้าคนกลาง สิ่งที่ดูจะเป็นปัญหาเรื้อรังในประเทศและการช่วยเหลือจากรัฐนั้นยังไม่ได้เข้าใจปัญหาของชาวเกษตรกรเท่าที่ควร

อย่างไรก็ตามถ้าเราเทียบสัดส่วนของค่า GDP ในประเทศจะพบว่าความสำคัญของภาคเกษตกรรมได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อย้อนกลับไปเมื่อปี 2010 ภาคเกษตรกรรมของไทยมีสัดส่วนประมาณ 7.3% ของ GDP และลดลงเหลือ 5.7% ในปี 2019

5 ปัญหาหลักของเกษตกร

1.ประเทศไทยประสบปัญหาภูมิอากาศแปรปรวนรุนแรงที่สุดในรอบ 40 ปี โดยกรมอุตุวิทยาได้คาดการณ์ว่าประเทศไทยจะได้รับปริมาณฝนที่ลดลง และยังมีอีก 43 จังหวัดที่จะได้รับผลกระทบจากภัยแล้งโดยตรงมูลนิธิชีวิตไท - บทความขวัญแผ่นดิน - “ภัยธรรมชาติ” ภัยคู่กายเกษตรกร

2. เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง เมื่อปี 2018 ปรเทศไทยมีเนื้อที่ทำการเกษตรทั้งหมดจำนวน 149 ล้านไร่ แต่พื้นที่ดังกล่าวเป็นของเกษตรกรเองเพียง 72 ล้านไร่ พูดง่ายๆก็คือว่ามีเกษตรกรเกินครึ่งที่จำเป็นต้องจ่ายค่าเช่าที่ดินเพื่อทำการเกษตร ทำให้เกษตรกรต้องแบกภาระรับผิดชอบกับต้นทุนที่สูงมากกว่าปกติ

พบเกษตรกรแห่คืนที่ดิน ส.ป.ก. 10% เพราะไม่ถนัดกับอาชีพที่ส่งเสริม - ศูนย์ข้อมูล&ข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ)

3. พ่อค้าคนกลางเป็นคนกำหนดราคาสินค้าเกษตร จึงทำให้เกษตรกรไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ราคาผลผลิตที่ออกมาจึงไม่เป็นธรรมขึ้นๆลงๆตามอำนาจของพ่อค้าในขณะที่เกษตรกรต้องแบกภาระราคาต้นทุนที่เท่าเดิม

4.เกษตรกรต้องเจอพบปัญหาต้นทุนการผลิตที่พุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งจากด้านพลังงาน ปุ๋ย ยากำจัดแมลง และแรงงาน และแม้ว่าปัจจุบันมีแนวโน้มว่าผลผลิตทางการเกษตรจะมีราคาดี แต่ราคาที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ไม่แน่ว่าจะส่งผลประโยชน์กลับมาที่เกษตรกร รวมทั้งราคาอาหารที่แพงขึ้นก็กลายเป็นค่าใช้จ่ายของเกษตรกรที่สูงขึ้น และส่งผลลบต่อคนเมืองเช่นกัน

ก.เกษตรเดินหน้าโครงการเยียวยาเกษตรกร เผย 3 เดือนจ่ายไปแล้วกว่าแสนล้าน - workpointTODAY

5. รายได้ของเกษตรกรมีจำนวนน้อยจนเกิดไป ทำให้ไม่สามารถปลดหนี้และตั้งเนื้อตั้งตัวได้ โดยในปี 2018 รายได้ของประชากรต่อคนเฉลี่ยอยู่ที่เดือนละ 5,000 บาท ในขณะที่รายได้ของร้านค้าเกษตร หรือบุคคลภายนอกภาคเกษตรอยู่ที่เดือนละ 16,000 บาท แต่ทว่าจำนวนหนี้สินของเกษตรกรไทยเฉลี่ยแล้วตกอยู่ที่ 195,000 บาทต่อครอบครัว ซึ่งหมายความว่าชาวเกษตรกรทำงานถึง 39 เดือน ถึงจะหารายได้มาปลดหนี้ได้

วิธีลงทะเบียน รับเงิน 5,000 บาท เยียวยา โควิด กรอกแค่ไม่กี่ข้อ

ขอขอบคุณที่มา เฟซบุ๊ก Yanapon Chaiwootti,longtunman.com,kasikornresearch.com

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน