คนลำปางตื่นตา ปรากฎการณ์ เมฆขอบตรง ทั่วฟ้าจังหวัด ผู้เชี่ยวชาญ อธิบาย เกิดขึ้นได้อย่างไร เผยในไทย เคยเกิดขึ้นแล้ว ในช่วงฤดูหนาว

เกาะติดข่าว กดติดตามไลน์ ข่าวสด
เพิ่มเพื่อน

วันที่ 26 ธ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในสังคมออนไลน์ จ.ลำปาง มีการแชร์ภาพเมฆ ในลักษณะที่แปลกตา โดยเพจ เทศบาลนครลำปาง เว็บเพจ โพสต์ภาพเมฆ พร้อมเขียนข้อความว่า วันนี้ (26 ธันวาคม 2563) ท้องฟ้าจังหวัดลำปาง เกิดปรากฏการณ์ “เมฆขอบตรง” (Straight-edged Cloud) ซึ่งเกิดจากอากาศเย็นและแห้ง (ฝั่งไม่มีเมฆ) ปะทะกับ อากาศอุ่นและชื้น (ฝั่งมีเมฆ) ทำให้เกิดรอยต่อระหว่างอากาศเย็น-อากาศอุ่น ตามขอบเมฆ เมฆคือกลุ่มของหยดน้ำ ดังนั้น ฝั่งมีเมฆคือฝั่งที่อุ่นและชื้น

ขณะที่ ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเมฆ เคยโพสต์อธิบายถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ในเฟซบุ๊ก ‘ชมรมคนรักมวลเมฆ’ ความว่า

1) ชื่อเรียก : มีหลายชื่อ เช่น straight-edged cloud (เมฆขอบตรง) หรือ cloudbank แต่ถ้ากล่าวถึงปรากฏการณ์ อาจเรียกว่า cutting phenomenon (CP)

2) กลไกการเกิด : อากาศเย็นและแห้ง (ฝั่งไม่มีเมฆ) ปะทะกับ อากาศอุ่นและชื้น (ฝั่งมีเมฆ) ทำให้เกิดรอยต่อระหว่างอากาศเย็น-อากาศอุ่น ตามขอบเมฆ (อาจจำง่ายๆ ว่า เมฆคือกลุ่มของหยดน้ำ ดังนั้น ฝั่งมีเมฆคือฝั่งที่อุ่นและชื้น)








Advertisement

3) ข้อสังเกต : ในประเทศไทย ปรากฏการณ์นี้เคยเกิดมาก่อนแล้วมากกว่า 1 ครั้ง เช่น ในช่วงฤดูหนาว เช่น 27 มกราคม 2554 และในช่วงฤดูอื่น เช่น 18 กรกฎาคม 2558

4) ระวัง! มีผู้อธิบายไม่ถูกต้องว่า “ปรากฏการณ์นี้เกิดจาก cold front (แนวปะทะอากาศเย็น) หรือ warm front (แนวปะทะอากาศอุ่น)” – คำอธิบายดังกล่าวนี้ แม้จะมีลักษณะทางกายภาพใกล้เคียงกับกลไกในข้อ 2 แต่การเรียกว่า cold front และ warm front ไม่ถูกต้อง เพราะแถบเขตร้อน (อย่างประเทศไทย) ไม่นิยมเรียกว่า แนวปะทะอากาศ (front) ดังเช่นที่เกิดในแถบละติจูดกลาง (mid-latitude)

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน