หลังองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติประกาศอันดับ ชาวเน็ตแห่เปรียบเทียบอันดับ ย้อนหลัง 7 ปี ชี้อันดับไทยตกต่ำไม่หยุดตั้งแต่ รัฐประหารปี 2557

Twitter

หลังจาก องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ ประกาศคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (ซีพีไอ) ปี 2020 ไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 104 จาก 180 ประเทศ ชาวเน็ตในโซเชียลมีเดียต่างพากันวิพากษ์วิจารณ์ โดยมีชาวเน็ตในแพลตฟอร์ม ทวิตเตอร์ ออกมาแสดงความคิดเห็น พร้อมอ้างอิงดัชนีย้อนหลังไปถึงปี พ.ศ.2557 เพื่อนำมาเปรียบเทียบ โดยกล่าวว่า หลังเกิดรัฐประหาร พ.ศ.2557 ประเทศไทยก็มีดัชนีการรับรู้การทุจริตที่ตกต่ำขึ้นเรื่อย ๆ

เมื่อวันที่ 28 ม.ค.ที่ผ่านมา องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International หรือ TI)ได้ประกาศคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต หรือ CPI (Corruption Perceptions Index : CPI) ประจำปี 2020 (พ.ศ. 2563) จากจำนวน 180 ประเทศทั่วโลก

โดยประเทศเดนมาร์กและประเทศนิวซีแลนด์ ยังครองตำแหน่งอันดับที่ 1 ของโลก ด้วยคะแนนสูงสุด 88 คะแนน ขณะที่ประเทศไทยได้ 36 คะแนน เท่ากับปี 2019 (พ.ศ. 2562) จัดอยู่ในอันดับที่ 104 ของโลก ลดอันดับลงมาจากปี 2019 ซึ่งอยู่ที่ 101 ของโลก

ต่อมาใน วันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2564 นาย อนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม รับทราบแล้วว่า ประเทศไทยมีคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต หรือ CPI ประจำปี 2020 อยู่ในอันดับ 104 ของโลกจาก 180 ประเทศ ตามประกาศขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (TI) โดยในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา อันดับของไทยถูกปรับขึ้นลงตามปัจจัยที่ผันแปรในแต่ละปี เช่น แหล่งข้อมูลที่สำรวจ หรือจำนวนประเทศ เป็นต้น

อย่างไรก็ตามในโซเชียลมีเดีย มีชาวเน็ตจำนวนหนึ่งที่วิพากษ์วิจารณ์ว่า ดัชนีการรับรู้การทุจริต ของไทยนั้น มีความตกต่ำลงเรื่อยมา ตั้งแต่เกิดกรณีรัฐประหาร ปี พ.ศ.2557 โดยอ้างอิงข้อมูล ดังนี้

ข้อมูลโดย : Voice TV








Advertisement

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน