ครูไทยสุดเจ๋ง เล่าชีวิตดูงานต่างแดน เผยนำมาพัฒนาประเทศได้มากมาย ย้ำ ใครไปแล้วมองว่า’ไทยเปลี่ยนไม่ได้’ เพราะอ้างว่าบริบทสังคมต่างกัน ก็ไม่ควรไปดูงาน

Aus Ed

เมื่อวันที่ 19 เม.ย.64 โซเชียลมีเดียเฟซบุ๊กมีการแชร์ โพสต์ของครูชาวไทยคนหนึ่ง ที่มีประสบการณ์ไปแลกเปลี่ยนดูงานในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งถือเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องคุณภาพการศึกษาอย่างมาก และประสบการณ์ในครั้งนั้น ทำให้ครูคนดังกล่าว รู้สึกตกตะลึงกับความแตกต่างระหว่างระบบการศึกษาของไทยกับออสเตรเลียอย่างมาก ทั้งยังทำให้เห็นปัญหาทางการศึกษาของประเทศไทยมากยิ่งขึ้น

ครูชาวไทยคนดังกล่าว ได้โพสต์ถึง การศึกษาในโรงเรียนของไทย สร้างภาระกดทับและซับซ้อนเกินจำเป็นให้แก่ครู และทำให้ครูไม่สามารถเต็มที่กับการสอนได้ ทั้งยังมีระบบระเบียบของไทยที่ควรนำออกจากระบบการศึกษา เพราะเป็นอุปสรรคขัดขวางการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสนับสนุนด้านการศึกษาที่สามารถทำได้ทันทีในหลาย ๆ เรื่อง โดยมีการระบุข้อความ ดังนี้

ครูทิว ธนวรรธน์ สุวรรณปาล

“จะเล่าความช็อค ความว้าว และความเด๋อของครูไทยอย่างผมที่ไปเป็นครูแลกเปลี่ยนที่ Australia ช่วงเวลาสั้นๆ ในโครงการ Australia-ASEAN BRIDGE School Partnerships Project 2018 ตัดตอนการ Work Shop ที่ Sydney ไปที่โรงเรียน Mt.St.Patrick College เมือง Murwillumbah ทางตอนเหนือของ NSW

พอมาถึงตอนเช้า ประมาณ 08.00 – 08.30 ทุกคนจะมายืนมุงอ่าน Daily Bulletin ที่ผู้ช่วยครูใหญ่ ทำสรุปข้อมูลที่จำเป็นในการปฏิบัติงานประจำวันไว้ “เซ็นต์ชื่อ ลงเวลางานตรงไหน?” ผมถามครูคู่บัดดี้ “เซ็นต์ทำไม ยูเซ็นแค่ตอนจะออกไปข้างนอกระหว่างวันถ้าจำเป็น กับตอนกลับเข้ามา ไปกลับไม่ต้องเซ็นต์” อ้าวแล้ว จะรู้ได้ไง ใครมาไม่มาทำงาน “ทุกคนก็ต้องมาทำงานอยู่แล้วมั้ย? ยกเว้นยูไม่มา ยูจะลาค่อยบอกผู้ช่วยครูใหญ่” เช็ดโด้!

Study Aus

แน่นอน ไม่มีเข้าแถว เข้าโฮมรูม 08.50 น. ครูประจำชั้นเช็คชื่อ อ่าน Agenda ของโรงเรียนจากอีเมล09.00 เข้าเรียนคาบแรก หนึ่งวัน แบ่งเป็น 6 คาบ สองคาบแรก คาบละ 60 นาที พัก เช้า 20 นาที คาบ 3-4 คาบละ 50 นาที พักกลางวัน 50 นาที บ่ายอีกสองคาบ คาบละ 40 นาที วันอังคาร บ่ายไม่มีเรียน ทุกคนต้องเข้าคลับกีฬา วันพฤหัสคาบ 3 มี Assembly/Meetings บ่ายสามกว่า กลับบ้าน!

วันแรก พบครูใหญ่ ผมจัดเต็มใส่สูท ผูกไทไปอย่างดี ภาพตัดไปที่ Mr.Grant บัดดี้ผม ใส่เชิ้ตแขนสั้น กางเกงขาสามส่วน รองเท้ากีฬา ครูใหญ่ซึ่งเป็นคนเดียวในโรงเรียนที่ผูกไททุกวัน กับเชิ๊ตแขนสั้นทุกวัน กล่าวกับผมว่า “คุณแต่งตัวเป็นทางการเกินไปนะ ใส่สบายๆก็ได้”

ผมถามบัดดี้ผมว่า “งานเอกสาร (Paper work) ยู เยอะไหม ต้องทำอะไรบ้าง “เยอะสิ” เขาตอบ “ไหนจะทำเอกสารการสอน ตรวจให้คะแนนนักเรียน ทำรายงานประเมินผู้เรียน เยอะแยะ ทำไม่ทันเลย” “แล้วงานบริหารจัดการล่ะ ยูต้องทำไหม?” “ให้ฝ่าย Admin ทำสิ ยูเป็นครูนะ ครูเรามีแค่ทีมดูแลวิชาการ ดูแลนักเรียน (ใช้คำว่า Student Well-Being) ประจำบ้าน กับ Staff Confidence แค่นั้น ที่เหลือยูทำหน้าที่สอนไปให้เต็มที่” “ที่ไทย ครูผู้ชายต้องเฝ้าโรงเรียนตอนกลางคืนด้วยนะ” “ยูไม่จ้าง Security เหรอ ทำไมครูต้องไปเฝ้าโรงเรียน บ้าไปแล้ว!”

Sai overseas

นักเรียนห้องละ 25 คน นักเรียนความต้องการพิเศษจะมีครูการศึกษาพิเศษมานั่งประกบทุกครั้งที่เรียนร่วม มีแผนกการศึกษาพิเศษเฉพาะในโรงเรียน นักเรียนทุกคนมี Laptop HP และใช้ทำงานในชั่วโมงได้ทุกคาบ รวมอยู่ในค่าเทอมโรงเรียน ผู้ปกครองยินดีจ่ายเพราะถูกกว่าตลาดมาก แน่นอน เมื่อครูถาม นักเรียนยกมือตอบกันพรึ่บ เวลาทำงานมีปัญหาก็ยกมือค้างไว้ รอครูเห็น หรือคุยกับเพื่อนเสร็จ มีคำถามครูก็จะชวนถกประเด็นนั้นกันทันที

วันพฤหัสบดี มีงาน Open House ให้ผู้ปกครองนักเรียนประถมเข้าเยี่ยมชมโรงเรียนหลังเลิกเรียน เลิกงาน เป็นวันเดียวที่ทุกคนผูกไทเป็นเพื่อนผม งานจัดตอนเย็น ถึงหนึ่งทุ่ม วันศุกร์ ครูใหญ่ (ในชุดเสื้อยืด กางเกงขาสั้น หมวกแก็ปสีขาว) มาชวนผมไปทัศนศึกษาที่สวนสัตว์กับนักเรียน Grade 7 ให้ผมไปเปลี่ยนเป็นชุดพร้อมลุย ครูใหญ่เป็นคนโทรเช็คกับผู้ปกครองเองทุกคนที่นักเรียนลืมเอาใบขออนุญาตมา และนั่งข้างผมบนรถบัสกับนักเรียนที่แหกปากร้องเพลง Shawn Mendes อยู่ข้างหลังนั่นแหละ

มติชน

ไปถึงเขาไม่ได้มาดูจิงโจ้ แต่มาเล่น Tree Top Challenge! มีเจ้าหน้าที่มาสอน safety ครูและครูใหญ่ ก็แบ่งกันปีนไปกับเด็ก”ที่ไทย ไม่น่าจะยอมให้เด็กเล่นพวกนี้หรอก” ผมนึกถึงเวลาพานักเรียนไปค่ายลูกเสือ จะครูเอย ผู้ปกครองเอยเป็นห่วงจะเป็นจะตาย “เอาจริงๆคงไม่พามาทำอะไรแบบนี้เลย” “เด็กยูจะเติบโต พึ่งพาตัวเองได้ยังไงกัน?” เป็นคำถามที่จุกมาก แต่ก็เขาก็ไม่ได้บังคับเด็ก คนไหนไม่ไหวก็ไม่เป็นไร ไหวแค่ไหนก็แค่นั้น ใครจะไปให้สุดก็เอาเลยลูก!

มติชน

วันเสาร์อาทิตย์ ผมไปอยู่กับหัวหน้าหมวด HSIE (สังคมมนุษย์และสิ่งแวดล้อมของมัน) เป็นบ้านไร่ ระหว่างขับรถไปเที่ยว ผมเปิดเช็ค Line โรงเรียน มีงานที่โรงเรียนพอดี น่าจะเป็นวันรับสมัครนักเรียนช่วงปลายมีนาคม ผมเลยอวดหัวหน้าว่า นี่โรงเรียนไอมีกิจกรรมด้วยนะวันนี้ พร้อมเปิดรูปครูมาทำงานให้ดู

“นี่เสาร์อาทิตย์ยูทำงานกันด้วยเหรอ ไม่พักบ้างเลยหรือไง? แล้วปิดเทอมยูเมื่อไหร่?” “เมษายน” ผมตอบ “แต่เดี๋ยวก็ต้องมาจัดงานบวชเณรฤดูร้อน อยู่เวรโรงเรียน หลังสงกรานต์ก็รายงานตัวนักเรียน แก้ผลการเรียน สอนปรับพื้นฐาน ต้นพฤษาคม ก็มาทำงานละ” “นั่นมันเรียกปิดเทอมที่ไหนเล่า ยูต้องไปๆมาๆโรงเรียนตลอดเลย เอาเวลาที่ไหนไป Refresh ตัวเอง แล้วยูมีพักร้อนมั้ย?” “ไม่มี” “เค้าว่าครูมีปิดเทอมแล้ว” ผมถามหัวหน้าว่า ถ้ามีเด็กตก สอบไม่ผ่าน ติด F ทำยังไง ซ่อมแก้ยังไง “ไม่มี” หัวหน้าตอบนิ่งๆ “ยูอยู่กับเด็กทั้งเทอม ยูต้องมีวิธีสอนสิ ก่อนจะถึงวัดผลสุดท้าย”

มติชน

มีเวลาผมอยากเขียนถอดบทเรียนจริงจัง มีเรื่องราวอีกเยอะมาก ที่ไม่ได้กล่าวถึง ที่ผมได้เรียนรู้ และมันเปลี่ยนมุมมองผมไปก็เยอะ แม้เวลาผ่านไปจะสามปีแล้ว แต่ผมยังจำได้ทุกรายละเอียด ผมคิดว่าตัวเองมองเห็นความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนแปลงอยู่เดิมแล้ว การไปแลกเปลี่ยนกลับดันเพดานห้องเรียน โรงเรียนในฝัน ว่าจริงๆมันเป็นไปได้ ปัจจัยอะไรที่ไม่เหมือนกัน ก็มาแก้มาถอดรื้อกันทีละเรื่อง และมันทำให้กล้าฝันจริงๆว่าเรามีการศึกษาแบบนั้นได้ ส่วนผู้ใหญ่ที่บินไปดูงานเยอะแยะ แล้วพอกลับมาบอกว่า “ทำไม่ได้หรอก บริบทไม่เหมือนกัน” ทีหลังก็ไม่ต้องไปก็ได้”

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน