อ้วกแทบพุ่ง! สาวดูดนมไม่ขึ้น ลองตัดกล่อง เจอก้อนปริศนา สภาพสุดยี้ ทั้งที่หมดอายุปีหน้า หมอแล็บเผย กล่องนมอาจมีร่องรอยการรั่ว

สิ่งแปลกปลอมสามารถจะปนเปื้อนอาหารในช่วงต่าง ๆ ของกระบวนการผลิต ตั้งแต่ช่วงวัตถุดิบ การแปรรูป การบรรจุ และการขนส่ง ทำให้เกิดการร้องเรียนเป็นข่าวดังทุกวันนี้ ล่าสุด ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ KamAny Chongkewtrakul ออกมาโพสต์อุทาหรณ์การดื่มนมยี่ห้อดังพร้อมเตือนระวังเวลาจะกินอะไรให้ดูให้ดี ๆ

โดยระบุว่า ตนเองสั่งซื้อนมออนไลน์ จากบริษัทขายนมโดยตรง เมื่อเจาะนมดื่มก็ดูดไม่ขึ้นเหมือนดูดติดสิ่งแปลกปลอมจึงตัดสินใจใช้กรรไกรตัดเปิดกล่องดูก็พบความช็อกสุดขีด “ดูดนมแล้วดูดไม่ขึ้นเลยสงสัยว่ามีอะไรข้างในกล่อง พอตัดกล่องดูอ้วกแทบพุ่ง ทั้ง ๆ ที่หน้ากล่องเขียนหมดอายุเดือน 6 ปีหน้าเลยนะ”

ภาพจาก KamAny Chongkewtrakul

งานนี้ชาวเน็ตต่างพากันเข้ามาคอมเมนต์กันเป็นจำนวนมาก “เคยได้ยินมาว่าอยู่ที่การเก็บรักษาระหว่างจำหน่ายนะคะ ไม่ได้เสียหายจากทางโรงงาน” “ถ้าดูดขึ้นจะสยองกว่านี้ค่ะ” “นม UHT ที่ยังไม่เจาะหรือเปิดสามารถแช่เย็นหรือวางไว้ด้านนอกได้ครับ แต่ถ้ามีการเจาะหรือเปิดแล้วควรจะรีบทานให้หมดหรือเก็บไว้ในตู้เย็นเพื่อรักษาสภาพครับ” “บางครั้งบรรจุภัณฑ์อาจมีรอยรั่ว ทำให้อากาศเข้า”

ทางด้าน ทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน นักเทคนิคการแพทย์ชื่อดัง หรือที่รู้จักในชื่อหมอแล็บแพนด้าให้ความรู้ในเรื่องดังกล่าวผ่ายเพจเฟซบุ๊กว่า “ถ้าเจอแบบนี้ ส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากขั้นตอนการผลิต แต่มักจะเกิดจากกระบวนการขนส่งครับ บางทีการกระแทกแรง ๆ การโยน ทำกล่องตก หรือเอากล่องนมมาวางทับกันมากเกินไป มันจะทำให้กล่องมีรอยปริ รอยรั่ว ถ้าไม่สังเกตดี ๆ จะมองไม่เห็น พอเกิดรอยรั่วก็มีเชื้อจุลินทรีย์หรือเชื้อราต่าง ๆ เข้าไปเจริญเติบโต ทำให้นมเน่าเสียได้แบบที่เห็นนั่นล่ะครับ

ภาพจาก KamAny Chongkewtrakul

นอกจากนี้ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคออกมาเผย 5 วิธีแก้ปัญหาเมื่อเจอสิ่งปนเปื้อนในอาหาร ได้แก่

  1. ถ่ายรูปและเก็บตัวอย่างสินค้าไว้เป็นหลักฐาน กรณีมีใบเสร็จจากร้านค้าให้เก็บไว้เป็นหลักฐานด้วย
  2. ไปพบแพทย์ เพื่อตรวจร่างกาย และขอใบรับรองแพทย์ พร้อมเก็บใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาลไว้เป็นหลักฐาน
  3. นำหลักฐานทั้งหมดแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษที่สถานีตำรวจท้องที่ เพื่อเป็นหลักฐาน
  4. โทรแจ้งศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ (เบอร์โทรระบุไว้ที่ภาชนะบรรจุ) ซึ่งต้องคิดให้ดี ว่า เราต้องการให้บริษัทดำเนินการอย่างไร เพื่อขอให้แก้ไขปัญหา พร้อมชดเชย เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น
  5. ทำหนังสือยื่นข้อเสนอกับบริษัท ด้วยการบรรยายสรุปปัญหาที่พบ โดยส่งถึงประธานกรรมการบริหารหรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า และให้ระบุความต้องการที่ชัดเจนซึ่งเป็นความเสียหายของผู้บริโภค เช่น ขอเปลี่ยนสินค้า ขอเงินคืน ชดเชยค่ารักษาพยาบาล จ่ายค่าเสียเวลา ค่าขาดประโยชน์ และค่าใช้จ่ายในการติดต่อกับผู้ประกอบการ ให้ทำหนังสือชี้แจงเหตุของสิ่งผิดปกติและขอโทษต่อผู้เสียหายและสาธารณะ เป็นต้น

ขอบคุณที่มาจาก KamAny Chongkewtrakul หมอแล็บแพนด้า

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน