สสส.ลงพื้นที่แจงนับ คนไร้บ้าน ปี 66 “One Night Count” พร้อมกัน 77 จังหวัด เล็งจ้างงาน เพิ่มคุณภาพชีวิต ลดภาวะไร้บ้าน

“เราต้องนำคนไร้บ้าน กลับเข้าสู่สังคมปกติให้ได้มากที่สุด ก่อนที่พวกเขาจะกลายเป็นคนไร้บ้านถาวร”

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) พร้อมด้วยภาคเครือข่าย ลงพื้นที่แจงนับ สำรวจและเก็บข้อมูล คนไร้บ้านประจำปี 2566 ภายในคืนเดียว พร้อมกัน 77 จังหวัด เพื่อนำข้อมูลไปสร้างวิธีการนำคนไร้บ้านกลับสู่สังคมปกติ เพิ่มคุณภาพชีวิต สวัสดิการ หาที่อยู่อาศัย และการจ้างงาน

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการสสส. กล่าวว่า ความเปราะบางที่นำมาสู่การเป็นคนไร้บ้าน คือ เศรษฐกิจและครอบครัว จากการศึกษาโอกาสเกิดคนไร้บ้านหน้าใหม่เกี่ยวข้องทั้ง รายได้ รัฐสวัสดิการ พฤติกรรมการดื่ม ความพิการ การอยู่ในภาวะไร้บ้านเป็นเวลานาน ส่งผลต่อสุขภาพกาย และสุขภาวะทางจิต สถานการณ์สุขภาพคนไร้บ้านพบ สูบบุหรี่สูงถึง 55% ดื่มสุรา 41%

แต่ผู้เข้ารับบริการศูนย์พักพิงคนไร้บ้าน กลับมีอายุเฉลี่ยสูงกว่าคนไร้บ้านในพื้นที่สาธารณะ แสดงให้เห็นว่า “นโยบายที่อยู่อาศัยมีความสำคัญ และจากข้อมูล โครงการแจงนับคนไร้บ้าน เมื่อปี 62 พบว่า มีคนไร้บ้านทั่วประเทศ 2,719 คน แต่ในช่วงสถานการณ์โควิด ทำให้มีจำนานคนไร้บ้าน ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมา ” สสส. ร่วมกับมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย พัฒนาโครงการ “ที่อยู่อาศัยคนละครึ่ง”

โดยสสส.สนับสนุน 60 % คนไร้บ้านสมทบ 60 % ในอัตราค่าเช่า 1,700 – 2,200 บาท/เดือน โมเดลนี้ ต่อยอดโครงการนำร่อง “บ้านสวัสดิการที่อยู่อาศัยคนจนเมือง” ปรับพื้นที่ตึกร้าง ให้เป็นที่อยู่อาศัยราคาถูก โดย พม. และกทม.ระหว่างการศึกษา ให้คนไร้บ้าน หรือคนที่อยู่ในภาวะก้ำกึ่งต่อการไร้บ้าน สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตเสี่ยงจากภาวะไร้บ้านถาวร “คนไร้บ้าน” ต้องตั้งหลักชีวิตได้

นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวว่า กลุ่มคนไร้บ้าน เป็นกลุ่มประชากรที่สะท้อนให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำทางสังคมและสุขภาพ จำเป็นต้องมีการคุ้มครองทางสังคม และสร้างพลังทางสังคม

โดยการแจงนับคนไร้บ้าน มอบหมายให้ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 77 จังหวัด และเจ้าหน้าที่ส่วนกลาง กองคุ้มครองสวัสดิภาพและเสริมสร้างคุณภาพชีวิต ลงพื้นที่แจงนับ 1 คืน เพื่อนำฐานข้อมูลมาขับเคลื่อนนโยบายระดับพื้นที่ ระดับประเทศ เตรียมแผนผลักดันนโยบายการเข้าถึง สิทธิสุขภาพ สวัสดิการต่าง ๆ ศักยภาพเข้าถึงที่อยู่อาศัย และอาชีพ ออกแบบระบบการคุ้มครองดูแล และจัดบริการสวัสดิการสังคมอย่างตรงจุด

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน