อย่าส่งอิโมจิมั่ว! ศาลแคนาดา ตัดสินให้อิโมจิกดไลก์ เปรียบเสมือนยอมรับข้อตกลง ทำบริษัทอ่วมโดนสั่งปรับ 2.1 ล้านบาท

อย่าส่งอิโมจิสุ่มสี่สุ่มห้าเด็ดขาด ล่าสุด สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงาน เกษตรกรชาวแคนาดาคนหนึ่งได้รับคำสั่งให้จ่ายเงินมากกว่า 82,000 ดอลลาร์แคนาดา (ราว 2,163,103 บาท) ในความเสียหายจากความสับสนของอิโมจิ ‘ยกนิ้วโป้ง 👍’ หรือที่รู้จักกันว่าอิโมจิกดไลก์

คริส อัคเตอร์เจ้าของบริษัทเกษตรกรรมในสวิฟท์ เคอร์เรนท์ รัฐซัสแคตเชวันได้ส่งอิโมจิยกนิ้วโป้งแทนการยืนยันด้วยคำพูดในการตอบกลับภาพถ่ายสัญญาส่งมอบพืชแฟลกซ์หรือปอในเดือนพฤศจิกายนที่เคนท์ มิกเกิลโบโรห์ ผู้ซื้อธัญพืชส่งมาให้เขาในปี ค.ศ. 2021 แต่หลายเดือนต่อมา เมื่อถึงเวลาส่งมอบ ผู้ซื้อซึ่งทำธุรกิจกับคริส อัคเตอร์มาหลายปี ไม่ได้รับปอเลย ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น ราคาพืชผลก็เพิ่มขึ้น

ในระหว่างการพิพากษามีการโต้เถียงกันเกี่ยวกับความหมายของอีโมจิ เคนท์ มิกเกิลโบโรห์ ผู้ซื้อแย้งว่าอีโมจิดังกล่าวสื่อถึงการยอมรับเงื่อนไขของสัญญาทางข้อความ ขณะที่คริส อัคเตอร์กล่าวว่าเขาใช้อิโมจิชูนิ้วโป้งเพียงเพื่อระบุว่า เขาได้รับสัญญาและข้อความของผู้ซื้อแล้ว แต่ไม่ได้ระบุว่า ตกลง

ทั้งนี้ จุดหนึ่งในการพิจารณาคดี ทนายความของคริส อัคเตอร์คัดค้านการถามค้านในความหมายของการชูนิ้วโป้ง โดยโต้แย้งว่าลูกความของเขา “ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านอิโมจิ” ผู้พิพากษาทิโมธี คีน ซึ่งครั้งหนึ่งเคยใช้คำจำกัดความของสัญลักษณ์ใน dictionary.com กล่าวในคดีนี้ว่า“นำฝ่ายต่าง ๆ ไปสู่การค้นหาสิ่งที่เทียบเท่าในคดีต่าง ๆ จากอิสราเอล รัฐนิวยอร์ก และศาลบางแห่งในแคนาดา ฯลฯ เพื่อค้นพบว่า 👍 อิโมจิยกนิ้วโป้งหมายถึงอะไร”

“ศาลแห่งนี้รับทราบโดยทันทีว่า 👍 อิโมจิไม่ใช่วิธีดั้งเดิมในการ ‘เซ็น’ เอกสาร แต่อย่างไรก็ตาม ภายใต้บริบทของสังคมปัจจุบัน อิโมจิยกนิ้วโป้งก็ถือเป็นวิธีในการสื่อถึงการยินยอมและสื่อถึงจุดประสงค์ของ ‘ลายเซ็น’ ผลการตัดสินของคดีความนี้จะนำไปสู่การตีความหมายใหม่ของอิโมจิอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอิโมจิ ‘กำปั้นกระแทก 👊’ และ ‘จับมือ 🤝’ เพราะอิโมจิเหล่านี้ก็มีความหมายว่าตกลงและยอมรับเช่นกัน”








Advertisement

สรุปได้ว่า ผู้พิพากษาของรัฐซัสแคตเชวันตัดสินให้อิโมจิยกนิ้วโป้ง ใช้ได้เช่นเดียวกับลายเซ็น จึงถือเป็นการยอมรับข้อตกลงในสัญญาโดยให้เหตุผลว่าศาลจำเป็นต้องปรับคดีให้เข้ากับวิธีการสื่อสารของผู้คนในยุคปัจจุบัน นอกจากนี้ ผู้พิพากษากล่าวปิดท้ายว่า “ศาลจะต้องพร้อมที่จะเผชิญกับความท้าทายใหม่ ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้อิโมจิ”

ทั้งนี้ ยังมีกรณีการกดอิโมจิว้าวแล้วหน้าร้าวไม่รู้ตัวไปหลายคนอีกด้วยจนเกิด #ไม่สนิทอย่าติดว้าว ดังคำพูดที่ว่า ข้อความไม่มีเสียง ดังนั้น หากจะส่งอิโมจิหรือข้อความใด ๆ ควรพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อน

ขอบคุณที่มาจาก Reuters The Guardian

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน