WHO ประกาศอย่างเป็นทางการ แอสปาร์แตมอาจก่อมะเร็ง แต่ยังสามารถรับประทานได้ในปริมาณที่กำหนด

ระวัง สารให้ความหวานแทนน้ำตาลอันตรายกว่าที่คิด มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง องค์กรอนามัยโลกประกาศอย่างเป็นทางการ แอสปาร์แตม ควรจัดอยู่ในประเภท “มีความเป็นไปได้ที่จะก่อมะเร็ง” (Possible Carcinogen) หลังจากทำการประเมินการก่อมะเร็งของสารแอสปาร์แตมเป็นครั้งแรกในการประชุมที่เมืองลียง ประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่วันที่ 6 – 13 มิถุนายนที่ผ่านมา

แอสปาร์แตม ซึ่งเป็นสารให้ความหวานเทียมยอดนิยมที่พบในผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆ ตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เช่น น้ำอัดลมแคลอรีต่ำ, น้ำผลไม้, โยเกิร์ต, เจลาติน, เครื่องดื่มน้ำตาล 0%, ไอศกรีม, อาหารเช้าซีเรียล, ยาสีฟัน ไปจนถึงหมากฝรั่งไร้น้ำตาล ซึ่งให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลปกติถึง 200 เท่า

การประกาศดังกล่าวมาจาก การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพของสารให้ความหวานชนิดไม่มีน้ำตาลแอสปาร์แตม โดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการวิจัยโรคมะเร็ง (IARC), องค์การอนามัยโลก (WHO), องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญร่วมด้านวัตถุเจือปนอาหาร ( JECFA ) การอ้างถึง “หลักฐานที่จำกัด” สำหรับการก่อมะเร็งในมนุษย์ IARC จำแนกสารให้ความหวานว่าเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ (IARC Group 2B)

รายงานก่อนหน้านี้ การพิจารณาของหน่วยงานไอเออาร์ซี เป็นผลมาจากการประเมินทบทวนงานวิจัย 1,300 ชิ้นของไอเออาร์ซี ซึ่งเก็บข้อมูลผู้ที่บริโภคสารให้ความหวานแทนน้ำตาลในปริมาณมากมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งมากกว่าผู้ที่บริโภคสารเหล่านี้ในปริมาณน้อยกว่า ดังนั้น การจัดสารแอสปาร์แตมเป็นสารอาจก่อมะเร็งมีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นให้มีการวิจัยมากขึ้น

งานวิจัยบางส่วนที่ได้รับการทบทวนโดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการวิจัยโรคมะเร็ง (IARC) ฃแสดงให้เห็นว่าอาจมีความเชื่อมโยงที่เป็นไปได้ระหว่างสารให้ความหวานและมะเร็งตับอย่างไรก็ตาม เจอีซีเอฟเอยืนยันอีกครั้ง ถึงปริมาณแอสปาร์แตมที่ยอมรับได้ในแต่ละวันและเป็นระดับที่ปลอดภัยสำหรับการบริโภคที่ 40 มก.ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

ตัวอย่างเช่น น้ำอัดลมไดเอท 1 กระป๋องที่มีแอสปาร์แตม 200 หรือ 300 มก. ผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนัก 70 กก. จะต้องดื่มมากกว่า 9 ถึง 14 กระป๋องต่อวันเพื่อให้เกินปริมาณที่รับได้ในแต่ละวัน ดังนั้น สำหรับผู้ที่ดื่มน้ำอัดลมเป็นครั้งคราวนั้นยังไม่ต้องรู้สึกกังวลแต่อย่างใด

ทั้งนี้ ตามรายงานไอเออาร์ซีและองค์การอนามัยโลก จะยังคงติดตามหลักฐานใหม่ ๆ และสนับสนุนให้กลุ่มวิจัยอิสระพัฒนาการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการสัมผัสสารให้ความหวานกับผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค

ขอบคุณที่มาจาก Who

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน