แน่นอนแล้วว่า “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” ชวดเก้าอี้นายกฯ แม้จะชนะการเลือกตั้ง แต่ยังมีอีก 8 คน จาก 5 พรรค ที่มีสิทธิ์ชิงตำแหน่งนี้

เป็นที่แน่นอนแล้วว่า “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” หัวหน้าพรรคก้าวไกล ผู้ชนะในการเลือกตั้งประจำปี 2566 หมดสิทธิ์ในการเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย

หลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้หยุดทำหน้าที่ ส.ส. เหตุมีชื่อถือครองหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด มหาชน จำนวน 42,000 หุ้น และที่ประชุมลงมติ ว่า การเสนอชื่อนายพิธาให้รัฐสภาโหวตเป็นนายกฯ อีกรอบขัดกับข้อบังคับการประชุมข้อ 41

คาดว่าในครั้งต่อไปทางพรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นพรรคอันดับ 2 จะเสนอชื่อ นายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกฯ พรรคเพื่อไทย ชิงตำแหน่งนายกฯ

นอกจาก เศรษฐา แล้วยังมีผู้มีสิทธิ์ชิงตำแหน่งนายกฯ อีก 7 คน คือ แพทองธาร ชินวัตร และ ชัยเกษม นิติสิริ จากพรรคเพื่อไทย

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค จาก รวมไทยสร้างชาติ, พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ จาก พลังประชารัฐ, อนุทิน ชาญวีรกูล จากภูมิใจไทย และ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ จากประชาธิปัตย์

ซึ่งตามกฎหมายมาตรา 159 ที่มานายกฯ ระบุว่า ผู้ที่สมควรได้เสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี ต้องมาจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง ซึ่งพรรคนั้นๆ จะต้องได้เสียงในสภาไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 หรือจำนวน 25 เสียงขึ้นไป








Advertisement

ประกอบกับ มาตรา 272 ที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ชั่วคราวว่า ให้ ส.ว.250 คน สามารถเลือกนายกรัฐมนตรีได้ ทำให้เราต้องลุ้นต่อไปว่า ตำแหน่งนายกฯ จะตกเป็นของใคร

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน