หมอสมาน มือปราบน้ำเมาคนดัง ย้ำแอลกอฮอล์ ต้องควบคุม มีสารพิษ เป็นปัญหาระดับโลก ยันกฎหมายควบคุมของไทย ไม่ได้เข้มงวดจนเกินไปนัก

วันที่ 18 ส.ค.2566 นพ.สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น อดีตผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวถึงกรณีนายปดิพัทธ์ สันติภาดา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกลและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 โพสต์รูปเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ว่า เครื่องดื่มประเภทนี้ ไม่ใช่สินค้าปกติธรรมดา ต้องมีการควบคุม เพราะเป็นที่รับรู้ทางการแพทย์ และทางวิทยาศาสตร์มานานแล้วว่า มีสารพิษ

ทั้งนี้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้เป็นปัญหาเพียงแค่ในประเทศไทย แต่ยังเป็นปัญหาระดับโลก ในส่วนของการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถือเป็นอุปสรรต่อการพัฒนาดังกล่าว

ที่สำคัญธนาคารโลกเองได้ออกรายงานออกมาชัดเจนเลยว่าแอลกอฮอล์เป็นปัญหาต่อการพัฒนาประเทศ และสนับสนุนให้รัฐบาลทุกประเทศควบคุมแอลกอฮอล์และยาสูบอย่างเข้มงวด ไม่เช่นนั้นจะส่งผลต่อสุขภาพ และการพัฒนาเศรษฐกิจ จะยั่งยืน และเข้มแข็งไม่ได้เลยอีกด้วย

โดยหลัก ๆ ในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ไม่ได้ห้ามผลิต ห้ามนำเข้า ห้ามขาย ห้ามดื่มโดยสิ้นเชิง เราควบคุมโดยใช้หลักวิชาการที่ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกได้แนะนำ

ทั้งนี้จะมีการควบคุมวัน เวลา บุคคล ที่จะขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และควบคุมการโฆษณา การสื่อสารการตลาด เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าหัวใจหลักในการบังคับใช้ควบคุม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ที่มีโทษรุนแรงที่สุด โดยมีโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 500,000 บาท และมีการปรับรายวันอีกวันละ 50,000 บาท จนกว่าจะเลิกโฆษณา และถ้าหากมีการจูงใจว่าเครื่องดื่มแอลกอฮฮล์เป็นของดี ซึ่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ใช่ของดีแน่นอน

สำหรับกฎหมายเรื่องการห้ามโฆษณานั้น มีการร่างโดยผู้เชี่ยวชาญทั้งทางนิเทศศาสตร์ การตลาด และทางกฎหมาย ศาสตราจารยืจากหลายมหาวิทยาลัยมาร่วมกันร่าง และกว่าจะผ่านมาได้ต้องผ่านคณะกรรมการกฤษฎีกา

หากว่ามันจำกัดสิทธิเสรีภาพจนเกินไปคงผ่านมาไม่ได้ และหากเทียบเคียงกับกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบนั้น จะเห็นได้ว่า กฎหมายเรื่องการห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นยังไม่ได้เข้มงวด หรือเกินกว่าเหตุ








Advertisement

ตามมาตรา 32 ของกฎหมายดังกล่าว เราห้ามอยู่ 2 กรณีคือ แค่การโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะด้วยวิธีการสื่อสารใด ๆ เพื่อประโยชน์ทางการค้า หรือเพื่อเพิ่มยอดขาย

อีกกรณีที่คือไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ทางการค้า แต่เห็นชื่อหรือเครื่องหมาย เช่นบางท่านโชว์ให้เห็นชื่อหรือเครื่องหมาย พร้อมกับข้อความอวดอ้สงสรรพคุณ หรือชักจูงให้ดื่มทั้งทางตรงและทางอ้อม แบบนี้จะผิดกฎหมาย

ทั้งนี้ก็ยังมีข้อยกเว้นอยู่บ้างในวรรค 2 สำหรับผู้ผลิตในการสื่อสารเป็นข้อความ แต่ต้องเพื่อเป็นการสร้างสรรค์สังคมเท่านั้น แต่ห้ามมิให้เห็นบรรจุภัณฑ์เด็ดขาด เห็นได้แค่โลโก้และเครื่องหมาย และจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของกฎกระทรวง สำหรับข้อยกเว้นอยู่บ้างในวรรค 3 คือการถ่ายทอดสดมาจากต่างประเทศ บางทีจะมีโลโกเบียร์ที่หน้าอกเสื้อ อันนี้ถือว่าควบคุมได้ยาก

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน