เช็กข้อมูล – เปิดวิธีการเอาตัวรอด หากตกอยู่ในสถานการณ์กราดยิง จากคนคลั่งคลั่ง หลังเกิดเหตุกรารณ์กราดยิงในห้างฯ พารากอน

แน่นอนว่า เหตุร้ายไม่ใช่เรื่องไกลตัวเรา และมักจะคาดเดาไม่ได้ว่าจะเกิดขึ้นกับเราหรือไม่ และเกิดขึ้นเมื่อไหร่

อย่างกรณีสะเทือนขวัญระดับประเทศอย่างการกราดยิงที่โคราช ที่ส่วนหนึ่งเกิดในห้างสรรพสินค้า

และล่าสุด เกิดเหตุการณ์เศร้าสลด จากเหตุกราดยิงในห้างพารากอน โดยมีผู้เสียชีวิต 3 คน ส่วนจำนวนผู้บาดเจ็บ เบื้องต้นจำนวน 2 คน

มีผู้ก่อเหตุ เป็นเด็กชายอายุ 14 ปีนั้น นำมาซึ่งการตั้งคำถาม ถึงความปลอดภัย หากต้องตกอยู่ในสถานการณ์ดังกล่าว เราจะมีวิธีเอาตัวรอดจากเหตุยิงกัน ในห้างฯ ได้อย่างไร


โดยทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ได้เคยเปิดเผย เกี่ยวกับวิธีการเอาตัวรอดเหตุกราดยิง คนคลุ้มคลั่ง โดยมีรายละเอียด 3 ขั้นตอน คือ การหลบหนี การหลบซ่อน และการต่อสู้ ดังนี้

“หนี” เมื่อสามารถหาเส้นทางหลบหนีไปยังพื้นที่ปลอดภัยได้

1.เมื่อไปสถานที่ต่างๆ ให้จดจำทางเข้า-ออก และทางออกฉุกเฉินให้เป็นนิสัย

2.เมื่อเกิดเหตุ ต้องตั้งสติให้ดี และมองหาเส้นทางในการหลบหนี

3.ทิ้งของทุกอย่างที่ไม่จำเป็น

4.ช่วยเหลือคนอื่นเท่าที่สามารถช่วยได้


“ซ่อน” เมื่อไม่สามารถหลบหนีออกจากพื้นที่ ให้หาสถานที่ปลอดภัยเพื่อซ่อนตัว

1.ล็อกประตู และหาสิ่งของมาใช้กีดขวางคนร้ายเพื่อไม่ให้มาถึงตัว

2.ซ่อนให้พ้นสายตา โดยหลบหลังสิ่งของขนาดใหญ่และแข็งแรง

3.ปิดไฟในห้อง และปิดเสียงโทรศัพท์มือถือ

4.อยู่ให้เงียบที่สุด ไม่พูดคุยหรือใช้เสียง

“สู้” เป็นหนทางเลือกสุดท้าย เมื่อไม่สามารถหนีหรือซ่อนตัวจากคนร้ายได้ และคนร้ายกำลังจะเข้ามา

1.ร่วมกันสู้สุดกำลังเพื่อให้มีโอกาสรอด

2.ใช้การซุ่มโจมตีโดยไม่ให้คนร้ายรู้ตัวเพื่อหยุดยั้งคนร้าย

3.ใช้สิ่งของทุกอย่างที่หาได้มาเป็นอาวุธ

4.ใช้ทุกวิธีการที่นึกได้ในการต่อสู้เพื่อเอาชีวิตรอด

โทร 191 แจ้งขอความช่วยเหลือเมื่อสามารถโทรได้โดย “ปลอดภัย”

ขณะเดียวกัน “รศ.นพ.รัฐพลี ภาคอรรถ” ศัลยแพทย์และอาจารย์จากภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ชี้แนวทางสำคัญในการเอาตัวรอดเมื่อเกิดเหตุการณ์กราดยิง ในยุคโซเชียลฯ

ไว้ว่า “หากไม่สามารถหนีได้ ต้องหาที่ซ่อนที่มีที่กำบังแข็งแรง หลบซ่อนให้พ้นสายตาผู้ก่อเหตุ ปิดไฟมืด ปิดเสียงโทรศัพท์

และลงกลอนประตูให้แน่นหนา โดย ต้องซ่อนตัวไม่ส่งเสียงหรือกรีดร้อง และใช้วิธีการขอความช่วยเหลือผ่านข้อความทางโทรศัพท์

งดใช้เสียง และเตรียมตัวรอรับการช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ ส่วนการต่อสู้กับคนร้าย นับว่าเป็นทางออกสุดท้าย หากไม่มีทางเลือกอื่นเหลืออยู่ เพราะหากไม่สู้ก็จะตาย และไม่ควรอ้อนวอนขอชีวิตจากคนร้าย”

 

ที่มา : สำนักงานตำรวจแห่งชาติ,จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน