เปิดที่มาชื่อ และตำนานโปรดเสวยปลาตะเพียน จนห้ามราษฎรจับ ของ “ขุนหลวงท้ายสระ” รับบทโดย “เกรท-วรินทร” ในละครฟอร์มยักษ์ “พรหมลิขิต” ภาคต่อของละคร บุพเพสันนิวาส

วันนี้ (18 ต.ค. 66) พร้อมเสิร์ฟความสนุกและเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจแล้ววันนี้ สำหรับละครฟอร์มยักษ์ “พรหมลิขิต” ภาคต่อของละครที่ฮิตทั่วบ้านทั่วเมือง เป็นซอฟต์พาวเวอร์จนเกิดกระแสคำฮิต ‘ออเจ้า’ อย่างเรื่อง ‘บุพเพสันนิวาส’ ซึ่งดัดแปลงจากบทประพันธ์ของ รอมแพง

กลับมาในครั้งนี้ นอกจากจะมีคู่พระนางที่ประสบความสำเร็จจากภาคแรกอย่าง “โป๊ป ธนวรรธน์” และ “เบลล่า ราณี” แล้ว ก็ยังขนกองทัพเหล่านักแสดงชุดเดิมจาก ‘บุพเพสันนิวาส’ ภาคแรก กลับมาสร้างสีสันในละคร ‘พรหมลิขิต’ กันแบบครบทีมอีกด้วย

ภาพประกอบ ละคร พรหมลิขิต

ภาพประกอบ ละคร พรหมลิขิต

ภาพประกอบ

ภาพประกอบ

ที่สำคัญการกลับมาในครั้งนี้ ยังมีตัวละครใหม่ ซึ่งมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในประวัติศาสตร์ นั่นก็คือ “ขุนหลวงท้ายสระ” หรือ “เจ้าฟ้าเพชร” พระมหากษัตริย์ที่มีตัวตนอยู่จริงในประวัติศาสตร์ รับบทโดย “เกรท-วรินทร ปัญหกาญจน์”

อ่านเพิ่มเติม :

โดย ‘สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ’ หรือ ‘สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9’ หรือ ‘พระเจ้าภูมินทราชา’ หรือ ‘พระเจ้าบรรยงก์รัตนาสน์’ เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 30 แห่งอาณาจักรอยุธยา และเป็นพระองค์ที่สามแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ราชวงศ์สุดท้ายของอาณาจักรอยุธยา ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2251 – พ.ศ. 2275

โดย ‘เจ้าฟ้าเพชร’ ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ใน ‘สมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี’ (สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือ พระเจ้าเสือ) กับพระอัครมเหสีพระนามว่าสมเด็จพระพันวษา มีพระอนุชาคือ เจ้าฟ้าพร ซึ่งรับบทโดย “เด่นคุณ งามเนตร”

ภาพประกอบ

ภาพประกอบ

ภาพประกอบ

ภาพประกอบ

สมเด็จพระเจ้าท้ายสระมีพระราชโอรสรวม 3 พระองค์ คือ เจ้าฟ้านเรนทร์ หรือกรมขุนสุเรนทรพิทักษ์ เจ้าฟ้าอภัย และ เจ้าฟ้าปรเมศร

สำหรับที่มาชื่อ “สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ” นั้น บางตำนานก็เผยว่า มาจากนามพระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ ซึ่งพระองค์ใช้เป็นประทับอันอยู่ข้างสระน้ำท้ายพระราชวัง

อีกหนึ่งตำนานที่ยังคงเป็นที่เล่าขานและถูกถกเถียงมากมายเกี่ยวกับ “สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ” นั่นก็ คือ พระองค์โปรดเสวยปลาตะเพียนมาก จนถึงขั้นออกพระราชกำหนดห้ามราษฎรจับหรือรับประทานปลาตะเพียน หากผู้ใดฝ่าฝืน มีบทลงโทษคือปรับเป็นเงิน 5 ตำลึง หรือ 20 บาท

ภาพประกอบ

ภาพประกอบ

โดยมีการตีความแตกต่างกันไปมากมาย บางตำนานตีความว่า ‘พระองค์ทรงโปรดเสวยปลาตะเพียนมากจนตั้งกฎห้ามราษฎรจับขึ้น’ บางตำนานก็ตีความว่า ‘พระองค์ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาอย่างดียิ่งตลอดมา อาจเป็นพระราชดำริที่จะอนุรักษ์ปลาหรือไม่’

อย่างไรก็ดี เรื่องราวดังกล่าว ก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันในวงการประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งงานนี้แฟนพันธุ์แท้ประวัติศาสตร์และคอละครก็คงตั้งตารอดู ‘พรหมลิขิต’ ว่าจะมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยอะไรบ้างจากอดีต มาให้ติดตาม หรือว่าเมนูเด็ดรอบนี้ จะมี ‘เมนูปลาตะเพียน’ หรือไม่

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน