เปิดกฎหมายไทยโบราณ สมัยอยุธยา ผัวสามารถ “ตีเมียได้ไม่ผิด” มีสิทธิ์ลงโทษตามเห็นสมควร เพราะถือเมียว่าเป็นสมบัติในปกครองของผัว

ละครเรื่อง “พรหมลิขิต” ที่ฉายไปเมื่อวันที่ 1 พ.ย. นั้น ฉากที่ “ขุนหลวงท้ายสระ” ปลอมตัวออกนอกพระราชวังกับเหล่าขุนนาง มีการกล่าวถึง “กฎหมายที่บัญญัติไว้ว่าผัวสามารถตีเมียได้” ทำเอาหลายคนอึ้งว่ามันมีอยู่จริง ๆ เหรอ

“กฎหมายโบราณ” ของไทยที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของครอบครัวมีระบุเป็นลายลักษณ์อักษรในหัวข้อ “พระไอยการลักษณผัวเมีย” ตราขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๔ (จุลศักราช ๗๒๒) และมีการแก้ไขเพิ่มเติมใน พ.ศ. ๑๙๐๕

ภาพจากละคร “พรหมลิขิต”

ในหัวข้อ “อำนาจอิสระ” หรือการปกครองนั่นเอง เมื่อหญิงยังเป็นเด็กก็ต้องอยู่ในปกครองของบิดามารดา ถ้าบิดามารดาตายก็อยู่ในปกครองของญาติผู้ใหญ่จนกว่าจะได้แต่งงานกับชาย

ดังกฎหมาย ลักษณะตัวเมีย บทที่ 79 บัญญัติไว้ความว่า “บุตรีท่านบิดามารดายังมิได้ประกอบสามีภรรยาให้ไซร้ บิดามารดานั้นเป็นอิสระแก่บุตร ถ้าชายใดพึงใจด้วยบุตรีท่าน ให้คำนับบิดามารดาตามประเพณี ถ้า บิดามารดายกให้สามีจึงจะเป็นอิสระแก่ภริยา”

ขอบเขตอำนาจอิสระของสามีนั้นรวมไปถึงอำนาจลงโทษภรรยาได้ตามสมควรหากภริยาประพฤติตนไม่ดี กฎหมายลักษณะตัวเมียบทที่ 60 บัญญัติว่า “สามีภรรยาอยู่ด้วยกัน ภริยามี ความผิด สามีจะปราบปรามโบยตีหญิง หญิงจะเอาโทษแก่สามีนั้นมิได้

ถ้าภริยาด่าว่าหยาบช้าแก่ สามี ให้ภริยาเอาข้าวตอกดอกไม้ขอโทษแก่สามีจึงควร” แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าสามีจะทำโทษ หญิงโดยปราศจากเหตุอันควรได้ การทำร้ายภริยาบาดเจ็บถือว่าชายกระทำเกินขอบอำนาจปกครอง ซึ่งชายอาจถูกขับไล่ไสส่งเสียได้ (บทที่ 57)”

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน