จากกรณีโซเชียลมีการแชร์เรื่องราวของ นศ.สาวรายหนึ่งที่ติดเชื้อ HIV ตั้งแต่แรกเกิด เมื่ออกหักจึงออกไปเที่ยวผับเกือบทุกคืน และมีความสัมพันธ์กับชายหนุ่มมากหน้าแบบวันไนท์สแตนด์

เมื่อวันที่ 5 พ.ย. นายนิมิตร์ เทียนอุดม ที่ปรึกษา ผอ.มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวถึงกรณีดังกล่าว ว่า หากบุคคลรายดังกล่าวอยู่ในการรักษาอย่างต่อเนื่อง มีการรับประทานยาทุกวันจริงๆ ก็เท่ากับว่าอยู่ในการรักษามานานแล้ว น่าจะอยู่ในเกณฑ์ที่มีไวรัสในกระแสเลือดน้อยมาก น้อยกว่า 50 Copy ต่อเลือด 1 หยด หรือที่เรียกว่าตรวจไม่พบ ซึ่งถ้าน้อยอย่างนั้นก็จะเป็นเหมือนที่เราพยายามรณรงค์เรื่อง U = U หรือ Undetectable = Untransmittable คือ ตรวจไม่พบเท่ากับไม่แพร่เชื้อ ดังนั้น คนที่รักษาเอชไอวีมานาน กินยาตลอด การไปมีเพศสัมพันธ์โอกาสที่จะทำให้ติดเชื้อหรือแพร่เชื้อต่อนั้นน้อยมากหรือไม่มีเลย

“เราจึงพยายามรณรงค์อยู่ในปัจจุบันว่า หากติดเชื้อเอชไอวีให้เข้ามารับการรักษา เพื่อจะได้กินยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่อง จนเชื้อไวรัสในร่างกายต่ำมากจนตรวจไม่พบ สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติเหมือนกับคนทั่วไปที่ไม่มีเชื้อ เพราะโดยทั่วไปการกินยาและอยู่กับการรักษาก็เท่ากับเหมือนเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โอกาสแพร่เชื้อเท่ากับศูนย์ ส่วนที่ว่าดื่มเหล้าแล้วทำให้เชื้อดื้อยานั้นก็ไม่จริง เพราะเชื้อไม่ได้เมาเหล้า เหล้าไม่ได้มีผลต่อเชื้อ และไม่ได้มีผลต่อประสิทธิภาพของยาต้านไวรัส” นายนิมิตร์กล่าว

เมื่อถามว่าหากเป็นกรณีที่ติดเชื้อเอชไอวี แต่ไม่ได้มีการรักษาต่อเนื่อง ยังแพร่เชื้อได้ การจงใจไปมีเพศสัมพันธ์จะเข้าข่ายผิดกฎหมายหรือไม่ นายนิมิตร์กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่มีโทษฐานความผิดในกฎหมาย

อย่างไรก็ตาม เรื่องของการป้องกันโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เป็นเรื่องของคนทุกคนที่สมัครใจมีเพศสัมพันธ์ไม่ว่ากับใครก็ตาม เป็นหน้าที่ของเราที่ต้องป้องกันตนเอง จะรอให้คู่มาบอกว่าต้องป้องกันไม่ได้ หรือจะรอให้คู่เราเป็นคนป้องกันไม่ได้ ซึ่งการป้องกันก็มีทั้งการสวมถุงยางอนามัย การรับประทานยา PrEP รวมไปถึงการอู่กับการรักษาเอชไอวีอย่างต่อเนื่อง ก็สามารถช่วยป้องกันการแพร่เชื้อได้

อ่าน สาวติดเชื้อHIV รู้สึกผิด อกหักออกเที่ยววันไนท์สแตนด์ไม่ซ้ำหน้า 7 เดือน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน