นักโภชนาการเผย กะหล่ำปลีมีประโยชน์ แต่มีบุคคล 1 ประเภทห้ามทานกะหล่ำปลีเยอะ เสี่ยงไทรอยด์ทำงานผิดปกติ

กะหล่ำปลีเป็นผักอีกประเภทที่อุดมไปด้วยสารอาหารและสามารถช่วยต่อสู้กับโรคมะเร็ง ล้างพิษในตับ และปรับสมดุลของฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ ซึ่งการรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะไม่เพียงแต่มีประโยชน์ต่อร่างกายคนทั่วไปมากมาย

เช่น ช่วยบรรเทาอาการบวมในเนื้อเยื่อ, ลดการอักเสบ, ช่วยให้เยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้แข็งแรง เท่านั้น แต่การรับประทานกะหล่ำปลีโดยคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ยังช่วยพัฒนาเส้นประสาทของทารกในครรภ์และส่งเสริมการดูดซึมธาตุเหล็กอีกด้วย

กะหล่ำปลีประกอบด้วยสารอาหาร 5 ชนิด ดังต่อไปนี้

  1. แร่ธาตุ: กะหล่ำปลีประกอบด้วยแร่ธาตุ เช่น โพแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียม ซึ่งช่วยบำรุงสุขภาพของหัวใจและความแข็งแรงของกระดูก
  2. วิตามินซีหรือที่เรียกว่ากรดแอสคอร์บิก: ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงาน, สร้างคอลลาเจน, ช่วยสมานแผลได้ในระดับหนึ่ง และลดการอักเสบจึงช่วยป้องกันโรคหัวใจได้
  3. วิตามินเค: ไม่เพียงแต่ส่งเสริมการสมานแผล แต่ยังช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน การสูญเสียมวลกระดูก ร้อมช่วยให้เลือดแข็งตัวได้ดีอีกด้วย
  4. วิตามินเอ: โดยกะหล่ำปลีมีเบต้าแคโรทีน ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอในร่างกายมนุษย์และช่วยปกป้องสายตา
  5. กรดโฟลิก: กรดโฟลิกสามารถให้อาหารเสริมที่ดีแก่สตรีมีครรภ์และพัฒนาการของทารกได้

ที่สำคัญ กะหล่ำปลีอุดมไปด้วยไฟโตสเตอรอล (สเตอรอลจากพืช) และเส้นใยที่ไม่ละลายน้ำช่วยให้ระบบย่อยอาหารแข็งแรงและการเคลื่อนไหวของลำไส้เป็นปกติ ยิ่งนำกะหล่ำปลีมาหมักหรือดอง เช่น กิมจิ จะช่วยสร้างโพรไบโอติกส์ตามธรรมชาติที่ช่วยบำรุงแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ ซึ่งแบคทีเรียเหล่านี้ช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับเชื้อโรค, รับสารอาหาร, ย่อยอาหาร และควบคุมความวิตกกังวล

อีกทั้งตามรายงานของผลการศึกษาจำนวนหนึ่งชี้ให้เห็นว่า แอนโทไซยานินที่พบในกะหล่ำปลีช่วยได้มากกว่าการอักเสบ การวิจัยชี้ให้เห็นว่ากะหล่ำปลีช่วยเพิ่มคุณประโยชน์ต่อสุขภาพโดยการลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบสารแอนโทไซยานิน 36 ชนิดในกะหล่ำปลี

รวมทั้งกะหล่ำปลีสามารถช่วยป้องกันมะเร็งบางชนิดได้ ส่วนหนึ่งความเชื่อดังกล่าวมาจากคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบของกะหล่ำปลี นอกจากนี้ยังเป็นเพราะสิ่งที่เรียกว่ากลูโคซิโนเลต ซึ่งเป็นสารพิเศษที่มีกำมะถันที่ทำให้ร่างกายกลายเป็นนักสู้มะเร็ง รวมถึงมีอยู่ในผักอื่น ๆ ด้วย เช่น ผักคะน้า, คอลลาร์ด, บรอกโคลี, กะหล่ำดาว และกะหล่ำดอก

แม้ว่ากะหล่ำปลีจะมีประโยชน์มากมาย แต่ผู้ที่มีภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำควรหลีกเลี่ยงการทานผักตระกูลกะหล่ำดิบมากเกินไป เนื่องจากมีสารไทโอไซยาเนต ซึ่งยับยั้งการดูดซึมไอโอดีนโดยต่อมไทรอยด์ นอกจากนี้ยังมีสารที่อาจรบกวนการใช้ยา เช่น ยาเจือจางเลือด หรือทำให้เกิดภาวะไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ซึ่งเป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนไทรอยด์ไม่เพียงพอจะทำให้การเผาผลาญช้าลง

แม้กะหล่ำปลีจะอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ แต่การรับประทานมากเกินไปก็ไม่ดีอาจทำให้เกิดอาการท้องร่วง ท้องอืด หรือไม่สบายท้องได้โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์หรือนักโภชนาการล่วงหน้าเพื่อยืนยันว่าสภาพเหมาะสมต่อการบริโภคหรือไม่

ขอบคุณที่มาจาก Cleveland Clinic, WebMD, Cool Health

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน