เปิดสาเหตุของ ‘โรคตุ่มน้ำพอง’ หรือ โรคเพมฟิกอยด์ (Bullous pemphigoid) ที่เกิดจากภูมิคุ้มกันเกิดจากอะไร รักษาได้หรือไม่ เป็นแล้วดูแลอย่างไร

เป็นข่าวเศร้าสะเทือนวงการบันเทิง สำหรับการจากไปของ อดีตพระเอกดัง เมฆ วินัย ไกรบุตร ที่ป่วยด้วย โรคตุ่มน้ำพอง เป็นเวลานานจนต้องหยุดงานในวงการไปเพื่อรักษาตัว

แล้ว โรคตุ่มน้ำพอง เกิดจากอะไร ? สามารถรักษาได้หรือไม่ วันนี้ ข่าวสดออนไลน์ มีคำตอบ

โรคตุ่มน้ำพอง หรือ โรคเพมฟิกอยด์ (Bullous pemphigoid) ที่เกิดจากภูมิคุ้มกัน

หนึ่งในโรคผิวหนังที่มีลักษณะเป็นตุ่มพองน้ำ เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่พบได้ไม่บ่อยมาก สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่มาทำลายโครงสร้างที่ทำหน้าที่ยึดเซลล์ผิวหนัง ทำให้ผิวหนังหลุดออกจากกันกลายเป็นตุ่มน้ำและแผลถลอก

รวมถึง พันธุกรรม การติดเชื้อ การแพ้ยาแพ้สารเคมี หรืออาจเรียกอีกแบบว่า “ภูมิเพี้ยน” คือภูมิต้านทานที่มีหน้าที่คอยต่อสู้กับเชื้อโรค สิ่งกลุ่มด้วยกัน ได้แก่ โรคเพมฟิกัส และโรคเพมฟิกอยด์

บางชนิดพบในวัยเด็ก บางชนิดพบในผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ สามารถพบได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ไม่ใช่โรคทางพันธุกรรม ไม่ใช่โรคติดต่อ สามารถรักษาให้หายขาดได้ และโดยทั่วไปไม่ทำให้เสียชีวิต








Advertisement

โรคตุ่มน้ำพอง อาการเป็นอย่างไร

  • เป็นตุ่มพองที่ผิวหนังหรืออาจมีตุ่มพองที่บริเวณเยื่อบุต่าง ๆ ร่วมด้วย
  • เมื่อตุ่มน้ำแตกจะเกิดแผลถลอกหรือเป็นสะเก็ด ทำให้มีอาการเจ็บมาก
  • ผู้ป่วยในช่วงอายุ 50 – 60 ปีเกิดจากความผิดปกติที่ชั้นผิวหนังกำพร้าในผิวหนังชั้นตื้น แต่อาจกินบริเวณกว้าง
  • มีแผลเหมือนถูกน้ำร้อนลวก
  • ส่วนใหญ่มักมีแผลถลอกในช่องปากร่วมด้วย
  • อาจพบแผลถลอกที่เยื่อบุบริเวณอื่น เช่น ทางเดินหายใจ เยื่อบุช่องคลอดและอวัยวะเพศ

ตำแหน่งที่พบบ่อย คือ ศีรษะ หน้าอก หน้าท้อง และบริเวณที่ผิวหนังเสียดสีกัน ผู้ป่วยบางรายมีแผลที่เยื่อบุในปากเป็นอาการนำของโรค ทำให้กลืนอาหารลำบาก ทั้งอาจลามต่ำลงไปถึงคอหอย และกล่องเสียงทำให้เสียงแหบได้

แผลถลอกที่เกิดขึ้นทั้งที่ผิวหนังและเยื่อบุจะหายช้า เมื่อหายมักไม่เป็นแผลเป็นแต่จะทิ้งรอยดำบนผิวหนังในช่วงแรกและจะจางไป ในรายที่เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนที่ผิวหนัง

แผลจะมีลักษณะเป็นหนอง มีกลิ่นเหม็นหายได้ยาก มักกลายเป็นรอยแผลเป็น ถ้าเป็นรุนแรง เชื้อโรคอาจเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้มีไข้และอาการทางระบบอื่นๆ ร่วมด้วย และอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

โรคตุ่มน้ำพอง รักษาอย่างไร ?

การรักษาโรคนี้ขึ้นกับความรุนแรงของโรค ผู้ป่วยที่มีอาการมากควรได้รับรักษาในโรงพยาบาลเพื่อทำแผลอย่างถูกวิธี และเฝ้าระวังแผลติดเชื้อ

กรณีที่รับประทานอาหารไม่ได้ อาจจำเป็นต้องให้สารอาหารทางสายทดแทนและการใช้ยารักษามักต้องใช้ในขนาดสูงเพื่อควบคุมโรคในช่วงแรก และปรับลดขนาดยาลงให้ต่ำที่สุด ผู้ป่วยต้องทานยาต่อเนื่องในระยะยาวเพื่อควบคุมให้โรคสงบ ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจได้รับยากดภูมิต้านทานอื่น

การดูแล โรคตุ่มน้ำพอง ทำได้อย่างไร

  1. พบแพทย์สม่ำเสมอ ไม่ควรหยุดหรือปรับลดยาเอง
  2. ทำความสะอาดร่างกายอย่างสม่ำเสมอ บริเวณที่เป็นแผลใช้น้ำเกลือ ทำความสะอาดแผล ไม่แกะเกาผื่นแผล ไม่ควรใช้ยาพ่นหรือพอกยา
  3. หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นโรคติดเชื้อ ไม่ไปในสถานที่แออัด
  4. หลีกเลี่ยงสิ่งที่ระคายเคืองต่อผิวหนังง่าย เช่น เสื้อผ้าที่รัด ความร้อน
  5. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่สุกสะอาด อาหารอ่อนย่อยง่ายรสไม่จัด ผลไม้ควรปอกเปลือกก่อนรับประทาน หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนัก ๆ
  6. การได้รับยากดภูมิต้านทาน อาจมีผลกระทบต่อโรคประจำตัวได้ ควรได้รับการรักษาควบคู่กันไป นอกจากนี้หากมีอาการปวดท้องอุจจาระดำ อาเจียนเป็นเลือด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ
  7. ในช่วงที่โรคยังไม่สงบ ไม่ควรตั้งครรภ์ เนื่องจากยาที่ใช้ควบคุมโรคอาจมีผลต่อทารกในครรภ์
  8. หากมีแผลในปากควรงดอาหารรสจัดและอาหารแข็ง เช่น ถั่ว ปลาแห้ง ของขบเคี้ยว
  9. หลีกเลี่ยงแสงแดดและความเครียดซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นที่สำคัญ

ที่มา: paolohospital

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน