จับตาดูใกล้ชิด สำหรับการนับถอยหลัง สถานีอวกาศ ‘เทียนกง-1’ ของจีน ที่เตรียมจะตกสู่โลกแล้ว โดยทางการจีนไม่สามารถควบคุมสถานีอวกาศนี้ได้ ทำให้ไม่มีใครสามารถระบุเวลาและจุดตกได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกรวมไปถึงงสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) จิสด้า คาดว่าสถานีอวกาศเทียนกง-1 จะตกลงสู่โลกช่วงคืนวันอาทิตย์ที่ 1 เม.ย. ต่อเนื่องถึงช่วงเช้าวันจันทร์ที่ 2 เม.ย. โดยคาดว่าจุดตกจะเป็นแถบมหาสมุทรแปซิฟิก โดยจะสามารถทราบจุดตกที่ชัดเจน ก่อนเวลาตกจริงประมาณ 3-6 ชั่วโมง ส่วนโอกาสที่จะตกในพื้นที่ประเทศไทยนั้น คาดการณ์ไว้ว่า มีเพียง 0.1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

ล่าสุด ทางเว็บไซต์จิสด้า เผยข้อมูลจากการคำนวณด้วยโปรแกรม EMERALD ที่จิสด้าพัฒนาขึ้น แสดงให้เห็นภาพเส้นทางการโคจรของสถานีอวกาศเทียนกง-1 ที่โคจรผ่านพื้นที่ประเทศไทย ในช่วงวันที่ 30 มี.ค. – 1 เม.ย. 2561 ตามเวลาประเทศไทย ทั้งนี้ ข้อมูล ณ วันที่ 30 มี.ค.2561 สถานีอวกาศเทียนกง-1 โคจรรอบโลกด้วยความสูงจากพื้นโลกโดยเฉลี่ย 190 กิโลเมตร

ล่าสุด เอเอฟพีรายงานว่า องค์การบริหารงานอวกาศแห่งชาติของจีน หรือซีเอ็นเอสเอ ยืนยันการตกสู่ชั้นบรรยากาศโลกของห้องปฏิบัติการอวกาศ เทียนกง-1 แล้ว โดยทางซีเอ็นเอสเอประเมินว่า ยานอวกาศดังกล่าวจะเสียดสีกับชั้นบรรยากาศโลกด้วยความเร็วกว่า 26,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และแตกสลายเผาไหม้ไปทั้งหมด ซึ่งหากสังเกตจากพื้นโลกจะพบว่าเป็นปรากฏการณ์คล้ายฝนดาวตก

ด้านสำนักงานวิศวกรรมอวกาศของจีน หรือซีเอ็มเอสอีโอ ยืนยันว่า ยานอวกาศหนัก 8 ตันดังกล่าวที่ฝ่ายภาคพื้นดินสูญเสียการควบคุมระหว่างขั้นตอนการทำลายทิ้งในชั้นบรรยากาศโลกนั้นจะไม่สร้างความเสียหายและไม่มีความจำเป็นที่ประชาคมโลกต้องกังวล แม้ก่อนหน้านี้ องค์การอวกาศยุโรป หรืออีเอสเอ เคยประเมินว่า เศษซากที่อาจหลงเหลือของเทียนกง-1 อาจตกลงได้ในพื้นที่ตั้งแต่นิวซีแลนด์ไปจนถึงซีกตะวันตกของสหรัฐอเมริกา

ทั้งนี้ เทียนกง-1 แปลว่า วังสวรรค์ ในภาษาจีน ขึ้นสู่วงโคจรตั้งแต่เดือนก.ย. 2554 โดยทางการจีนใช้เป็นยานอวกาศสำหรับใช้ทดลองเทคนิคการประกบยาน มีระยะเวลาภารกิจ 2 ปี แต่ทางการจีนใช้งานเทียนกง-1 มานานเกินกว่ากำหนดเดิม กระทั่งยานอวกาศดังกล่าวหยุดทำงานลงระหว่างขั้นตอนการทำ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน