ผศ.ดร.รัฐพงศ์ บุญญนุวัตร ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เปิดเผยว่าจากการที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 20 กันยายน ของทุกปีเป็นวันเยาวชนแห่งชาตินั้น เพื่อเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมและสะท้อนมุมมองของเยาวชนในมิติต่างๆที่มีต่อการพัฒนาวงการกีฬาไทย KBU SPORT POLLโดยศูนย์นวัตกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตจึงสำรวจคิดเห็นเรื่อง “เยาวชนกับมิติของความคาดหวังที่มีต่อการพัฒนาวงการกีฬาไทย”

สำหรับการสำรวจดังกล่าวดำเนินการผ่านระบบออนไลน์ระหว่างวันที่ 8 -11 สิงหาคม 2565 โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นเยาวชนทั่วไปทั้งในและนอกสถานศึกษาซึ่งมีอายุตั้งแต่ 15-25 ปี จำนวน 1,003 คนโดยแบ่งเป็นเพศชาย 694 คน คิดเป็นร้อยละ 69.20 เพศหญิง 309 คน คิดเป็นร้อยละ30.80 ซึ่งผลการวิเคราะห์ในประเด็นต่างๆโดยภาพรวมพบว่า ความสนใจที่ที่มีต่อข่าวสารทางการกีฬา กลุ่มอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 30.11 สนใจระดับมาก รองลงมาร้อยละ 26.83 สนใจระดับมากที่สุด ร้อยละ25.66 สนใจระดับปานกลาง ร้อยละ 14.27 สนใจระดับน้อย และร้อยละ 4.13 สนใจระดับน้อยที่สุด

สื่อหรือช่องทางการติดตามข่าวสารทางการกีฬา ส่วนใหญ่ร้อยละ 32.91 โชเชียลมีเดีย รองลงมาร้อยละ 28.03 วิทยุโทรทัศน์ร้อยละ 19.66 เพื่อน/สมาชิกในครอบครัว ร้อยละ 11.01 วิทยุกระจายเสียง ร้อยละ6.29 หนังสือพิมพ์ และอื่นๆร้อยละ 2.10

ความคาดหวังที่มีต่อการพัฒนาของวงการกีฬาไทย ส่วนใหญ่ร้อยละ 24.05 รัฐบาลยกระดับขับเคลื่อนการพัฒนากีฬาเป็นวาระแห่งชาติ รองลงมาร้อยละ22.34 องค์กรที่รับผิดชอบทางการกีฬาขับเคลื่อนแผนพัฒนาสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ร้อยละ17.53 วงการกีฬาปลอดจากการทุจริตคอร์รัปชั่น ร้อยละ 15.24 รัฐบาลสนับสนุนการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ12.08 สมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยกำหนดแผนยุทธศาสตร์อย่างเป็นระบบ ร้อยละ6.12 ประชาชนตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการเล่นกีฬาและออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและอื่นๆร้อยละ2.64

ความคาดหวังที่มีต่อนักกีฬาทีมชาติสำหรับการเข้าร่วมการแข่งขันในระดับนานาชาติ ส่วนใหญ่ร้อยละ 26.05 นักกีฬาสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง รองลงมาร้อยละ 23.88
นักกีฬาได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาครัฐและเอกชน ร้อยละ19.37นักกีฬามีการฝึกซ้อมและเตรียมความพร้อมอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ14.97 นักกีฬามีระเบียบวินัยปฎิบัติตามกฎ ร้อยละ11.51นักกีฬามีส่วนร่วมในการเผยแพร่ชื่อเสียงและวัฒนธรรมและอื่นๆร้อยละ 4.22

ความคาดหวังจากภาครัฐสำหรับหารส่งเสริมการเล่นกีฬาและออกกำลังกาย ส่วนใหญ่ร้อยละ27.08
สนับสนุนงบประมาณการพัฒนาให้เพียงพอและต่อเนื่อง รองลงมาร้อยละ24.83 สนับสนุนการวางรากฐานการเล่นกีฬาและออกกำลังกายให้กับเด็กและเยาวชน ร้อยละ20.11 สนับสนุนจัดสร้างสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆให้เพียงพอร้อยละ15.0 สนับสนุนการสร้างขวัญกำลังใจให้กับเด็กและเยาวชนที่สร้างชื่อเสียงทางด้านกีฬาให้กับประเทศ ร้อยละ10.97 สนับสนุนให้เด็กและเยาวชนเข้าถึงอุปกรณ์การเล่นกีฬาและออกกำลังกายในราคามาย่อมเยาและอื่นๆร้อยละ2.00

ชนิดกีฬาที่คาดว่าจะนำชื่อเสียงมาสู่ประเทศอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่ร้อยละ31.09 วอลเลย์บอลหญิง
รองลงมาร้อยละ25.03 แบดมินตัน ร้อยละ 22.09 เทควันโด ร้อยละ13.88 มวยสากล ร้อยละ4.38 ตะกร้อ และอื่นๆร้อยละ3.53

ผศ.ดร.รัฐพงศ์ บุญญานุวัตร ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต กล่าวเพิ่มเติมว่าจากผลการสำรวจดังกล่าวจะเห็นได้ว่าเยาวชนส่วนใหญ่ให้ความสนใจในการติดตามข่าวสารทางการกีฬา แต่ที่น่าสนใจเมื่อถามถึงความคาดหวังที่มีต่อการพัฒนาวงการกีฬาไทยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สะท้อนที่จะให้รัฐบาลขับเคลื่อนการพัฒนากีฬาเป็นวาระแห่งชาติและมิติเดียวกันเยาวชนยังคาดหวังที่จะให้วงการกีฬาปลอดการทุจริตคอร์รัปชั่นอีกด้วย








Advertisement

อย่างไรก็ตามหากมองในภาพรวมจากผลการสำรวจดังกล่าวเป็นที่น่ายินดีที่เยาวชนต่างตระหนักและให้ความสำคัญกับการพัฒนาและยกระดับวงการกีฬาไทยให้ก้าวไปข้างหน้า และจากการสะท้อนมุมองในมิติต่างๆจากการสำรวจในครั้งนี้หากหน่วยงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้นำไปเป็นฐานข้อมูลเพื่อ
พัฒนาวงการกีฬาไทยก็คงจะเป็นประโยชน์ต่อวงการกีฬาและสังคมไทยไม่มากก็น้อย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน