วัดเกษไชโย จ.อ่างทอง : คติ-สัญลักษณ์ สถาปัตยกรรม

โดย ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์

วัดเกษไชโย จ.อ่างทอง – พระมหาพุทธพิมพ์ หรือ หลวงพ่อโต พระนั่งปางสมาธิขนาดใหญ่ ที่ วัดไชโย หรือ วัดเกษไชโย จ.อ่างทอง

วัดไชโย ตำนานว่าเป็นวัดเก่า เป็นวัดราษฎร์ที่มาตั้งแต่สมัยอยุธยา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) หรือหลวงพ่อโตที่รู้จักกันดีได้มาสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ขึ้น

วัดเกษไชโย จ.อ่างทอง

วัดเกษไชโย

เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นทาสีขาวตั้งอยู่กลางแจ้ง ประมาณปีพ.. 2400-2405 เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้ถวายวัดนี้ให้เป็นวัดหลวง รัชกาลที่ 4 พระราชทานนามว่า วัดเกษไชโย

พระพุทธรูปปางสมาธิมีขนาดหน้าตักกว้าง 8 วา 6 นิ้วหรือ 17 เมตร สูงถึง 11 วา 1 ศอก หรือประมาณ 23 เมตร

ประมาณปีพ.. 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการให้เจ้าพระยารัตนบดินทรไปปฏิสังขรณ์วัดนี้ โดยมีการสร้างพระวิหารครอบพระพุทธรูปองค์นี้ เกิดอุบัติเหตุให้พระพุทธรูปพังลง จึงโปรดเกล้าให้สร้างขึ้นใหม่ และพระราชทาน นามว่า พระมหาพุทธพิมพ์

วัดเกษไชโย จ.อ่างทอง

หลวงพ่อโต

คติและสัญลักษณ์ของพระพุทธรูปปางสมาธิที่สร้างไว้กลางแจ้งของหลวงพ่อโตก็คือ การแสดงถึงการทำสมาธิเพื่อการตรัสรู้ แต่เมื่อมีการสร้างพระวิหารครอบพระพุทธรูปองค์นี้แล้ว เป็นคติในวิถีของการดำรงสติของพระพุทธเจ้าในกุฏิหรือเสนาสนะที่พอดีกับพระองค์

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการพังทลายของพระพุทธรูปองค์นี้ก็คือ การพบพระเครื่องตระกูลพระสมเด็จ เป็นพระสมเด็จ ที่มีฐาน 7 ชั้น มีรูปแบบงดงามเป็นที่ไขว่คว้าของผู้มีศรัทธาในสมเด็จหลวงพ่อโตเป็นจำนวนมาก

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน