รัสเซียเจอวิกฤตสิ่งแวดล้อมหนัก สัตว์ทะเลหายากตายเกยตื้นนับพัน

Dead sea life at Malaya Lagernaya Bay

พบซากสัตว์ทะเลนับพันตัว ถูกซัดเกยตื้นอยู่ที่ชายฝั่งคาบสมุทรคัมชัตคาในประเทศรัสเซีย โดยเหตุการณ์ครั้งนี้เรียกได้ว่าเป็น Massive mortality events (MMEs) หรือ “วิกฤตสิ่งแวดล้อม” เป็นชื่อเรียกเหตุการณ์การสูญเสียของสัตว์ทะเลจำนวนมาก ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบสัตว์ทะเลหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ปลาหมึกยักษ์ที่อาศัยอยู่ใต้ทะเลลึก ปลาดาว เม่นทะเล และปลาอีกหลายชนิด ที่ถูกพัดขึ้นบนชายฝั่ง

ผู้เชี่ยวชาญด้านทะเลได้ให้ข้อมูลว่า เหตุการณ์ครั้งนี้น่าจะเกิดจากที่น้ำทะเลเป็นพิษ ซึ่งตอนนี้ทางการของรัสเซียได้ทำการเก็บตัวอย่างน้ำทะเลบริเวณดังกล่าว ไปตรวจสอบเรียบร้อยแล้วอย่างไรก็ตามผู้คนในท้องถิ่นได้ให้สัมภาษณ์ว่า ก่อนเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นพวกเขาได้พบว่าน้ำในพื้นที่ได้เปลี่ยนสีไป แถมหลายๆ คน ยังรู้สึกระคายเคือง หลังสัมผัสกับน้ำดังกล่าวด้วย

Specialists of Roshydromet take the samples of water

อเล็กซี่ นักวิจัยได้เผยว่า “จากผลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่สามารถเกิดจากพายุ หรือมลพิษจากน้ำมันได้ แต่มันมีความเป็นไปได้สูงเลยว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นอาจมาจากสารปนเปื้อนที่มาในรูปแบบของสารละลาย เป็นสาเหตุให้พืชใต้น้ำและสัตว์น้ำนั้นถูกพัดมาเกยที่ขอบชายฝั่ง
ซึ่งสารละลายที่กล่าวมาก็อาจจะไม่ได้ส่งผลแต่ตามผิวน้ำ แต่เป็นผืนน้ำทั้งหมดในบริเวณ อย่างไรก็ตามเราคงต้องน้ำตัวอย่างน้ำทะเล และซากสัตว์น้ำเหล่านี้ไปตรวจสอบดูเสียก่อน”

สถานการณ์สัตว์ทะเลเกยตื้นในไทย

นายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลว่า ในช่วงปี 2562-2563 พบสัตว์ทะเลหายากจำนวนกว่า 970 ตัวที่เกยตื้นขึ้นชายฝั่งในช่วงปีที่ผ่านมา
ซึ่งสาเหตุการเกยตื้นส่วนใหญ่นั้นเกิดจากฝีมือมนุษย์ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น สัตว์ทะเลติดเครื่องมือการประมง ขยะในทะเล และปัญหามลพิษในน้ำทะเล


กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) รายงานสถานการณ์สัตว์ทะเลหายาก ที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ได้แก่ เต่าทะเล พะยูน โลมา และวาฬ โดยสัตว์เหล่านี้เป็นตัวชี้วัดความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ จากผลการช่วยเหลือสัตว์ทะเลหายากเกยตื้น 3 ปีย้อนหลัง พบว่ามีสัตว์ทะเลหายากเกยตื้นเฉลี่ยปีละ 400 ตัว แบ่งเป็นเต่าทะเล 54% โลมาและวาฬ 41% และพะยูน 5%

การเกยตื้นตายของสัตว์ทะเลหายาก | สัตว์ทะเลหายาก
สาเหตุเกยตื้นสำหรับเต่าทะเลและพะยูนเกิดจากติดเครื่องมือประมง เป็นอันดับหนึ่งถึง 74% และ 89% ตามลำดับ ส่วนกลุ่มโลมาและวาฬป่วยตามธรรมชาติมากกว่า 60% นอกจากนี้ ยังมีสถานการณ์เต่าทะเลที่ลดจำนวนลง จำเป็นต้องจัดการแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งวางไข่อย่างเร่งด่วน

ขอขอบคุณที่มา arcticwwf.org

seub.or.th

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน