อาการน่าห่วง สาวหมกมุ่นเรื่องคู่ ป่วยแปลกโรคคลั่งรัก โหยหาความรักตลอดเวลา ต้องโทร.หาแฟนหนุ่มถี่ๆ 100 ครั้งต่อวัน

เว็บไซต์ต่างประเทศ รายงานเคสอุทาหรณ์ของคนไข้ชาวจีนรายหนึ่งวัย 18 ปี ได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคคลั่งรัก หรือโรคความรักขึ้นสมอง (Love brain) โดยเธอจะเรียกร้องความรักต่อแฟนหนุ่มตลอดเวลา ถึงขั้นต้องโทร.หาแฟนวันละ 100 ครั้ง ซึ่งตั้งข้อสังเกตว่า มักเกิดร่วมกับโรคซึมเศร้า รักษามานานกว่า 3 ปี

ตามรายงานเผยว่า แพทย์หญิงรายหนึ่ง จากศูนย์เวชศาสตร์กายจิตจากโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเมืองเฉิงตู เล่าเคสกรณีศึกษาของคนไข้สาววัย 18 ปีถึงอาการป่วยโรคคลั่งรัก โดยเธอตั้งข้อสังเกตว่าอาการของโรคนี้มักเกิดขึ้นร่วมกับโรคทางจิตอื่นๆ เช่น โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคบุคลิกภาพสองขั้ว (ไบโพลาร์)

ภาพประกอบ

โดยแพทย์ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า โรคนี้เรียกอีกชื่อคือ โรคเสพติดความรัก ซึ่งอาการของผู้ป่วยโรคนี้มักจะหมกมุ่น และเกาะติดอยู่กับคนรักตลอดเวลาจนมากเกินปกติ อย่าง โทรศัพท์หาแฟนแบบถี่ๆ หรือแสดงอาการว่าต้องการพึ่งพาอีกฝ่ายมากเกินไป

ก่อนหน้านี้ คนไข้ของเธอเล่าว่า เธอได้คบหากับแฟนหนุ่มตอนเข้าเรียนมหาลัย ตอนแรกความรักก็ดูปกติหวานชื่นดี แต่เมื่อเวลาผ่านไป ฝ่ายหญิงแสดงอาการหมกมุ่น เรียกร้องให้แฟนหนุ่มต้องคอยบอกเธอตลอดเวลาว่า เขาทำอะไรอยู่ที่ไหน ต้องตอบข้อความของเธอในทันที และต้องการให้เขาอยู่ด้วยตลอดเวลา

ภาพประกอบ

นอกจากนี้ คนไข้ของเธอยังเรียกร้องให้แฟนหนุ่มตอบข้อความในเวลาไม่กี่วินาที หากเขาตอบช้า เธอจะโทรศัพท์หาเขาอย่างบ้าคลั่งจนกว่าจะได้คำตอบ มีครั้งหนึ่งเธอเคยกระหน่ำโทร.หาแฟนถึง 100 ครั้ง เรียกได้ว่าทำทุกวิถีทางเพื่อที่จะได้รู้ว่าอีกฝ่ายทำอะไร








Advertisement

เท่านั้นไม่พอ ด้วยความกลัวว่าเขาจะไม่รักเธอ เธอจึงมักแสดงอารมณ์รุนแรงขว้างปาข้าวของอยู่ในบ้านจนเสียหาย และน่าห่วงที่สุดคือ ครั้งนึงที่แฟนเธอไม่ตอบ เธอพยายามที่จะกระโดดจากระเบียงห้องพัก ดีที่เพื่อนบ้านแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจมาช่วยเธอไว้ได้ทัน

ภาพประกอบ

อย่างไรก็ตาม แพทย์ผู้รักษาได้วินิจฉัยอาการของเธอ และเริ่มต้นกระบวนการรักษา โดยชี้ว่า หลังจากรับการรักษามา 3 ปีคนไข้รายนี้เริ่มมีอาการที่ดีขึ้น อารมณ์รุนแรงของเธอมั่นคงมากขึ้น

ทั้งนี้ หากผู้ป่วยโรคคลั่งรักมีอาการไม่รุนแรงก็สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการเรียนรู้วิธีจัดการอารมณ์ด้วยตัวเอง แต่ถ้าหากมีอาการรุนแรง ก็จำเป็นต้องใช้ยาเข้ามาช่วย เนื่องจากผู้ป่วยที่มีอาการหนักมักมีแนวโน้มที่จะทำร้ายตัวเอง หรืออาจรุนแรงถึงขั้นคิดจบชีวิตตัวเองได้

ภาพประกอบ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน