อุตสาหกรรมพลังงานกำลังพลิกโฉมจาก ‘พลังงานฟอสซิล’ ไปสู่ ‘พลังงานหมุนเวียน’ ซึ่งเป็นพลังงานที่ได้จากแหล่งกำเนิดตามธรรมชาติ เช่น แสงแดด ลม น้ำ ถือเป็นพลังงานสะอาดที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมาก ในขณะที่พลังงานฟอสซิล เป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกและภาวะโลกร้อน

เมื่อผนวกกับการดิสรัปชั่นของโลกยุคดิจิทัลที่ก่อให้เกิดรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติ ได้ปรับตัวทิศทางการดําเนินธุรกิจและการลงทุน โดยมุ่งเน้นการเติบโตในธุรกิจพลังงานอนาคต (Future Energy) และธุรกิจนอกเหนือพลังงาน (Beyond) สอดรับกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง และเทรนด์การใช้ชีวิตของผู้คนในโลกอนาคต เป็นที่มาของวิสัยทัศน์ใหม่ ‘Powering Life with Future Energy and Beyond’ ขับเคลื่อนทุกชีวิตด้วยพลังแห่งอนาคต เพื่อพัฒนาทุกชีวิต ทั้งผู้คน ชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อมและส่งเสริมเศรษฐกิจไทยให้มั่นคงมากยิ่งขึ้นด้วยพลังงานอนาคต ภายใต้การขับเคลื่อนของ ‘อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท.

ในงาน ‘PTT Group CEO Town Hall 2022 : GROWTH BEYOND THE FUTURE ถอดรหัสการเติบโตสู่อนาคตไปด้วยกัน’ ที่จัดขึ้นเมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา ซีอีโอ ปตท. เผยถึงผลการดำเนินงานที่ผ่านมาโดยสอดรับตามทิศทางวิสัยทัศน์ใหม่ และมีความก้าวหน้าและผลประกอบการธุรกิจที่ดี

สรุปสั้นๆ สำหรับ “Future Energy” กลุ่ม ปตท. มุ่งไปที่การลงทุนในธุรกิจพลังงานแห่งอนาคต ทั้งไฟฟ้า พลังงานหมุนเวียน และขยายธุรกิจ EV แบบครบวงจร ขณะเดียวกันก็ลงทุนพัฒนาระบบ Energy Storage & Smart Energy Platform รวมทั้งศึกษาโอกาสการพัฒนาธุรกิจ Hydrogen มุ่งสู่ทิศทางพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ในด้านของ “Beyond” หรือธุรกิจใหม่ที่นอกเหนือไปจากเรื่องพลังงาน จะมุ่งเน้นลงทุนในธุรกิจที่เป็นเทรนด์ระดับโลก ไม่ว่าจะเป็น Life Science, Mobility & Lifestyle, High Value Business, Logistic & Infrastructure AI, Robotics & Digitalization

ช่วยเหลือคนไทยในทุกมิติ








Advertisement

ในช่วงปีที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน กลุ่ม ปตท. ได้เดินหน้าสร้างพลังขับเคลื่อนทุกชีวิต ช่วยเหลือประชาชนในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลและช่วยเหลือด้านราคาพลังงาน โดยร่วมแบ่งเบาภาระต้นทุนค่าครองชีพด้านพลังงานกว่า 17,800 ล้านบาท สนับสนุนเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นกรณีพิเศษ ให้ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มแก่ผู้มีรายได้น้อยที่เป็นร้านค้าหาบเร่-แผงลอยอาหาร ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ช่วยตรึงราคาขายปลีกช่วยเหลือกลุ่มผู้ใช้รถ NGV ทั้งที่เป็นรถส่วนบุคคล และรถแท็กซี่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ตลอดจนจัดหาน้ำมันดิบ เพื่อเพิ่มปริมาณสำรอง บรรเทาภาระต้นทุนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และชะลอการปรับขึ้นราคาน้ำมันขายปลีก

ช่วงเกิดวิกฤตโควิด กลุ่ม ปตท. ยังได้จัดตั้ง ‘โครงการลมหายใจเดียวกัน’ เพื่อให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์โควิด-19 และบรรเทาผลกระทบ ทั้งการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม หน่วยตรวจ-รักษาครบวงจร (End-to-End) จัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ เครื่องช่วยหายใจ แอลกอฮอล์ ให้กับสถานพยาบาล การมอบถุงยังชีพ เครื่องอุปโภค-บริโภคที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยและผู้มีความเสี่ยง จัดหาและพัฒนาวัคซีน ก่อนจะต่อยอดมาเป็น ‘โครงการลมหายใจเพื่อน้อง’ ด้วยการช่วยเหลือเยาวชนที่เสี่ยงต่อการหลุดจากระบบการศึกษา ให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาถึงกว่า 60,000 คน

ทิศทางกลยุทธ์และการลงทุนสู่การเติบโต “3 GROWTH”

เมื่อบริษัทพลังงานทั่วโลกมีแนวโน้มปรับเปลี่ยนพอร์ตการลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างการเติบโตจากธุรกิจใหม่ทั้งพลังงานหมุนเวียน และธุรกิจ Non-Hydorcarbon

กลุ่ม ปตท. กำหนดทิศทางการดำเนินธุรกิจมุ่งเน้นการลงมือปฏิบัติ ขับเคลื่อนกลยุทธ์ไปสู่เป้าหมายทั้งในระยะกลางและระยะยาว เพื่อวัดความสำเร็จของวิสัยทัศน์ โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนพอร์ตการดําเนินธุรกิจ จะเพิ่มสัดส่วนการลงทุนทั้ง Future Energy และ Beyond ช่วง 5 ปีแรก ในสัดส่วน 20% ของเงินลงทุนทั้งหมด และจะขยับไปที่ 30% ในระยะยาว 10 ปี

ที่สำคัญ แผนการลงทุนในอนาคตยังเป็นการลงทุนในต่างประเทศกว่า 50% กลุ่ม ปตท. จึงจําเป็นต้องเตรียมความพร้อมขององค์กร ทั้งบุคลากร และกระบวนการทํางานต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายของปี 2030 ผ่านการเติบโตใน 3 แนวทาง หรือ 3 GROWTH ได้แก่

‘BUSINESS GROWTH’ ขยายธุรกิจพลังงานที่มีแนวโน้มเติบโต รองรับการเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน ประกอบด้วย ธุรกิจก๊าซธรรมชาติเหลว (Liquefied Natural Gas-LNG) ธุรกิจไฟฟ้า (Conventional Power) รวมถึงการลงทุนในธุรกิจไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนทั้งในประเทศและต่างประเทศ

‘NEW GROWTH’ การเติบโตในธุรกิจกิจพลังงานแห่งอนาคตและธุรกิจที่ไกลกว่าพลังงานที่สอดคล้องตามวิสัยทัศน์ เช่น Renewable Energy, EV Value Chain, Energy Storage, Hydrogen, Life Science, Mobility & Lifestyle, High-Value Business, Infrastructure & Logistics และ AI, Robotics & Digitalization โดยให้มีสัดส่วนกำไรสุทธิ 30% ในปี 2030 เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวเร็วกว่าเป้าหมายของประเทศ

‘CLEAN GROWTH’ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของทั้งกลุ่ม ปตท. ให้ได้ 15% ในปี 2030 (เทียบจากปี 2020) สำหรับ ปตท. ได้กำหนดเป้าหมายพร้อมมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2040 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ในปี 2050 และทุกบริษัทในกลุ่ม ปตท. ได้กำหนดเป้าหมาย Net Zero Emissions ครบถ้วนแล้ว โดยกลุ่ม ปตท. พร้อมเป็นกำลังมุ่งสู่ Net Zero Emissions ให้เร็วกว่าเป้าหมายของประเทศ

ทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้เป้าหมายสูงสุด คือ การเป็นองค์กรด้านพลังงานที่มีความพร้อมในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวผ่านการเปลี่ยนแปลง ช่วยยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ มีส่วนร่วมพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของคนไทยอย่างยั่งยืน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน