“วราวุธ” เตรียมชงครม. ให้ที่สปก. ปลูกไม้มีค่าตัดขายได้ สามารถปลูกไม้มีค่า ตัดได้ขายได้ คาดว่าเพิ่มพื้นที่ปลูกไม้มีค่ากว่า 10 ล้านไร่

ที่ผ่านมารัฐบาลโดยการนำของท่านพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้แก้ไข พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 โดยการแก้ไขมาตรา 7 ที่กำหนดเกี่ยวกับไม้หวงห้ามที่ขึ้นในที่ดินที่มีกรรมสิทธ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวล กฎหมายที่ดิน หรือไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์ตามประเภทหนังสือแสดงสิทธิให้ถือว่า ไม่เป็นไม้หวงห้าม สามารถปลูกและตัดขายได้ในอนาคตอย่างถูกกฎหมาย

โดยปลดล็อคไม้หวงห้าม จำนวน 158 ชนิด เช่น ไม้สัก ไม้ยาง ไม้พะยูง และไม้หายาก จำนวน 13 ชนิด เช่น กระเบา มะแข่น จันทน์หอม ตีนเป็ดแดง เป็นต้น

กดติดตามไลน์ ข่าวสด official account ได้ที่นี่
เพิ่มเพื่อน

นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวว่า หลังจากที่รัฐบาลปลดล็อกแก้ไขกฎหมาย จากไม้หวงห้ามเป็นไม้มีค่า ปัจจุบันประชาชนปลูกไม้มีค่าและลงทะเบียนกับกรมป่าไม้ไปแล้ว 70,874 ราย เนื้อที่รวม 1,116,200ไร่ คิดเป็นต้นไม้มีค่าประมาณ 223,240,000 ต้น

โดยนายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) เตรียมเสนอครม. ขอความเห็นชอบ ในการออกเป็นประกาศกระทรวงฯ ปลดล็อก พื้นที่ สปก. ซึ่งเป็นประเภทที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถปลูกไม้มีค่าได้ ในที่ดิน สปก. เพื่อสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพ และสร้างรายได้ให้ครัวเรือน”

นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมป่าไม้

นอกจากนี้ไม้ที่ปลูกสามารถใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน เป็นการปลูกป่าสร้างรายได้และเป็นมรดกให้กับครอบครัวในอนาคตได้อีกด้วย ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีรายได้ อีกทั้งยังช่วยแก้ปัญหาการบุกรุกและลักลอบตัดไม้ และเป็นการช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวและสร้างความชุ่มชื้น ให้กับประเทศอีกทางหนึ่ง

“คาดว่าจะมีคนสนใจปลูกไม้มีค่าเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 10 ล้านไร่ อนาคตอีกไม่นานประเทศไทยจะมีเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาลจากไม้มีค่า” นายอรรถพล กล่าวย้ำ

นางนันทนา บุณยานันต์ โฆษกกรมป่าไม้ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมป่าไม้พร้อมให้การสนับสนุนประชาชนที่ปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ ร่วมลงทะเบียนไม้มีค่าในที่ดินกรรมสิทธิ์ (E-Tree) ผ่านเว็บไซต์ กรมป่าไม้ เพื่อเป็นการส่งเสริมการปลูกต้นไม้ และการค้าไม้เศรษฐกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

นางนันทนา บุณยานันต์ โฆษกกรมป่าไม้

โดยประชาชน จะได้รับประโยชน์ในด้านการอำนวยความสะดวกเรื่องการทำไม้และการเคลื่อนย้ายไม้ และในอนาคต ไม่จำเป็นต้องทำเรื่องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่อีกต่อไป เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมไม้และการบริหารจัดการด้านการป่าไม้ให้มีประสิทธิภาพ ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจทางด้านป่าไม้ของประเทศต่อไป

อ่านข่าว ทส.ชวนปลูกต้นไม้วันต้นไม้ชาติ“รวมใจไทย ปลูกต้นไม้ เพื่อแผ่นดิน”สู่100ล้านต้น

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน