เกิดอะไรขึ้นกับระบบเตือนภัยสึนามิ อินโดฯ ติดขัดแค่เงิน2ล้าน?

เกิดอะไรขึ้นกับระบบเตือนภัยสึนามิ – เมื่อ 1 ต.ค. เอพี รายงานวิเคราะห์ปัญหาระบบการเตือนภัยสึนามิของอินโดเซีย ว่าหากทำงานเตือนภัยได้เร็วกว่านี้จะช่วยชีวิตคนได้อีกมาก คงไม่มีผู้เสียชีวิตสูงกว่า 1,200 รายจากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 28 ก.ย.

อินโดนีเซียเคยบอบช้ำในเหตุการณ์มหาภัยพิบัติสึนามิเข้าซัดกวาดเกาะอาเจะห์เมื่อปี 2547 คร่าชีวิตผู้คนกว่า 230,000 ราย ทำให้มีหลายประเทศมาช่วยพัฒนาศักยภาพการเตือนสึนามิเพื่อแทนระบบเก่าของอินโดฯ

ระบบเตือนภัยสึนามิหลักของอินโดนีเซียที่มีหน่วยงาน BMKG กำกับรับผิดชอบ เป็นเครื่อข่ายของสถานีวัดน้ำขึ้นน้ำลง 134 สถานี สมทบด้วยเครื่องมือตรวจจับแผ่นดินไหว ไซเรนราว 55 แห่ง และมีระบบแจ้งเตือนข้อความ

ความเสียหายในเมืองปาลู AP Photo/Tatan Syuflana

ส่วนระบบไฮเทคที่ต้องติดตั้งคือการติดอุปกรณ์ตรวจจับที่พื้นทะเล ระบบคลื่นเสียง และสายไฟเบอร์ออพติก แทนที่ระบบเดิม แต่การติดตั้งกลับล่าช้าเพราะไม่อาจบรรลุการปล่อยงบประมาณเพียง 1,000 ล้านรูเปียะห์ หรือราว 2 ล้านบาทออกมาเพื่อจะทำให้โครงการเสร็จสิ้น ระบบจึงไม่ได้ก้าวข้ามไปจากต้นแบบที่ได้รับเงินพัฒนาจากมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐ 3 ล้านดอลลาร์ หรือราว 96 ล้านบาท

EDITORS NOTE: Graphic content / This photo shows bodies of victims of the earthquake and tsunami in Palu, on Sulawesi island on September 29, 2018. / AFP PHOTO / OLA GONDRONK

ในปี 2559 ขณะเกิดแผ่นดินไหวนอกชายฝั่งเกาะสุมาตรา พบว่าทุ่นอุปกรณ์เตือนภัยสึนามิอย่างหนึ่งใช้การไม่ได้ เนื่องจากถูกขโมยหรือหยุดทำงาน และขาดแคลนเงินบำรุงรักษา

กระทั่งมาถึงเหตุสึนามิซัดเกาะสุลาเวสีครั้งนี้ ทุกอย่างก็สายไปเสียแล้ว สะท้อนถึงระบบการเตือนภัยที่มีอยู่นั้นไม่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งการตื่นตัวรับรู้ถึงภัยสึนามิของประชาชนยังอยู่ในระดับต่ำ

Survivors ride past debris in a devastated area in Palu, Indonesia’s Central Sulawesi on October 1, 2018. / AFP PHOTO / Jewel SAMAD

มีหลายคนเห็นว่า หน่วยงาน BMKG ยกเลิกการเตือนภัยสึนามิครั้งนี้เร็วเกินไป แม้ว่าเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานยืนกรานว่า ตอนที่คลื่นซัดเข้ามานั้น คำสั่งเตือนภัยยังใช้การอยู่

Survivors walk around debris in a devastated area in Palu. / AFP PHOTO / Jewel SAMAD

ดวีโกริตา กรณาวาติ ประธาน BMKG ให้สัมภาษณ์จาการ์ตาโพสต์ ว่าคำสั่งยกเลิกเตือนภัยสึนามินั้นเกิดขึ้นหลังจากได้รับข้อมูลเรื่องสึนามิแล้ว อีกครั้งมาจากการสังเกตการณ์โดยเจ้าหน้าที่ BMKG ในเมืองปาลู คำสั่งยกเลิกมีหลังจากคลื่นลูกที่สามที่เป็นลูกสุดท้ายที่ซัดเข้าฝั่งผ่านไปแล้ว โดยสิ้นสุดลงเมื่อเวลา 18.37 น. และหลังจากยกเลิกคำเตือนแล้ว ก็ไม่มีสึนามิอีก

เกิดอะไรขึ้นกับระบบเตือนภัยสึนามิ

เจ้าหน้าที่เร่งฝังศพเพื่อป้องกันเชื้อโรคระบาด .(AP Photo/Tatan Syuflana)

นายเกวิน ซุลลิแวน จากมหาวิทยาลัยโคเวนทรี ผู้ทำงานให้โครงการเตรียมรับมือหายนภัยที่เมืองบันดุงของอินโดนีเซีย ให้ความเห็นว่า ข้อเท็จจริงในเหตุการณ์นี้ ก็คือยังมีคนอยู่รอบๆ แนวชายฝั่ง ทั้งๆ ที่เห็นคลื่นว่ากำลังซัดเข้ามานั้น บ่งบอกว่าบทเรียนหายนภัยในอดีตนั้นไม่ได้มีผลเลย

อ่านข่าวก่อนหน้านี้ :

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน