นาซาเฮลั่น ยานอินไซต์บุกลงจอดบนดาวอังคารสำเร็จ ส่งภาพมาได้ดั่งใจ

นาซาเฮลั่นเอพี รายงานว่า เมื่อ 26 พ.ย. ทีมงานองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือนาซา ที่ห้องปฏิบัติการ JPL เมืองพาซาเดนา รัฐแคลิฟอร์เนีย ฉลองกันอย่างปลาบปลื้ม หลังควบคุมยานสำรวจอินไซต์ (InSight lander) ลงจอดบนพื้นผิวดาวอังคารได้สำเร็จ หลังเดินทางจากโลกไปนาน 6 เดือน ระยะทาง 482 ล้านกิโลเมตร นับเป็นภารกิจสำรวจอวกาศครั้งแรกที่มุ่งจะศึกษาโครงสร้างภายในของดาวเคราะห์สีแดงโดยเฉพาะ

ยานสำรวจอินไซต์ลงจอดบนที่ราบเอลีเซียม แพลนิเทีย ทางตอนเหนือของเส้นศูนย์สูตรดาวอังคาร ตามแผนที่วางไว้ ทั้งยังถ่ายภาพภูมิประเทศรอบตัว และส่งกลับมายังโลกภายใน 30 นาทีแรกที่แตะพื้นดาวอังคาร ตามโปรแกรมที่ตั้งไว้

“ไร้ตำหนิ!” นายร็อบ แมนนิง หัวหน้าทีม JPL ประกาศก้อง ก่อนกล่าวว่า “นี่เป็นสิ่งที่เราหวังไว้และจินตนาการอยู่ในดวงตาของจิตใจ บางครั้งเรื่องก็เป็นไปอย่างที่เราอยากให้เป็น”

นาซาเฮลั่น

นาทีเฮลั่น People at NASA’s Jet Propulsion Laboratory in Pasadena, Calif., celebrate as the InSight lander touches down on Mars on Monday, Nov. 26, 2018. (AP Photo/Marcio Jose Sanchez)

ทีมงานนาซาลุ้นระทึกกับภารกิจนี้มาก เนื่องจากมีความยากลำบากมากมาย ทั้งสภาพอากาศที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ของดาวอังคาร รวมทั้งปัญหาทางเทคนิคอื่นๆ อีกทั้งบรรยากาศของดาวอังคารที่เบาบางเพียง 1% ของบรรยากาศโลกทำให้เกิดแรงเสียดทานที่จะช่วยชะลอความเร็วของยานได้น้อย ทำให้ภารกิจในอดีตล้มเหลวมาแล้วหลายครั้ง

ภาพจำลองยานอินไซต์ลงจอดบนดาวอังคาร This illustration made available by NASA in October 2016 shows an illustration of NASA’s InSight lander about to land on the surface of Mars.

บรูซ แบเนิร์ดต์ หัวหน้าทีมอินไซต์ กล่าวว่า การลงจอดที่ดาวดังคารเป็นงานยากยิ่งสำหรับการสำรวจ มันเป็นงานหิน อันตราย และมีโอกาสอันไม่น่าสบายใจว่าอาจเกิดอะไรผิดพลาดได้

ทั้งนี้ ยานอินไซต์ใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีส่วนใหญ่แบบเดียวกับยานฟีนิกซ์ ซึ่งเคยลงจอดบนดาวอังคารสำเร็จมาแล้ว ประสบความสำเร็จในการลงจอดบนดาวอังคารมาแล้วในปี 2550 ส่วนครั้งสุดท้ายที่นาซาส่งยานไปลงจอด คือคิวริออสซิตี โรเวอร์ เมื่อปี 2552

ภาพพื้นผิวดาวอังคารที่ยานส่งมายังโลกหลังจากลงจอด A image transmitted from Mars by the InSight lander is seen on a computer screen at NASA’s Jet Propulsion Laboratory Monday, Nov. 26, 2018, in Pasadena, Calif. (NASA via AP)

สำหรับภารกิจต่อไปนี้ คือการสำรวจโครงสร้างภายในของดาวเคราะห์สีแดง ตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหวที่ช่วยบ่งบอกถึงสภาพชั้นหินและโครงสร้างทางธรณีวิทยาภายใน และมีหุ่นยนต์ตัวตุ่น คอยวัดอุณหภูมิใต้ดินของดาว โดยจะฝังตัวอยู่ลึกลงไปจากพื้นผิว 5 เมตร เพื่อให้ทราบว่าดาวอังคารยังคงมีความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงภายในอยู่มากน้อยเพียงใด

นอกจากนี้ ยานจะส่งสัญญาณคลื่นวิทยุเพื่อวัดว่าดาวอังคารเหวี่ยงตัวรอบแกนหมุนของตนเองอย่างไร ซึ่งข้อมูลจากการตรวจสอบและทดลองทั้งหมดนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษาเรื่องวิวัฒนาการของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ

อ่านข่าวก่อนหน้านี้ :

ลุ้นยานสำรวจ “อินไซต์” เตรียมลงจอดบนดาวอังคารในคืนนี้

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน