พบซากไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่ ตั้งชื่อตามตัวละคร ลอร์ด ออฟ เดอะ ริงส์

พบซากไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่ซีเอ็นเอ็น รายงานว่า นักวิจัยค้นพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์เลื้อยคลานจากยุคไทรแอสซิกตอนต้น ที่ประเทศบราซิล มันเคยมีชีวิตอยู่ระหว่าง 247- 251 ล้านปีก่อน และตั้งชื่อว่า “สไตรเดอร์” ตัวละครดังแห่งนิยาย ลอร์ด ออฟ เดอะ ริง ของ เจ.อาร์.อาร์. โทลคีน

เมื่อประมาณ 250 ล้านปีก่อน ตอนปลายยุคเพอร์เมียน เกิดเหตุการณ์สำคัญบนโลก ทำให้สัตว์ทะเลร้อยละ 95 และสัตว์บกร้อยละ 70 สูญหายไป แม้ไม่ทราบสาเหตุจนถึงทุกวันนี้ แต่นักวิจัยเชื่อว่าภูเขาไฟปะทุทำให้สภาพอากาศอุ่นขึ้น

หลังจากเหตุการณ์สูญพันธุ์ในยุคเพอร์เมียน สัตว์ต่างๆ มีวิวัฒนาการ แต่สัตว์บางจำพวกมีวิวัฒนาการมากกว่าประเภทอื่น รวมทั้ง อาร์โคซอร์ หรือ กิ้งก่า ที่มีมากมายหลายชนิด เช่น ชนิดที่มีลักษณะเหมือนจระเข้ สัตว์นักล่าตัวใหญ่ หรือกินพืช มีเกล็ดหุ้มร่างกาย ซึ่งกระจายอยู่ทั่วทั้วโลกในยุคไทรแอสซิก

ส่วนกลุ่มที่นักวิจัยยังไม่ค่อยรู้จัก จะเรียกว่า “ทานีสโตรฟีอิด” มีคอยาว มีกระดูกสันหลังประมาณ 8-13 ข้อ พบตัวอย่างฟอสซิลมากมายที่เป็นสัตว์เลื้อยคลาน ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงกลางถึงปลายยุคไทรแอสซิก ทั้งในเอเชีย ยุโรปและอเมริกาเหนือ

พบซากไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่

ก่อนหน้านี้ เคยพบซากฟอสซิลของทานีสโตรฟีอิดในตะกอนใต้น้ำ ทำให้สันนิษฐานว่าอาจอาศัยในน้ำ
ต่อมา นักวิจัยพบซากสัตว์เลื้อยคลานที่คล้ายกันจากฟอสซิลยยุคไทรแอสซิกตอนต้นที่ติดอยู่กับก้อนตะกอนหินดึกดำบรรพ์ซันกา โด คาบรัล ในบราซิล ซึ่งเชื่อว่าอาจเป็นเครือญาติของทานีสโตรฟีอิด

นักวิจัยตั้งชื่อให้ไดโนเสาร์ที่สปีชีส์ที่พบใหม่ ว่า Elessaurus gondwanoccidens (อเลสซอรัส กอนด์วานอคซิเดนส์) แฟนๆ ลอร์ด ออฟ เดอะ ริง ของโทลคีน คงจะคุ้นเพราะบางคำในชื่อแรก มาจากภาษาเอลฟ์ ที่เรียกว่า เควนยา

ภาษาเควนยา คำว่า อีเลสซาร์ แปลว่า ศิลาของเอลฟ์ และชื่อ อีเลสซาร์ เทลคอนตาร์ เป็นชื่อของกษัตริย์ที่ 2 ผู้มีชื่อเรียกอย่างลำลอง ว่า สไตรเดอร์ และ ลองแชงก์ เจ้าสัตว์เลื้อยคลานยุคดึกดำบรรพ์มีขายาว จึงเหมาะที่จะใช้ชื่อนี้

พบซากไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่

ส่วนชื่อสปีชีส์ “กอนด์วานอคซิเดนส์” มาจากชื่อแผ่นเปลือกโลกเก่ากอนด์วานา ปัจจุบัน แผ่นเปลือกโลกเก่าครอบคลุมแอนตาร์กติกา อเมริกาใต้ แอฟริกา อินเดีย คาบสมุทรอาระเบีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์

ขณะที่คำว่า ออคซิเดนส์ ในภาษาละติน แปลว่า มาจากตะวันตก ซึ่งเป็นสถานที่ค้นพบฟอสซิล
นักวิจัยเชื่อว่าอีเลสซอรัสอาศัยบนบก และสันนิษฐานว่าญาติของทานีสโตรฟีอิดก็อาศัยบนบกเช่นกัน ส่วนญาติที่พบจากทางใต้แสดงให้เห็นว่ามีความหลากหลายและกระจายตัวอยู่หลังการสูญพันธ์ในยุคเพอร์เมียน

นอกจากนี้ นักวิจัยยังเชื่อว่าอีเลสซอรัสอาจเป็นบรรพบุรุษของทานีสโตรฟีอิด ซึ่งวิวัฒนาการมาอาศัยในน้ำทางตอนเหนือของทวีป

+++++

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :

พบซากไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่ เป็นญาติกันกับไทแรนโนซอรัสเร็กซ์

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน