พบดอกไม้ในอำพัน เป็นชนิดใหม่เคยบานในเมียนมา 100 ล้านปีก่อน

พบดอกไม้ในอำพันเดลีเมล์ รายงานการค้นพบดอกไม้ในอำพัน เคยเบ่งบานเมื่อ 100 ล้านปีก่อนที่ประเทศเมียนมาในปัจจุบัน

นักวิจัยมหาวิทยาลัยโอเรกอน สหรัฐอเมริกา ระบุว่าดอกไม้ชนิดนี้เป็นสปีชีส์ใหม่ในวงศ์พืชชั้นสูง หรือพืชดอกที่เคยอยู่ในยุคครีเตเชียส และเก็บรักษาเป็นอย่างดีในอำพัน

มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Valviloculus pleristaminis จัดอยู่ในตระกูลไม้ดอกเป็นญาติกับต้นแบล็กฮาร์ต ซาซาฟราส ที่พบในออสเตรเลีย

พบดอกไม้ในอำพัน

เมียนมาและออสเตรเลียห่างกันกว่า 7,400 ก.ม. แต่ในอดีตเมื่อครั้งที่ดอกไม้อยู่ในอำพัน ทั้ง 2 ประเทศอยู่ในมหาทวีปกอนด์วานาเหมือนกัน

การค้นพบดอกไม้ Valviloculus pleristaminis ทำให้ทราบว่าแผ่นทวีปแยกอออกจากมหาทวีปกอนด์วานาเป็นเวลานานกว่าที่คาดไว้ในทฤษฎีคาดไว้ก่อนหน้านี้

จอร์จ พอยนาร์ จูเนียร์ นักบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยโอเรกอน กล่าวว่านี่อาจจะไม่ใช้ดอกไม้คริสต์มาสแต่สวยดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นดอกไม้ที่เคยอยู่บนโลกนี้เมื่อเกือบ 100 ล้านปีก่อน
ดอกเพศผู้มีขนาดเล็กมาก ประมาณ 2 มิลลิเมตร แต่มีเกสรตัวผู้ประมาณ 50 เกสร ลักษณะคล้ายก้นหอยที่ชี้ขึ้นไปบนฟ้า

พบดอกไม้ในอำพัน

เกสรตัวผู้เป็นส่วนหนึ่งของดอกไม้เพศผู้ทำหน้าที่ผลิตเรณูซึ่งส่วนที่เรียกว่าอับเรณูคอยผลิตเรณู
จอร์จและเพื่อนที่ภาควิชาเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยโอเรกอน ตั้งชื่อดอกไม้ชนิดนี้ขึ้นมาและตีพิมพ์รายงานในวารสารของสถาบันวิจัยพฤกษศาสตร์แห่งเท็กซัส

Valva เป็นภาษาละติน แปลว่า “ใบไม้บนประตูบานพับ” ส่วน loculus แปลว่า “การแบ่ง” และ plerus หมายถึง “มากมาย” ส่วน staminis คือ “ดอกไม้ที่มีอวัยวะเพศผู้หลายอัน”

จอร์จกล่าวว่าตัวอย่างที่ได้มาเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มดอกไม้ซึ่งอาจะมีดอกไม้เพศเมียด้วยก็ได้
นอกจากความสวยงามแล้ว ฟอสซิลดอกไม้ยังมีคุณค่าเหนือกาลเวลา เนื่องจากบานในช่วงที่มหาทวีปกอนด์วานายังอยู่ และถูกอัมพันหุ้มไว้ก่อนที่จะแยกเป็นแผ่นทวีปพม่าตะวันตกและค่อยๆ แยกจากกันเป็นทวีปออสเตรเลียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ปัจจุบันนี้ นักภูมิศาสตร์ยังคงเป็นข้อถกเถียงกันว่าแผ่นทวีปพม่าตะวันตก แยกออกจากมหาทวีป กอนด์วานาเมื่อใด กระทั่งในที่สุดก็แตกออกเป็นทวีปแอฟริกา อเมริกาใต้ ออสเตรเลีย แอนตาร์กติกา อนุทวีปอินเดียและคาบสมุทรอาระเบีย

นักภูมิศาสตร์บางคนเชื่อว่าน่าจะแยกออกจากมหาทวีปเมื่อ 500 ล้านปีก่อน ขณะที่อีกหลายคนเชื่อว่าน่าจะแยกจากกันเมื่อ 200 ล้านปีที่แล้ว

นักวิจัยมหาวิทยาลัยโอเรกอน คาดว่าน่าจะย้อนกลับไป 100 ล้านปีก่อนเพราะเป็นช่วงที่พืชดอกมีวิวัฒนาการและมีความหลากหลาย จึงสันนิษฐานว่าแผ่นทวีปพม่าตะวันตกไม่น่าจะแยกออกจากมหาทวีปก่อนหน้านั้น

พบดอกไม้ในอำพัน

จอร์จ พอยนาร์ จูเนียร์

จอร์จ พอยนาร์ จูเนียร์ เป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงระดับโลกด้านการวิจัยพืชและสัตว์ที่พบในอำพัน และงานวิจัยของจอร์จเป็นแรงบันดาลใจให้ไมเคิล ไครช์ตัน เขียนเรื่องจูราสสิค พาร์ค

ปี 2556 ผู้เชี่ยวชาญท่านนี้ค้นพบเศษอำพันซึ่งเป็นหลักฐานเก่าแก่ที่สุดสะท้อนให้เห็นว่าพืชดอกมีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศซึ่งจากการค้นพบดอกไม้ขนาดเล็กในกลุ่มดอกไม้ยุคครีเตเชียสที่มีท่อขนาดเล็กเติบโตนอกกระเปาะของละออกเกสรดอกไม้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศเมีย

//////////////

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :

พบสเปิร์มเก่าแก่สุดในโลก ฝังอยู่ในอำพันพม่า100 ล้านปี ขนาดใหญ่เบิ้ม

ผืนโลกเตรียมย้อนเวลา กลับไปเป็นมหาทวีปเหมือน “แพนเจีย” ในอีก 200 ล้านปีข้างหน้า

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน