เมื่อพม่าถูกสหรัฐแซงก์ชั่น ธุรกิจอะไรจะโดนก่อน พิษรัฐประหาร

เมื่อพม่าถูกสหรัฐแซงก์ชั่นรอยเตอร์ รายงานการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญด้านการค้าและนักวิจัย ถึงผลกระทบจากการรัฐประหารในเมียนมา ต่อการลงทุนของสหรัฐอเมริกา และบริษัทชาติตะวันตก ว่าอาจทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่ในสหรัฐถอนตัวออกไป

เมื่อพม่าถูกสหรัฐแซงก์ชั่น

สำนักงานสถิติสหรัฐ ระบุว่าการค้าระหว่างเมียนมากับสหรัฐ มีมูลค่าเกือบ 1,300 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 39,000 ล้านบาท ช่วง 11 เดือนแรกของปี 2563 มากกว่าปี 2562 ซึ่งมีมูลค่าการค้าอยู่ที่ 1,200 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 36,000 ล้านบาท

บริษัท Panjiva ผู้บริการข้อมูลการค้าระหว่างประเทศเปิดเผยว่าเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มและรองเท้ามีสัดส่วนการค้าสูงที่สุดถึงร้อยละ 41 ของสินค้าที่สหรัฐนำเข้าทั้งหมด ตามมาด้วยกระเป๋าเดินทาง เกือบร้อยละ 30 และปลา ร้อยละ 4

แซมโซไนท์ กระเป๋าเดินทางยี่ห้อดัง และบริษัทผลิตเสื้อผ้า แอล แอล บีน เป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ นอกเหนือจากเอช แอนด์ เอ็ม และ อาดีดาส

แม้สหรัฐมีปริมาณการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นเพราะเป็นผลจากกำแพงภาษีสินค้าจากจีน แต่เมียนมาก็ยังรั้งตำแหน่งประเทศส่งออกกสินค้าเข้าสหรัฐ อยู่ลำดับที่ 84

เมื่อพม่าถูกสหรัฐแซงก์ชั่น

ท่าเรือในเมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา ถ่ายเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2018 / Xinhua

ธนาคารโลกรายงานว่า การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ หรือ เอฟดีไอ ในเมียนมาขยับสูงขึ้นเป็นร้อยละ 33 หรือประมาณ 5,500 ล้านหรือประมาณ 165,000 ล้านบาท เมื่อปีงบประมาณ 2562/2563 โดยสิงคโปร์และฮ่องกงลงทุนมากที่สุด แต่ในอนาคตอาจไม่แน่นอน เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 และการพัฒนาตลาด

อ่านข่าว : การค้าระหว่างประเทศเมียนมาเฉียด 5 พันล้านดอลลาร์ ใน 2 เดือน

………..

กองทัพเมียนมาทำรัฐประหารเมื่อวันจันทร์ที่ 1 ก.พ. และส่งมอบอำนาจาจบริหารและตุลาการให้กับ พล.อ.มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและประกาศใช้สถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเวลา 1 ปี โดยให้เหตุผลการทำรัฐประหารว่ามีการโกงเลือกตั้ง

อ่านข่าว : เปิดแถลงไบเดนขู่คว่ำบาตร! แซะเรียกเบอร์มาแทนเมียนมา จี้กองทัพคืนอำนาจ

Army soldiers clear the traffic as an armoured personnel vehicle moves on a road in Yangon, Myanmar, January 28, 2021. Picture taken January 28, 2021. REUTERS

ผู้นำตะวันตกต่างออกมาประณามการกระทำดังกล่าวและสหรัฐฯ ขู่ว่าจะคว่ำบาตรเมียนมารอบใหม่ อีกทั้ง ยังก่อให้เกิดคำถามเกี่ยวกับชะตากรรมของผู้อพยพชาวโรฮิงญานับล้านคน

ลูคัส ไมเยอรส์ นักวิเคราะห์จากศูนย์วู้ดโรว วิลสัน อินเตอร์เนชันแนล กล่าวว่ารัฐประหารจะทวีความตึงเครียดระหว่างสหรัฐกับเมียนมา หลังจากใช้มาตรการลงโทษ หรือแซงก์ชั่นเมียนมา ตั้งแต่เมื่อเดือน ธ.ค. 2562 และอาจทำให้ความสัมพันธ์ทางการค้ายุ่งยากมากขึ้น

พลเอก อาวุโส มิน อ่อง ไหล่

เมื่อพิจารณาทางการค้า จะเห็นว่าประเด็นปัญหาเกี่ยวกับสถานการณ์ชาวโรฮิงญาและสิทธิมนุษยชนในเมียนมาทำให้เมียนมามีความน่าสนใจลงทุนจากบริษัทตะวันตกน้อยกว่าเมื่อเทียบกับจีน

ด้านวิลเลียม ไรนช์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการค้า ศูนย์ยุทธศาสตร์และนานาชาติศึกษา กล่าวว่าบริษัทอเมริกันอาจจะถอนตัวจากเมียนมา ขณะที่รัฐบาลของนายไบเดนอาจจะเพ่งเล็งประเด็นสิทธิมนุษยชนมากขึ้น

แซะเรียก “เบอร์มา” แทนเมียนมา

คณะรัฐประหารของนายพลมิน อ่อง ไหล่ . AP

ช่วงไม่กี่ปีมานี้ บริษัทอเมริกันย้ายฐานการลงทุนจากจีนมายังเมียนมาเพราะค่าแรงต่ำกว่าทำให้มีเม็ดเงินลงทุนหลั่งไหลไม่ขาดสาย แม้ระบบสาธารณูปโภคเมียนมายังขาดแคลนอยู่ก็ตาม

ไรนช์มองว่าธุรกิจอเมริกันส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ได้ลงทุนมากนัก จึงย้ายฐานการผลิตได้ง่าย แม้จะใช้เวลาก็ตาม

ไมก์ เพนซ์ เมื่อครั้งเป็นรองประธานาธิบดีสหรัฐ พบปะ นางซู จี ที่สิงคโปร์ เมื่อปี 2561

ส่วนสตีเฟน ลามาร์ ประธานสมาคมเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าอเมริกัน กล่าวว่าสมาชิกสมาคมที่ทำธุรกิจในเมียนมาเป็นห่วงกังวลการรัฐประหารอย่างยิ่งและเรียกร้องให้ฟื้นฟูสถาบันประชาธิปไตยและสิทธิตามระบอบประชาธิปไตยอย่างเต็มที่และในทันที พร้อมทั้งขออวยพรให้ชาวเมียนมาแก้วิกฤตให้ผ่านไปโดยเร็วด้วยสันติและประชาธิปไตย

ขณะที่โฆษกของเอช แอนด์ เอ็ม กล่าวว่าบริษัทจับตามองสถานการณ์และประสานกับผู้จัดจำหน่ายในเมียนมาอย่างใกล้ชิด แต่ยังไม่มีแผนที่จะย้ายฐานการผลิต

////////////

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : เปิดแถลงไบเดนขู่คว่ำบาตร! แซะเรียก “เบอร์มา” แทนเมียนมา จี้กองทัพคืนอำนาจ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน