เตือนอย่าใกล้ค้างคาวเดอะ มิเรอร์ รายงานว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขพบไวรัสร้ายแรงในค้างคาว ที่รัฐเซาท์ออสเตรเลียอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ พร้อมเตือนประชาชนให้อยู่ห่างจากค้างคาว

หน่วยงานสาธารณสุขเซาท์ออสเตรเลียออกแถลงการณ์ เตือนอย่าใกล้ค้างคาว โดยให้ประชาชนที่ออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้งหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับค้างคาวเนื่องจากมีความกังวลว่าค้างคาวมีเชื้อไวรัส Australian Bat Lyssavirus หรือ ABL เอบีแอล ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสคล้ายกับไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าและติดต่อคนได้หากถูกค้างคาวกัด

ถ้าถูกค้างคาวกัด ไวรัสดังกล่าวจะทำลายระบบประสาทส่วนกลางและมักจะเสียชีวิต

ด้านองค์การอนามัยโลกประเมินว่าในแต่ละปี อาจมีประชาชนทั่วโลกกว่า 55,000 รายเสียชีวิตเพราะพิษสุนัขบ้า แต่มีเพียง 3 รายเท่านั้นที่เสียชีวิตจากไวรัสเอบีแอล นับตั้งแต่ค้นพบไวรัสชนิดนี้เมื่อปี 2539

ส่วนเมล์ออนไลน์รายงานว่า มีการยืนยันว่าค้างค้าวในรัฐเซาท์ออสเตรเลียติดไวรัสเอบีแอลเป็นครั้งที่ 3 แล้ว

เตือนอย่าใกล้ค้างคาว

(Image: Getty Images/iStockphoto)

ด้านหลุยส์ ฟลัด จากกรมควบคุมโรคชุมชน กระทรวงสาธารณสุขเซาท์ออสเตรเลียกล่าวว่าไวรัสเอบีเอลคล้ายกับไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าและแพร่เชื้อมาสู่มนุษย์ได้ หากถูกค้างคาวกัดหรือข่วน หากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงทีและแสดงอาการแล้วก็มักจะเสียชีวิต

แม้ค้างคาวอาจติดไวรัสเอบีแอลเพียงร้อยละ 1 แต่ก็มีความจำเป็นที่คนเลี้ยงค้างคาวต้องได้รับการฝึกฝนมาอย่างถูกต้องเหมาะสมและได้รับการฉีดวัคซีน

หากถูกค้างคาวกัดหรือข่วน ให้รีบรักษาแผลทันทีและรับยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสเอบีแอลพัฒนา

เตือนอย่าใกล้ค้างคาว

(Image: Getty Images/iStockphoto)

ส่วนแมร์รี คารร์ จากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานเตือนเจ้าของสัตว์เลี้ยงให้อยู่ห่างจากค้างคาวห

สำหรับอาการผู้ที่ติดไวรัสเอบีแอลจะมีอาการคล้ายไข้หวัด รวมทั้ง ปวดศีรษะ ไม่ไข้และอ่อนเพลีย อาการพันาอย่างรวดเร็วจนถึงกับเป็นอัมพาต สับสนกระวนกระวาย ชักและเสียชีวิตภายใน 1-2 สัปดาห์

ทั้งผู้ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าและติดไวรัสเอบีแอลแสดงอาการป่วยต่างๆ กันและใช้เวลากว่าจะแสดงอาการซึ่งอาจกินเวลาหลายวันจนถึงหลายปี

เจ้าหน้าที่แนะนำว่าหากถูกค้างคาวกัดหรือข่วน ให้รีบล้างน้ำอย่างน้อย 5 นาที ทายาฆ่าเชื้อที่มีฤทธิ์ฆ่าไวรัสและพบแพทย์โดยด่วนที่สุด

ส่วนในอังกฤษ ปลอดโรคพิษสุนัขบ้ามาหลายปีแล้ว โดยเมื่อปี 2561 มีการตรวจพบโรคพิษสุนัขบ้าในค้างคาวขนาดเล็กในเมืองดอร์เซ็ตซึ่งครั้งนั้นหน่วยงานสาธารณสุขอังกฤษสั่งให้แพทย์ฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าให้แก่ผู้ป่วยที่มีประวัติสัมผัสกับค้างคาว

//////////////

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : เหตุใดค้างคาวเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ต่าง ๆ กลับไม่มีอาการป่วยใด ๆ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน