นักข่าวญี่ปุ่นพ้นคุก ไม่รอช้า เรียกร้องให้ รัฐบาลญี่ปุ่น ใช้มาตรการจัดการกับรัฐบาลทหารเมียนมา อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมแฉในคุกมีการทรมานนักโทษหนักถึงตาย

เมื่อวันที่ 21 พ.ค.64 สำนักข่าว รอยเตอร์ รายงานว่า นาย ยูกิ คิตะซูมิ ผู้สื่อข่าวชาวญี่ปุ่นที่เพิ่งได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำในเมียนมาในช่วงกลางเดือน พ.ค. เรียกร้องให้รัฐบาลประเทศญี่ปุ่น ดำเนินการ ใช้มาตรการอย่างเป็นรูปธรรม ต่อรัฐบาลทหารเมียนมา รวมถึงการทบทวนความช่วยเหลือด้านการพัฒนาในเมียนมา

Reuters

ก่อนหน้านี้ เจ้าหน้าที่ความมั่นคงเมียนมา จับกุม นาย ยูกิ คิตะซูมิ นักข่าวอิสระชาวญี่ปุ่น ขณะรายงานเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในเมียนมา แล้วควบคุมตัวไว้ในเรือนจำอินเส่ง ที่นครย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 18 เม.ย.64 จากนั้นตั้งข้อหาว่า นายคิตะซูมิเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จ เผยแพร่ข่าวปลอม

การถูกควบคุมตัวครั้งแรก ในวันที่ 26ก.พ.64 ก่อนจะถูกควบคุมตัวอีกครั้งในวันที่ 18 เม.ย.64 / Twitter

นายคิตะซูมิ ได้รับการปล่อยตัวหลังทูตญี่ปุ่นเจรจากับทางการเมียนมา จนกลับไปประเทศญี่ปุ่นได้ในสัปดาห์ก่อน

“แม้ว่าผมรู้สึกโล่งใจที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่น แต่ตอนนี้ก็ไม่ยังสามารถแก้ไขปัญหาสถานการณ์อะไรได้เลย”

“ในเรือนจำของกองทัพ มีการทรมานอย่างหนัก และมีบางคนเสียชีวิต” นาย คิตะซูมิ กล่าว

กองกำลังรักษาความปลอดภัยของเมียนมา คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วไม่ต่ำกว่า 800 คน นับตั้งแต่เกิดการประท้วงขึ้น เนื่องจากกองทัพเมียนมาก่อรัฐประหาร โค่นอำนาจและจับกุมสมาชิกในรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งนำโดย นาง อองซาน ซูจี ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.64

กลุ่มนักเคลื่อนไหวเพื่อช่วยเหลือนักโทษทางการเมืองกล่าวว่า ระบุว่า ปัจจุบัน มีผู้ถูกควบคุมตัวมากกว่า 4,000 คน และมีผู้ที่ถูกตัดสินประหารชีวิตประมาณ 20 คน

CNA

นายคิตะซูมิ ผู้อาศัยอยู่ในเมียนมาเป็นเวลาหลายปีและเคยทำงานในบริษัทสื่อใหญ่ในนครย่างกุ้ง กล่าวว่า ประเทศญี่ปุ่นมีอิทธิพลอย่างมากต่อเมียนมา เนื่องจากความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์

ผมขอเรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นดำเนินการ ใช้มาตรการอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อช่วยแก้ไขสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างกองทัพเมียนมาและประชาชนเมียนมาที่สนับสนุนประชาธิปไตย

ผมต้องการให้ญี่ปุ่น ใช้จุดแข็งในการในการแก้ไขปัญหาในเมียนมา เหมือนที่ญี่ปุ่นทำให้กองทัพเมียนมาปล่อยตัวผม” นายคิตะซูมิกล่าว

Twitter

ญี่ปุ่นเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่และเป็นแหล่งความช่วยเหลือเฉพาะทางและความช่วยเหลือด้านการพัฒนาสำหรับรัฐบาลกึ่งพลเรือนของเมียนมาในทศวรรษแห่งการปฏิรูปทางการเมือง ญี่ปุ่นได้ให้ความช่วยเหลือเมียนมามาโดยตลอด จนกระทั่งสิ้นสุดยุคสุดท้ายของการปกครองโดยกองทัพเมียนมาในปีพ.ศ.2554

นาย โทชิมิตสึ โมเตกิ รัฐมนตรีต่างประเทศของญี่ปุ่น / Reuters

นาย โทชิมิตสึ โมเตกิ รัฐมนตรีต่างประเทศของญี่ปุ่น ระบุว่า ญี่ปุ่นสามารถตัดความช่วยเหลือด้านการพัฒนาทั้งหมดได้ หากสถานการณ์ของเมียนมายังไม่ดีขึ้น ขณะที่ นาย คิตะซูมิ กล่าวว่า การตัดความช่วยเหลือบางโครงการออก จะเป็นเหมือนการส่งสัญญาณเตือนสำคัญ ต่อกองทัพเมียนมา

The Japan Times

บริษัทสื่อของ นาย คิตะซูมิ เป็นบริษัทผลิตวิดีโอ ทำข่าว ทำตัวอย่างภาพยนตร์ และทำการฝึกอบรมนักข่าว โดยให้ความสำคัญกับเสรีภาพในการแสดงออก โดยเฉพาะเสรีภาพในการพูด ทั้งนี้ก่อนที่ นาย คิตะซูมิ จะทำงานในย่างกุ้ง เขาเคยเป็นผู้สื่อข่าวภาคธุรกิจของสื่อ นิเคอิ ซึ่งเป็นสื่อชั้นนำของประเทศญี่ปุ่น

++++

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :

รัฐบาลกองทัพเมียนมา ตั้งข้อหาผู้สื่อข่าวชาวญี่ปุ่น “เผยแพร่ข่าวปลอม”

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน