ยูเออีเนรมิตเองเดลีเมล์ รายงานว่า สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือ ยูเออี สร้างฝนเทียม เพื่อบรรเทาสภาพอากาศร้อนจัด 50 องศาเซลเซียสในฤดูร้อนนี้ ด้วยการส่งโดรนขึ้นไปยังเมฆแล้วปล่อยประจุไฟฟ้า

จากภาพที่เห็นรถยนต์วิ่งฝ่าฝน ทั้งที่ประเทศอยู่ในช่วงกลางฤดูร้อน มีคลื่นความร้อนที่ทำให้อุณหภูมิพุ่งแตะ 50 องศาเซลเซียสได้ นับเป็นความสำเร็จหนึ่ง

 

ยูเออีเป็นประเทศหนึ่งที่ใช้เทคนิคสร้างฝนเทียมเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำฝนในแต่ละปีให้มากขึ้น เนื่องจากเป็นประเทศที่มีความแห้งแล้งติดอันดับท็อปเทนโลก

ศูนย์อุตุนิยมวิทยาแห่งชาติของยูเออีเผยว่า การทำให้ฝนตกนี้ใช้เทคนิคการทำฝนเทียม หรือ cloud seeding ให้เกิดการควบแน่นของก้อนเมฆและกลายเป็นหยดน้ำตกลงมาเป็นฝน

โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งในภารกิจสร้างฝนในประเทศ 15 ล้านดอลลาร์ หรือเกือบ 500 ล้านบาท จากที่เฉลี่ย 78 มิลลิเมตร (3 นิ้ว) ให้เพิ่ม 15 เท่า ซึ่งยังน้อยกว่าค่าเฉลี่ยที่ฝนตกในอังกฤษ

สำหรับการใช้เทคโนโลยีโดรนเพื่อช่วยสร้างฝนดังกล่าวเป็นผลงานการวิจัยของผู้เชี่ยวชาญที่มหาวิทยาลัยรีดดิง ประเทศอังกฤษ ศาสตราจารย์ มาร์เทน อัมโบม ผู้ร่วมโครงการเผยกับบีบีซี ก่อนหน้านี้ว่า ยูเออีมีเมฆมากพอที่จะสร้างสภาวะให้เกิดฝนตกได้

เทคโนโลยีนี้ใช้โดรนขึ้นไปปล่อยประจุไฟฟ้าเข้าไปยังก้อนเมฆเพื่อช่วยให้ไอน้ำควบแน่นจนเป็นหยดน้ำ เมื่อหยดน้ำรวมตัวกันมากพอที่จะตกลงมาเป็นฝน

University of Reading

นายอัลยา อัลมาซรูอี ผู้อำนวยการโครงการวิจัยเพื่อเสริมการกระตุ้นให้เกิดฝน กล่าวว่า โดรนติดตั้งอุปกรณ์ปล่อยอนุภาคไฟฟ้า และเซ็นเซอร์พิเศษ มีเพดานบินอยู่ในระดับต่ำ ทำหน้ากระตุ้นโมเลกุลในอากาศด้วยกระแสฟ้าเพื่อสนับสนุนให้เกิดหยาดน้ำฟ้า หรือละอองน้ำที่รวมตัวเป็นก้อนเมฆ และกลั่นตัวตกลงมายังพื้น หรือฝน

ยูเออีเนรมิตเอง

โครงการวิจัยลักษณะดังกล่าวได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลของยูเออี 15 ล้านดอลลาร์ หรือกว่าเกือบ 500 ล้านบาท มีทั้งหมด 9 โครงการ เมื่อปี 2560

ในจำนวนนี้ รวมถึงโครงการวิจัยเทคโนโลยีเลี้ยงเมฆด้วยการยิงขีปนาวุธที่ได้รับการติดตั้งหัวรบที่มีเกลืออยู่ภายในจากเครื่องบินเข้าไปยังหมู่เมฆ โดยเป็นอำนาจสั่งการของศูนย์อุตุนิยมวิทยา (NCMS) ว่าควรจะให้นักบินนำเครื่องขึ้นเพื่อปฏิบัติการเมื่อใด

กราฟิกของ Daily Mail อธิบายการทำฝนเทียมของยูเออี

นายมาร์ก นิวแมน รองหัวหน้าฝ่ายนักบินของ NCMS กล่าวว่า ทางศูนย์จะสั่งให้พวกตนนำเครื่องขึ้นปฏิบัติภารกิจหากตรวจพบกลุ่มก้อนเมฆชนิด คอนเว็กทีฟ คลาวด์ หรือเมฆที่ก่อตัวขึ้นในแนวตั้ง (ตระกูลคิวมูลัส)

นายนิวแมน ระบุว่า กองบินเลี้ยงเมฆของพวกตนมีเครื่องบินใบพัดรุ่น Beechcraft King Air C90 จำนวน 4 ลำ โดยหลังพวกตนได้รับคำสั่งให้นำเครื่องขึ้นก็จะสำรวจและประเมินกลุ่มเมฆเป้าหมายก่อน หากเงื่อนไขครบถ้วนจึงจะลงมือเลี้ยงเมฆ

ช่วงที่งานยุ่งที่สุดเป็นฤดูร้อน เพราะช่วงดังกล่าวเมฆจะก่อตัวมาจากหุบเขาอัลฮาจาร์ ทางภาคตะวันออกของยูเออีทำให้กระแสลมอุ่นที่พัดเข้ามาจากอ่าวโอมาน ถูกตีกลับ

ยูเออีเนรมิตเอง

การประเมินจะพิจารณาความรุนแรงของกระแสอากาศที่ไหลขึ้น (อัพดราฟต์) เพื่อกำหนดปริมาณพลุแฟลร์เกลือที่ต้องใช้บริเวณฐานเมฆ หากอัพดราฟต์ไม่แรงมาก อาจจะใช้พลุแฟลร์เพียง 1 ถึง 2 ลูก แต่หากอัพดราฟต์แรงมากก็จะปล่อยพลุแฟลร์เกลือ 4 ถึง 6 ลูก แม้ไม่ใช่ว่าได้ผลเสมอไป

ภารกิจดังกล่าวสร้างความตื่นเต้นอย่างมาก เพราะหากได้ผลและฝนเริ่มลงเม็ด ก็จะได้ยินเสียงเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานโห่ร้องดีใจกันยกใหญ่

สำหรับเทคโนโลยีการเลี้ยงเมฆ ยังไม่เป็นที่ยอมรับในวงการวิทยาศาสตร์อย่างเป็นทางการ เนื่องจากยังอยู่ระหว่างการประเมินจากผลการศึกษา ว่ามีผลต่อปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาจริงหรือไม่ เพียงใด

ยูเออีเนรมิตเอง

อย่างไรก็ตาม หลายพื้นที่ในสหรัฐอเมริกาก็ใช้เทคนิคดังกล่าวแล้ว เช่น รีสอร์ตสำหรับนักเล่นสกีหิมะ ที่รัฐโคโลราโด ใช้เทคนิคดังกล่าวเพื่อกระตุ้นให้หิมะตกมากกว่าปกติ ทั้งยังเคยถูกนำมาใช้ที่มหกรรมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่กรุงปักกิ่ง 2001 เมื่อปี 2551 เพื่อกระตุ้นให้เกิดฝนในบริเวณอื่น เป็นการถ่ายเทความชื้นไม่ให้เกิดกลุ่มเมฆฝนบริเวณสเตเดียมในพิธีเปิดและปิด

ตอนนั้นทางการจีนใช้ขีปนาวุธหัวรบบรรจุสารคริสตัลชนิด ซิลเวอร์ ไอโอดาย ยิงเข้าไปในกลุ่มเมฆฝนรอบๆ กรุงปักกิ่ง

เทคโนโลยีการเลี้ยงเมฆยังเคยใช้ในอดีตสหภาพโซเวียต เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดฝนในเหตุมหาภัยพิบัติกัมมันตภาพรังสีรั่วไหลจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล ไม่ให้ลุกลามมาถึงกรุงมอสโก เมื่อปี 2529

ยูเออี เป็นชาติการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำมีความสำคัญยิ่งยวด โดยเฉพาะเมื่อต้องเผชิญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง การไหลเข้ามาของแรงงานต่างชาติ ทำให้ยูเออีพึ่งพาการผลิตน้ำจืดเพื่อใช้อุปโภคบริโภคจากน้ำทะเลเป็นหลัก

ยูเออีเนรมิตเอง

FILE PHOTO: A general view of ADNOC headquarters in Abu Dhabi, United Arab Emirates May 29, 2019. REUTERS/Christopher Pike/File Photo

ทำให้ยูเออีเป็นชาติที่ใช้น้ำจืดจากน้ำทะเลคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14 ของโลก โดยมีกำลังผลิตอันดับสองของโลก เป็นรองเพียงซาอุดีอาระเบีย ซึ่งทางยูเออีนั้นมีโรงงานผลิตน้ำจืดจากทะเล 33 แห่ง คิดเป็นสัดส่วนน้ำจืดที่ใช้ในประเทศร้อยละ 42 เมื่อปี 2556

นายโอมาร์ อัลยาซิดี หัวหน้าแผนกวิจัยของ NCMS กล่าวว่า น้ำจืดที่ได้จากการกระตุ้นให้เกิดฝนนั้นมีต้นทุนต่ำกว่าการผลิตน้ำจืดจากทะเลมาก ยกตัวอย่างเมื่อปี 2553 ที่เกิดฝนตกหนักติดต่อกัน 4 วัน หลังภารกิจเลี้ยงเมฆ โดยปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมานั้นเท่ากับปริมาณน้ำจืดจากทะเลที่ยูเออีผลิตได้ 9 ปีรวมกัน เป็นสิ่งที่สะท้อนว่าน้ำในอากาศเป็นทรัพยากรที่สามารถนำมาใช้ได้มหาศาลและไม่ควรถูกเพิกเฉย

A general view shows participants in an ice bath therapy session at the desert near Sharjah, United Arab Emirates, June 25, 2021. REUTERS/Rula Rouhana TPX IMAGES OF THE DAY

ด้านผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์บ่งชี้ว่า เทคนิคการเลี้ยงเมฆสามารถเพิ่มปริมาณน้ำฝนได้ตั้งแต่ร้อยละ 5 ถึง 70 ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเมฆฝนเป้าหมาย โดยสมาคมอุตุนิยมวิทยาอเมริกัน (AMS) ระบุเมื่อปี 2553 ไว้ว่า แม้ประสิทธิภาพของเทคนิคดังกล่าวจะยังเป็นที่กังขา แต่ประโยชน์ที่ได้มหาศาลจากการลงทุนเพียงน้อยนิด ถือว่าคุ้มค่าในการเดินหน้าใช้ต่อไป

ล่าสุด ทางการยูเออีอยู่ระหว่างการค้นคว้าวิจัยเพื่อหาเทคโนโลยีที่จะมากักเก็บน้ำฝนที่ตกลงให้ได้มากที่สุด แทนที่จะปล่อยให้ตกสู่พื้นแล้วระเหยกลับขึ้นไปในอากาศ อาทิ การสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำในหุบเขาที่เป้าหมายการกระตุ้นฝน

ปัจจุบัน ยูเออี มีเขื่อนอยู่ราว 130 แห่ง กักเก็บน้ำได้ราว 120 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยนายอับดุลลา อัลมานดูส์ ผู้อำนวยการใหญ่ของ NCMS ระบุว่า อยู่ระหว่างวางแผนสร้างเขื่อนเพิ่มเติมเพื่อกักเก็บน้ำฝนที่กระตุ้นให้ตกลงมา เนื่องจากทางการยูเออีไม่ต้องการเสียน้ำฝนไปแม้แต่หยดเดียว

……………

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ปลูกข้าวกลางทะเลทราย จีนใช้น้ำทะเลเนรมิตทุ่งนา “ดูไบ”

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน