งานวิจัยชี้ – วันที่ 3 ก.ย. บีบีซี รายงานว่า การศึกษาใหม่เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศในอินเดียว่า หากมีระดับสูงจะทำให้เด็กเป็นโรคอ้วน และมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหอบหืดมากขึ้นด้วย โดยเด็กที่เป็นโรคอ้วนมีโอกาสที่จะเป็นโรคหอบหืดมากขึ้น 79%

AFP

มูลนิธิดูแลปอด (Lung Care Foundation) และมูลนิธิวิจัยและการศึกษาดูแลปอด (Pulmocare Research and Education) ดำเนินการศึกษาดังกล่าวเพื่อหาความเชื่อมโยง 3 สิ่ง ระหว่างเด็กน้ำหนักเกิน โรคหอบหืด และมลพิษ เป็นครั้งแรกในอินเดีย

มูลนิธิดูแลปอดดำเนินตรวจสุขภาพเด็ก 3,157 คน ใน 12 โรงเรียน ที่สุ่มเลือกจากกรุงนิวเดลี และ 2 เมืองทางใต้ของอินเดีย ได้แก่ เมืองโกฏฏายัม และเมืองไมซอร์ ที่มีอากาศค่อนข้างสะอาดกว่า พบว่า 39.8% ของเด็กจากกรุงนิวเดลีมีน้ำหนักเกิน เทียบกับในสองเมืองที่มีเพียง 16.4%

 

การศึกษาระบุว่า มีความเกี่ยวพันกันอย่างยิ่งกับฝุ่นละอองพีเอ็ม 2.5 ซึ่งเป็นมลพิษขนาดเล็กที่เป็นอันตรายในอากาศ และพบได้ในเมืองทั้งสาม โดยกรุงนิวเดลีเป็นหนึ่งในเมืองที่มีมลพิษสูงสุดในโลก และประสบคุณภาพอากาศอันตรายทุกปี

ดร.สันทีป ศัลวี ผู้อำนวยการ Pulmocare Research and Education ในเมืองปูเน ทางตะวันตกของอินเดีย กล่าวว่า การศึกษาดังกล่าวยืนยันว่า การสูดอากาศไม่สะอาดสามารถทำให้เด็กอ้วนได้ โดยมลพิษในอากาศมีสารเคมีบางชนิดในชื่อ “โอเบโซเจน” (obesogen) ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงการเผาผลาญของคนได้

 

“เมื่อคนสูดอากาศมีมลพิษเข้าไป โอเบโซเจนตัวนี้จะเข้าสู่ร่างกาย จะระบบต่อมไร้ท่อปั่นป่วนและนำไปสู่โรคอ้วน” ดร.ศัลวีกล่าวและว่า เด็กมีความเปราะบางเป็นพิเศษ เนื่องจากการปริมาณการสูงกว่าผู้ใหญ่ ทำให้เด็กมีความอ่อนไหวต่อการสูดดมสารก่อมะเร็งเหล่านี้

การศึกษายังพบว่า เด็กนักเรียนในกรุงนิวเดลีมีความชุกของโรคหอบหืดและอาการภูมิแพ้ เช่น คันตา มีน้ำมีนวล ไอ และมีผื่น สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เทียบกับเด็กในเมืองโกฏฏายัม และเมืองไมซอร์ โดยความแตกต่างข้างต้นนี้ขัดกับความจริงที่ว่า 2 ปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับโรคหอบหืดในวัยเด็ก (ประวัติครอบครัวที่เป็นโรคนี้และผู้สูบบุหรี่ในครอบครัว) จะมีมากขึ้นในเมืองโกฏฏายัม และเมืองไมซอร์

AFP

ด้านดร.อาร์วินด์ กุมาร ผู้ก่อตั้งทรัสตีแห่งมูลนิธิดูแลปอด เรียกการศึกษาดังกล่าวเป็น “การเบิกเนตร” ซึ่งแสดงความชุกของอาการทางเดินหายใจและอาการแพ้สูง โรคหอบหืดที่กำหนดตามวิธีสไปโรเมตรีย์ (spirometry) และโรคอ้วนของเด็ก ในกรุงนิวเดลี และว่ามลพิษทางอากาศคือ “ความน่าจะเป็นที่เชื่อมโยงกับทั้งสามสิ่งข้างต้น”

“ถึงเวลาแล้วที่ปัญหามลพิษทางอากาศในกรุงนิวเดลีและเมืองอื่นจะได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบเพื่อรักษาอนาคตของลูกหลานของเรา” ดร.กุมารกล่าว

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ผลการศึกษาใหม่ชี้ มลพิษทางอากาศในอินเดียทำให้อายุคาดเฉลี่ยลดลงไป 9 ปี

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน